หลายคนมีโอกาสเป็นเจ้าของรถยนต์รุ่นนี้เป็นคันแรก หรือบางคนอาจได้เป็นของขวัญเมื่อก้าวเข้าสู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ขณะที่บางคนได้มันมาหลังเรียนจบ และก็มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานหนัก เพื่อเก็บหอมรอบริบหวังได้ครอบครองรถเล็กๆคันนี้
ตลอดระยะเวลากว่า 36 ปี ของ “มิตซูบิชิ แลนเซอร์” ที่โลดเล่นอยู่ในตลาดโลก และกว่า 35 ปี ที่ทำตลาดในประเทศไทย ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงความยอดเยี่ยม ทั้งรูปทรงอันโดดเด่นพร้อมสมรรถนะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานปกติในหมู่ชนชั้นกลาง รวมถึงบรรดาวัยรุ่นที่ชอบการแต่งซิ่งวิ่งเท่
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ แนะนำสู่ตลาดโลกรวมทั้งเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 1973 จนถึงปัจจุบันรวม 8 เจนเนอเรชั่นแล้ว โดยรุ่นแรกเปิดตัวในตลาดญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1973 เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางที่อยู่ระหว่างรถยนต์ขนาดเล็กรุ่น มินิกา และรถยนต์ครอบครัวรุ่นยอดนิยมตระกูลกาแลนท์ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบซีดาน 4 ประตู และซีดาน 2 ประตู ก่อนจะมีการแนะนำรุ่นสเตชั่นแวกอน 5 ประตูในภายหลัง โดยวางเครื่องยนต์ 3 ขนาด ทั้งตระกูล NEPTUNE 4 สูบ OHV 1,200 ซีซี MCA-I 70 แรงม้า ตระกูล SATURN 4 สูบ SOHC 1,400 ซีซี 92 แรงม้า และ 1,600 ซีซี 100 แรงม้า ทั้งนี้มิตซูบิชิ แลนเซอร์รุ่นแรกนี้สามารถสร้างชื่อเสียงด้วยการคว้ารางวัลจากการแข่งแรลลี่ต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Australia Southern Cross Rally , Bandama Rally รวมทั้งการแข่งขัน East African Safari Rally (WRC)
สำหรับประเทศไทย แลนเซอร์รุ่นแรกนี้เริ่มทำตลาดประมาณปี 1974 ด้วยไฟท้ายรูปตัว C ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้กระจังหน้าใหม่ พร้อมไฟท้ายรูปตัว L ในช่วงปี 1975 และเปลี่ยนมาใช้กระจังหน้าซี่นอน พร้อมไฟท้ายแบบนอน ประมาณปี 1977 นอกจากนี้ยังมีการนำรุ่นพิเศษ แลนเซอร์ Celeste 2 ประตู เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยในช่วงปี 1975 – 1982
เจนเนอเรชั่นที่ 2 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EX หรือ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EXCEED คนไทยรู้จักกันในชื่อรุ่น "กล่องไม้ขีด" เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อ 27 ตุลาคม 1979 ในขณะที่ประเทศไทย แลนเซอร์ EX ทำตลาดในช่วงปี 1980-1985 ด้วยเครื่องยนต์ SATURN 1,400 ซีซี โดยได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวไทยทั้งในฐานะรถยนต์ครอบครัว และรถยนต์ที่เหมาะสำหรับการนำไปดัดแปลงเพื่อการแข่งขันแรลลี่ครอสในสนามต่างๆ จนกวาดรางวัลมาแล้วนับไม่ถ้วน
เจนเนอเรชั่นที่ 3 แลนเซอร์ ฟิโอเร (LANCER FIORE) เปิดตัวในวันที่ 22 มกราคม 1982 ถือเป็นแลนเซอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า โดยเป็นการพัฒนาและใช้โครงสร้างตัวถังร่วมกับ มิราจ 4 ประตู ซึ่งเปิดตัวพร้อมกัน สำหรับแลนเซอร์ ฟิโอเร ถูกนำเข้ามามาประกอบเพื่อทำตลาดในเมืองไทยภายใต้ชื่อ Lancer F เครื่องยนต์ 1,400 ซีซี ในช่วงปี 1983-1985
เจนเนอเรชั่นที่ 4 แลนเซอร์ เทอร์โบ และ แลนเซอร์แชมป์ เปิดตัว ในญี่ปุ่นด้วยชื่อ แลนเซอร์ ฟิโอเร (LANCER FIORE) พร้อมกับมิราจรุ่นที่ 2 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้น ภายใต้แนวคิด " An Active and Casual Vehicle” โดยมีความโดดเด่น ด้วยรูปลักษณ์ภายนอก เฉียบคม สะดุดตา มีทางเลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่รุ่นที่เน้นความประหยัด จนถึงรุ่นที่เน้นสมรรถนะสูงๆ ขับขี่ได้ง่าย ให้ความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ดึงดูดใจ
โดดเด่นด้วยมาตรวัดความเร็วดิจิตอล และพื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวางพร้อมการวางขุมพลังตระกูล ORION-II โดยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยตั้งแต่ปี 1985 มีเครื่องยนต์ทั้ง 1,300 ซีซี 1,500 ซีซี และ 1,600 ซีซี เทอร์โบ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น LANCER CHAMP และเปิดตัวในวันที่ 4 กรกฎาคม 1986 จากนั้นในปี 1987 มีการเปิดตัวรุ่น CHAMP-II ตามมาด้วยรุ่นพิเศษ แชมป์ เลดี้ ซึ่งนอกจากจะมีของแถม เป็นเครื่องสำอางจาก AVON และตุ๊กตาหมีตัวโตแล้ว แชมป์ เลดี้ ยังเคยเป็นรถยนต์ที่เคียงคู่กับนางสาวไทยในปีนั้นที่มีชื่อว่า "พรทิพย์ นาคหิรัญกนก" ซึ่งสามารถคว้าตำแหน่งนางงามจักรวาลมาครองในปี 1988
จากนั้นมิตซูบิชิกระตุ้นตลาดอีกครั้งด้วยรุ่น NEW GENERATION POWER ในปี 1988 โดยได้มีการปรับปรุงอัตราทดเกียร์ใหม่ รวมทั้งทดเฟืองท้ายให้จัดขึ้น เพื่อให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น ก่อนจะเพิ่มรุ่นพิเศษ Lancer Black Knight ในปี 1989 ตกแต่งในสไตล์สปอร์ตดุดันกว่าปกติ ด้วยชุดสปอยเลอร์หลัง และนำรุ่นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร กลับมาทำตลาดอีกครั้ง ในชื่อ LANCER 1.5 เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ส่วนรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ เปิดตัวในปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มิตซูบิชิสามารถเปิดหน้าประวัติศาสตร์ด้านการส่งออกรถยนต์ของมิตซูบิชิ รวมทั้งการส่งออกรถยนต์ของเมืองไทยโดยการเริ่มส่งออกแชมป์ทู ไปยังไซปรัส รวมทั้งแถลงความสำเร็จในการส่งออก มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แชมป์ สู่ประเทศแคนาดาเกินกว่า 10,000 คัน
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1991 มิตซูบิชิ ได้เปิดตัว แลนเซอร์ แฮตช์แบ็ก หรือที่เรียกกันว่า "แชมป์ 3 ประตู" สู่ตลาดเมืองไทย เพื่อเอาใจสาววัยทำงานยุคใหม่ โดยมี หัทยา เกตุสังข์ ดีเจ และพิธีกรรายการชื่อดัง ในยุคนั้น เป็นพรีเซนเตอร์ ก่อนจะปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้กับทุกรุ่น และเรียกชื่อรุ่นใหม่ว่า CHAMP-III ในต้นปี 1992 ซึ่งมีทั้งรุ่น ซีดาน 1.3 ลิตร กับ 1.5 ลิตร และแฮตช์แบ็ก 1.5 ลิตร จากนั้น ในปี 1993 ปรับโฉมกันอีกครั้ง โดยเหลือทำตลาดเพียงรุ่น 4 ประตูซีดาน ติดตั้ง แคตาไลติค คอนเวอร์เตอร์ ก่อนจะยุติสายการผลิตไปในปี 1995
เจนเนอเรชั่นที่ 5 Active Saloons เปิดตัวในวันที่ 10 มิถุนายน 1988 โดยเป็นการเปลี่ยนมาใช้ตัวถัง ฟาสท์แบ็ค 5 ประตู ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นและใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกับ มิราจ รุ่นที่ 3 และมีแนวเส้นสายตัวถังในทิศทางเดียวกันกับ มิตซูบิชิ กาแลนท์ VR-4 ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลก โดยวางเครื่องยนต์หลายขนาด ตั้งแต่ 1,300 ซีซี 1,500 ซีซี และ 1,600 ซีซี เทอร์โบ 145 แรงม้า ก่อนจะปรับโฉม เพิ่มกำลังขึ้นเป็น 160 แรงม้า ในปี 1990
เจนเนอเรชั่นที่ 6 เผยโฉมครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 1991 ถือเป็นรุ่นที่นำชื่อของแลนเซอร์กลับมาสู่การแข่งขันแรลลี่โลกอีกครั้ง โดยรูปลักษณ์ภายนอกถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด SIMPLE & RICH มีขุมพลังมากถึง 7 แบบ สำหรับเมืองไทยแลนเซอร์รุ่นนี้ถูกนำมาขึ้นสายการผลิตเพื่อจำหน่ายโดยเปิดตัวตั้งแต่ 13 สิงหาคม 1992 และมีการปรับโฉมต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 1993 สามารถทำสถิติยอดขายต่อรุ่นต่อปีสูงที่สุดในกลุ่มรถยนต์นั่งด้วยยอดขายรวม 23,755 คัน
จากนั้นในปี 1994 ได้มีการปรับโฉมด้วยกระจังหน้าแบบใหม่ มีครีบแนวตั้งซ้อนกันถี่ๆ เปลี่ยนล้ออัลลอยเป็นแบบ 3 ก้าน และเพิ่มไฟตัดหมอกในรุ่น 1.6 ลิตร พร้อมการปรับปรุงเครื่องยนต์ 4G15 มาใช้ระบบหัวฉีด ECI MULTI จนแรงขึ้นเป็น 94 แรงม้า มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 3 จังหวะ และยกเลิก รุ่น 1800 GTi จากนั้นในปี 1995 มิตซูบิชิ ยกเลิกการประกอบ แลนเซอร์ แชมป์ ในไทย และนำรุ่น 1300 ซีซี กลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง ในชื่อใหม่ 1.3 EL และปรับออพชั่น ในรุ่น 1.5 ลิตร โดยเปลี่ยนมาใช้ล้ออัลลอย แบบ 3 ก้าน สีขอบประตูเป็นสีเดียวกับตัวถัง ซึ่งถือเป็นการปรับโฉมครั้งสุดท้ายของแลนเซอร์ อี-คาร์ ในเมืองไทย โดยตลอดอายุตลาดในเมืองไทย แลนเซอร์ อี-คาร์ กลายเป็นรถยนต์ที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในฐานะรถยนต์นั่งมิตซูบิชิที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยตัวเลขยอดขายสะสมรวมตั้งแต่ปี 1992-1996 มากถึง 73,286 คัน ถือเป็นความสำเร็จอย่างงดงามของมิตซูบิชิ
เจนเนอเรชั่นที่ 7 ถือเป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วโลก เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 1995 โดยมีการปรับปรุงและเติมเต็มรายละเอียดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเปิดตัวสู่ตลาดเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 1996 โดยมี วาเนสซา เมย์ (Vanessa Mae) ศิลปินนักไวโอลินชื่อดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมการนำเพลง Red Hot มาใช้ประกอบโฆษณา ในช่วงแรกมีเครื่องยนต์ 2 ขนาดให้เลือก ทั้งรหัส 4G15 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,468 ซีซี ECI-MULTI 94 แรงม้า และ 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี ECI-MULTI 122 แรงม้า โดยมีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II จากนั้นได้มีการปรับโฉมครั้งใหญ่ ในปี 1998 พร้อมยกเลิกการทำตลาดรุ่น 1.5 ลิตร แล้วแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร 113 แรงม้า มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II วางในรุ่น 1.6 GLXi 5MT และ 1.6 GLXi-Ltd. 5MT / 4AT ส่วนเครื่องยนต์ 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี ECI-MULTI 122 แรงม้า ได้เพิ่มนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกในรถยนต์ระดับเดียวกันด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II SPORTRONICS ที่มีโหมด บวก-ลบ ให้ผู้ขับขี่เลือกเปลี่ยนเกียร์ได้เองเฉพาะรุ่น 1.8 SEi-Ltd.
สำหรับรุ่นสุดท้ายของ แลนเซอร์ MG หรือรุ่น F-Style เปิดตัว ในงาน มอเตอร์ เอ็กซโป เมื่อ 1 ธันวาคม 2000 ด้วยการเพิ่มความหรูหราเข้าไป เปลี่ยนลายกระจังหน้าเป็นแบบซี่ตั้งโครเมียมดูหรูแบบคลาสสิค เปลี่ยนลายเปลือกกันชนใหม่เป็นแบบซี่นอนพร้อมไฟตัดหมอกหน้า เฉพาะรุ่น 1.8 SEi เพิ่มกันชนหลังพร้อมเซ็นเซอร์กะระยะถอยหลัง และลายไม้ในห้องโดยสาร ด้านตัวเลขยอดขายนั้นแลนเซอร์รุ่นนี้ทำยอดขายพุ่งสูงขึ้นรวดเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพียง 4 เดือน ทำตัวเลขได้สูงถึง 12,801 คัน
เจนเนอเรชั่นที่ 8 แลนเซอร์ ซีเดีย ได้รับการออกแบบตามแนวคิด COMPACT BODY WITH BIG CABIN สำหรับชื่อซีเดียมาจากการนำคำว่า CENTURY และ DIAMOND มาผสมกัน จนกลายเป็น "เพชรเม็ดงามแห่งศตวรรษ” ในส่วนของเครื่องยนต์ ถือเป็นครั้งแรกที่มิตซูบิชิ นำเอาขุมพลังเทคโนโลยีฉีดเชื้อเพลิงตรงสู่ห้องเผาไหม้ GDI (GASOLINE DIRECT INJECTION) นำมาผนวกกับระบบส่งกำลังอัตราทดแปรผัน CVT (CONTINUOS VARIABLE TRANSMISSION) โดยขุมพลังมีให้เลือกทั้งบล็อค 4G15 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,468 ซีซี GDI 100 แรงม้า และบล็อค 4G93 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,800 ซีซี GDI 130 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ INVECS-III CVT SPORT-MODE 6 จังหวะ ที่ผู้ขับขี่สามารถเลือกเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ได้เองตามต้องการ วางลงในโครงสร้างตัวถังนิรภัย RISE (REALIZED IMPACT SAFETY EVOLUTION) รองรับแรงกระแทกจากการชนทั้งด้านหน้าด้านข้างและด้านหลังได้เป็นอย่างดี
แลนเซอร์ ซีเดีย ถูกนำมาเปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2001 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี จอน บอง โจวี ร็อกสตาร์ ชื่อดัง เป็นพรีเซ็นเตอร์ สำหรับแลนเซอร์ ซีเดีย ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการนำชุดกระจังหน้าและเปลือกกันชนหน้าแบบโครเมียมจากเวอร์ชั่นไต้หวันมาทำตลาดพร้อมวางเครื่องยนต์ 2 ขนาด ใน 5 ทางเลือกรุ่นย่อย ทั้งขุมพลังรหัส 4G18 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,584 ซีซี หัวฉีด ECI MULTI 107 แรงม้า มีทั้ง เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติอัตราทดแปรผัน INVECS-III CVT ล็อกอัตราทดได้ 6 จังหวะ วางในรุ่น 1.6 GLXi และ 1.6 GLXi LIMITED ส่วนรุ่น 1.8 SEi LIMITED วางขุมพลัง 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี หัวฉีด ECI MULTI 123 แรงม้า พร้อมเกียร์อัตโนมัติ INVECS-II CVT SPORT MODE 6 จังหวะ พร้อมโหมดบวกลบ
ในปี 2002 ได้มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ครั้งแรก เปลี่ยนลายกระจังหน้า จากซี่ตั้งมาเป็นซี่นอนเปลี่ยนชุดไฟท้ายด้านหลังให้เป็นโคมสีแดงพร้อมเพิ่มทางเลือกใหม่ในสไตล์สปอร์ตในปี 2003 ด้วย LANCER 1.8 VIRAGE ตกแต่งด้วยสีแดงเพลิงรอบคัน มาพร้อมกระจังหน้าลายพิเศษ สปอยเลอร์หลังขนาดใหญ่ และล้ออัลลอยลายพิเศษ และในต้นปี 2004 ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้า-หลังใหม่ทั้งหมดมาเป็นแบบโค้งมน ด้วยกระจังหน้าทรงปิระมิด และยกเลิกรุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร โดยแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี 135แรงม้า เชื่อมด้วยเกียร์อัตโนมัติมาทำตลาดแทน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดจากกระแสความคิดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ขยายไปทั่วโลก ในเดือนมีนาคม 2008 ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ จึงเปิดตัว “แลนเซอร์ E20” ซึ่งได้รับการปรับปรุงระบบจ่ายเชื้อเพลิงและกล่อง ECU ให้รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E20 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับทั้งอัตราการบริโภคน้ำมันและสิ่งแวดล้อม และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2008 ท่ามกลางกระแสน้ำมันแพงไปทั่วโลก มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ก็เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่อยากได้ความประหยัดเต็มพิกัดด้วยการแนะนำแลนเซอร์ CNG อันเป็นรุ่นย่อยใหม่ ติดตั้งระบบจ่ายเชื้อเพลิงสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด CNG (Compressed Natural Gas) เชื่อมเข้ากับ เครื่องยนต์ 4G18 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,600 ซีซี เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับลูกค้าที่กำลังมองหารถยนต์นั่งที่ให้ทั้งความคุ้มค่าคุ้มราคาและการประหยัดที่เป็นเยี่ยม
ทั้งนี้ในเดือนสิงหาคม 2007 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้สร้างสีสันให้กับวงการรถยนต์อีกครั้งด้วยการแนะนำ มิตซูบิชิ กาแลนท์ ฟอร์ทิส ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นล่าสุดของมิตซูบิชิ แลนเซอร์ สู่ตลาดญี่ปุ่น ก่อนจะทยอยแนะนำในภูมิภาคต่างๆ สำหรับในประเทศไทยนั้น ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ (EX) โดยมาจากคำว่า “Exceeding”
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ที่ทำตลาดในไทย มากับ 2 ทางเลือกเครื่องยนต์ คือเบนซินขนาด 1.8 ลิตร FFV 139 แรงม้า รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ได้ถึง อี85 และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร 154 แรงม้า โดยแบ่งเป็น 4 รุ่นย่อย คือ 1.8 GLX ราคา 831,000 บาท รุ่น 1.8 GLS 886,000 บาท รุ่น 1.8 GLS-Ltd. 899,000 บาท และตัวท็อป 2.0 GT ราคา 1,034,000 บาท
ตลอดระยะเวลากว่า 36 ปี ของ “มิตซูบิชิ แลนเซอร์” ที่โลดเล่นอยู่ในตลาดโลก และกว่า 35 ปี ที่ทำตลาดในประเทศไทย ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงความยอดเยี่ยม ทั้งรูปทรงอันโดดเด่นพร้อมสมรรถนะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานปกติในหมู่ชนชั้นกลาง รวมถึงบรรดาวัยรุ่นที่ชอบการแต่งซิ่งวิ่งเท่
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ แนะนำสู่ตลาดโลกรวมทั้งเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 1973 จนถึงปัจจุบันรวม 8 เจนเนอเรชั่นแล้ว โดยรุ่นแรกเปิดตัวในตลาดญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1973 เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางที่อยู่ระหว่างรถยนต์ขนาดเล็กรุ่น มินิกา และรถยนต์ครอบครัวรุ่นยอดนิยมตระกูลกาแลนท์ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบซีดาน 4 ประตู และซีดาน 2 ประตู ก่อนจะมีการแนะนำรุ่นสเตชั่นแวกอน 5 ประตูในภายหลัง โดยวางเครื่องยนต์ 3 ขนาด ทั้งตระกูล NEPTUNE 4 สูบ OHV 1,200 ซีซี MCA-I 70 แรงม้า ตระกูล SATURN 4 สูบ SOHC 1,400 ซีซี 92 แรงม้า และ 1,600 ซีซี 100 แรงม้า ทั้งนี้มิตซูบิชิ แลนเซอร์รุ่นแรกนี้สามารถสร้างชื่อเสียงด้วยการคว้ารางวัลจากการแข่งแรลลี่ต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Australia Southern Cross Rally , Bandama Rally รวมทั้งการแข่งขัน East African Safari Rally (WRC)
สำหรับประเทศไทย แลนเซอร์รุ่นแรกนี้เริ่มทำตลาดประมาณปี 1974 ด้วยไฟท้ายรูปตัว C ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้กระจังหน้าใหม่ พร้อมไฟท้ายรูปตัว L ในช่วงปี 1975 และเปลี่ยนมาใช้กระจังหน้าซี่นอน พร้อมไฟท้ายแบบนอน ประมาณปี 1977 นอกจากนี้ยังมีการนำรุ่นพิเศษ แลนเซอร์ Celeste 2 ประตู เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยในช่วงปี 1975 – 1982
เจนเนอเรชั่นที่ 2 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EX หรือ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EXCEED คนไทยรู้จักกันในชื่อรุ่น "กล่องไม้ขีด" เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อ 27 ตุลาคม 1979 ในขณะที่ประเทศไทย แลนเซอร์ EX ทำตลาดในช่วงปี 1980-1985 ด้วยเครื่องยนต์ SATURN 1,400 ซีซี โดยได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวไทยทั้งในฐานะรถยนต์ครอบครัว และรถยนต์ที่เหมาะสำหรับการนำไปดัดแปลงเพื่อการแข่งขันแรลลี่ครอสในสนามต่างๆ จนกวาดรางวัลมาแล้วนับไม่ถ้วน
เจนเนอเรชั่นที่ 3 แลนเซอร์ ฟิโอเร (LANCER FIORE) เปิดตัวในวันที่ 22 มกราคม 1982 ถือเป็นแลนเซอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า โดยเป็นการพัฒนาและใช้โครงสร้างตัวถังร่วมกับ มิราจ 4 ประตู ซึ่งเปิดตัวพร้อมกัน สำหรับแลนเซอร์ ฟิโอเร ถูกนำเข้ามามาประกอบเพื่อทำตลาดในเมืองไทยภายใต้ชื่อ Lancer F เครื่องยนต์ 1,400 ซีซี ในช่วงปี 1983-1985
เจนเนอเรชั่นที่ 4 แลนเซอร์ เทอร์โบ และ แลนเซอร์แชมป์ เปิดตัว ในญี่ปุ่นด้วยชื่อ แลนเซอร์ ฟิโอเร (LANCER FIORE) พร้อมกับมิราจรุ่นที่ 2 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้น ภายใต้แนวคิด " An Active and Casual Vehicle” โดยมีความโดดเด่น ด้วยรูปลักษณ์ภายนอก เฉียบคม สะดุดตา มีทางเลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่รุ่นที่เน้นความประหยัด จนถึงรุ่นที่เน้นสมรรถนะสูงๆ ขับขี่ได้ง่าย ให้ความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ดึงดูดใจ
โดดเด่นด้วยมาตรวัดความเร็วดิจิตอล และพื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวางพร้อมการวางขุมพลังตระกูล ORION-II โดยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยตั้งแต่ปี 1985 มีเครื่องยนต์ทั้ง 1,300 ซีซี 1,500 ซีซี และ 1,600 ซีซี เทอร์โบ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น LANCER CHAMP และเปิดตัวในวันที่ 4 กรกฎาคม 1986 จากนั้นในปี 1987 มีการเปิดตัวรุ่น CHAMP-II ตามมาด้วยรุ่นพิเศษ แชมป์ เลดี้ ซึ่งนอกจากจะมีของแถม เป็นเครื่องสำอางจาก AVON และตุ๊กตาหมีตัวโตแล้ว แชมป์ เลดี้ ยังเคยเป็นรถยนต์ที่เคียงคู่กับนางสาวไทยในปีนั้นที่มีชื่อว่า "พรทิพย์ นาคหิรัญกนก" ซึ่งสามารถคว้าตำแหน่งนางงามจักรวาลมาครองในปี 1988
จากนั้นมิตซูบิชิกระตุ้นตลาดอีกครั้งด้วยรุ่น NEW GENERATION POWER ในปี 1988 โดยได้มีการปรับปรุงอัตราทดเกียร์ใหม่ รวมทั้งทดเฟืองท้ายให้จัดขึ้น เพื่อให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น ก่อนจะเพิ่มรุ่นพิเศษ Lancer Black Knight ในปี 1989 ตกแต่งในสไตล์สปอร์ตดุดันกว่าปกติ ด้วยชุดสปอยเลอร์หลัง และนำรุ่นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร กลับมาทำตลาดอีกครั้ง ในชื่อ LANCER 1.5 เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ส่วนรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ เปิดตัวในปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มิตซูบิชิสามารถเปิดหน้าประวัติศาสตร์ด้านการส่งออกรถยนต์ของมิตซูบิชิ รวมทั้งการส่งออกรถยนต์ของเมืองไทยโดยการเริ่มส่งออกแชมป์ทู ไปยังไซปรัส รวมทั้งแถลงความสำเร็จในการส่งออก มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แชมป์ สู่ประเทศแคนาดาเกินกว่า 10,000 คัน
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1991 มิตซูบิชิ ได้เปิดตัว แลนเซอร์ แฮตช์แบ็ก หรือที่เรียกกันว่า "แชมป์ 3 ประตู" สู่ตลาดเมืองไทย เพื่อเอาใจสาววัยทำงานยุคใหม่ โดยมี หัทยา เกตุสังข์ ดีเจ และพิธีกรรายการชื่อดัง ในยุคนั้น เป็นพรีเซนเตอร์ ก่อนจะปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้กับทุกรุ่น และเรียกชื่อรุ่นใหม่ว่า CHAMP-III ในต้นปี 1992 ซึ่งมีทั้งรุ่น ซีดาน 1.3 ลิตร กับ 1.5 ลิตร และแฮตช์แบ็ก 1.5 ลิตร จากนั้น ในปี 1993 ปรับโฉมกันอีกครั้ง โดยเหลือทำตลาดเพียงรุ่น 4 ประตูซีดาน ติดตั้ง แคตาไลติค คอนเวอร์เตอร์ ก่อนจะยุติสายการผลิตไปในปี 1995
เจนเนอเรชั่นที่ 5 Active Saloons เปิดตัวในวันที่ 10 มิถุนายน 1988 โดยเป็นการเปลี่ยนมาใช้ตัวถัง ฟาสท์แบ็ค 5 ประตู ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นและใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกับ มิราจ รุ่นที่ 3 และมีแนวเส้นสายตัวถังในทิศทางเดียวกันกับ มิตซูบิชิ กาแลนท์ VR-4 ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลก โดยวางเครื่องยนต์หลายขนาด ตั้งแต่ 1,300 ซีซี 1,500 ซีซี และ 1,600 ซีซี เทอร์โบ 145 แรงม้า ก่อนจะปรับโฉม เพิ่มกำลังขึ้นเป็น 160 แรงม้า ในปี 1990
เจนเนอเรชั่นที่ 6 เผยโฉมครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 1991 ถือเป็นรุ่นที่นำชื่อของแลนเซอร์กลับมาสู่การแข่งขันแรลลี่โลกอีกครั้ง โดยรูปลักษณ์ภายนอกถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด SIMPLE & RICH มีขุมพลังมากถึง 7 แบบ สำหรับเมืองไทยแลนเซอร์รุ่นนี้ถูกนำมาขึ้นสายการผลิตเพื่อจำหน่ายโดยเปิดตัวตั้งแต่ 13 สิงหาคม 1992 และมีการปรับโฉมต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 1993 สามารถทำสถิติยอดขายต่อรุ่นต่อปีสูงที่สุดในกลุ่มรถยนต์นั่งด้วยยอดขายรวม 23,755 คัน
จากนั้นในปี 1994 ได้มีการปรับโฉมด้วยกระจังหน้าแบบใหม่ มีครีบแนวตั้งซ้อนกันถี่ๆ เปลี่ยนล้ออัลลอยเป็นแบบ 3 ก้าน และเพิ่มไฟตัดหมอกในรุ่น 1.6 ลิตร พร้อมการปรับปรุงเครื่องยนต์ 4G15 มาใช้ระบบหัวฉีด ECI MULTI จนแรงขึ้นเป็น 94 แรงม้า มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 3 จังหวะ และยกเลิก รุ่น 1800 GTi จากนั้นในปี 1995 มิตซูบิชิ ยกเลิกการประกอบ แลนเซอร์ แชมป์ ในไทย และนำรุ่น 1300 ซีซี กลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง ในชื่อใหม่ 1.3 EL และปรับออพชั่น ในรุ่น 1.5 ลิตร โดยเปลี่ยนมาใช้ล้ออัลลอย แบบ 3 ก้าน สีขอบประตูเป็นสีเดียวกับตัวถัง ซึ่งถือเป็นการปรับโฉมครั้งสุดท้ายของแลนเซอร์ อี-คาร์ ในเมืองไทย โดยตลอดอายุตลาดในเมืองไทย แลนเซอร์ อี-คาร์ กลายเป็นรถยนต์ที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในฐานะรถยนต์นั่งมิตซูบิชิที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยตัวเลขยอดขายสะสมรวมตั้งแต่ปี 1992-1996 มากถึง 73,286 คัน ถือเป็นความสำเร็จอย่างงดงามของมิตซูบิชิ
เจนเนอเรชั่นที่ 7 ถือเป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วโลก เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 1995 โดยมีการปรับปรุงและเติมเต็มรายละเอียดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเปิดตัวสู่ตลาดเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 1996 โดยมี วาเนสซา เมย์ (Vanessa Mae) ศิลปินนักไวโอลินชื่อดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมการนำเพลง Red Hot มาใช้ประกอบโฆษณา ในช่วงแรกมีเครื่องยนต์ 2 ขนาดให้เลือก ทั้งรหัส 4G15 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,468 ซีซี ECI-MULTI 94 แรงม้า และ 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี ECI-MULTI 122 แรงม้า โดยมีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II จากนั้นได้มีการปรับโฉมครั้งใหญ่ ในปี 1998 พร้อมยกเลิกการทำตลาดรุ่น 1.5 ลิตร แล้วแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร 113 แรงม้า มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II วางในรุ่น 1.6 GLXi 5MT และ 1.6 GLXi-Ltd. 5MT / 4AT ส่วนเครื่องยนต์ 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี ECI-MULTI 122 แรงม้า ได้เพิ่มนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกในรถยนต์ระดับเดียวกันด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ INVECS-II SPORTRONICS ที่มีโหมด บวก-ลบ ให้ผู้ขับขี่เลือกเปลี่ยนเกียร์ได้เองเฉพาะรุ่น 1.8 SEi-Ltd.
สำหรับรุ่นสุดท้ายของ แลนเซอร์ MG หรือรุ่น F-Style เปิดตัว ในงาน มอเตอร์ เอ็กซโป เมื่อ 1 ธันวาคม 2000 ด้วยการเพิ่มความหรูหราเข้าไป เปลี่ยนลายกระจังหน้าเป็นแบบซี่ตั้งโครเมียมดูหรูแบบคลาสสิค เปลี่ยนลายเปลือกกันชนใหม่เป็นแบบซี่นอนพร้อมไฟตัดหมอกหน้า เฉพาะรุ่น 1.8 SEi เพิ่มกันชนหลังพร้อมเซ็นเซอร์กะระยะถอยหลัง และลายไม้ในห้องโดยสาร ด้านตัวเลขยอดขายนั้นแลนเซอร์รุ่นนี้ทำยอดขายพุ่งสูงขึ้นรวดเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพียง 4 เดือน ทำตัวเลขได้สูงถึง 12,801 คัน
เจนเนอเรชั่นที่ 8 แลนเซอร์ ซีเดีย ได้รับการออกแบบตามแนวคิด COMPACT BODY WITH BIG CABIN สำหรับชื่อซีเดียมาจากการนำคำว่า CENTURY และ DIAMOND มาผสมกัน จนกลายเป็น "เพชรเม็ดงามแห่งศตวรรษ” ในส่วนของเครื่องยนต์ ถือเป็นครั้งแรกที่มิตซูบิชิ นำเอาขุมพลังเทคโนโลยีฉีดเชื้อเพลิงตรงสู่ห้องเผาไหม้ GDI (GASOLINE DIRECT INJECTION) นำมาผนวกกับระบบส่งกำลังอัตราทดแปรผัน CVT (CONTINUOS VARIABLE TRANSMISSION) โดยขุมพลังมีให้เลือกทั้งบล็อค 4G15 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,468 ซีซี GDI 100 แรงม้า และบล็อค 4G93 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,800 ซีซี GDI 130 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ INVECS-III CVT SPORT-MODE 6 จังหวะ ที่ผู้ขับขี่สามารถเลือกเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ได้เองตามต้องการ วางลงในโครงสร้างตัวถังนิรภัย RISE (REALIZED IMPACT SAFETY EVOLUTION) รองรับแรงกระแทกจากการชนทั้งด้านหน้าด้านข้างและด้านหลังได้เป็นอย่างดี
แลนเซอร์ ซีเดีย ถูกนำมาเปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2001 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี จอน บอง โจวี ร็อกสตาร์ ชื่อดัง เป็นพรีเซ็นเตอร์ สำหรับแลนเซอร์ ซีเดีย ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการนำชุดกระจังหน้าและเปลือกกันชนหน้าแบบโครเมียมจากเวอร์ชั่นไต้หวันมาทำตลาดพร้อมวางเครื่องยนต์ 2 ขนาด ใน 5 ทางเลือกรุ่นย่อย ทั้งขุมพลังรหัส 4G18 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,584 ซีซี หัวฉีด ECI MULTI 107 แรงม้า มีทั้ง เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติอัตราทดแปรผัน INVECS-III CVT ล็อกอัตราทดได้ 6 จังหวะ วางในรุ่น 1.6 GLXi และ 1.6 GLXi LIMITED ส่วนรุ่น 1.8 SEi LIMITED วางขุมพลัง 4G93 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,834 ซีซี หัวฉีด ECI MULTI 123 แรงม้า พร้อมเกียร์อัตโนมัติ INVECS-II CVT SPORT MODE 6 จังหวะ พร้อมโหมดบวกลบ
ในปี 2002 ได้มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ครั้งแรก เปลี่ยนลายกระจังหน้า จากซี่ตั้งมาเป็นซี่นอนเปลี่ยนชุดไฟท้ายด้านหลังให้เป็นโคมสีแดงพร้อมเพิ่มทางเลือกใหม่ในสไตล์สปอร์ตในปี 2003 ด้วย LANCER 1.8 VIRAGE ตกแต่งด้วยสีแดงเพลิงรอบคัน มาพร้อมกระจังหน้าลายพิเศษ สปอยเลอร์หลังขนาดใหญ่ และล้ออัลลอยลายพิเศษ และในต้นปี 2004 ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้า-หลังใหม่ทั้งหมดมาเป็นแบบโค้งมน ด้วยกระจังหน้าทรงปิระมิด และยกเลิกรุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร โดยแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี 135แรงม้า เชื่อมด้วยเกียร์อัตโนมัติมาทำตลาดแทน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดจากกระแสความคิดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ขยายไปทั่วโลก ในเดือนมีนาคม 2008 ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ จึงเปิดตัว “แลนเซอร์ E20” ซึ่งได้รับการปรับปรุงระบบจ่ายเชื้อเพลิงและกล่อง ECU ให้รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E20 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับทั้งอัตราการบริโภคน้ำมันและสิ่งแวดล้อม และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2008 ท่ามกลางกระแสน้ำมันแพงไปทั่วโลก มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ก็เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่อยากได้ความประหยัดเต็มพิกัดด้วยการแนะนำแลนเซอร์ CNG อันเป็นรุ่นย่อยใหม่ ติดตั้งระบบจ่ายเชื้อเพลิงสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด CNG (Compressed Natural Gas) เชื่อมเข้ากับ เครื่องยนต์ 4G18 บล็อก 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,600 ซีซี เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับลูกค้าที่กำลังมองหารถยนต์นั่งที่ให้ทั้งความคุ้มค่าคุ้มราคาและการประหยัดที่เป็นเยี่ยม
ทั้งนี้ในเดือนสิงหาคม 2007 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้สร้างสีสันให้กับวงการรถยนต์อีกครั้งด้วยการแนะนำ มิตซูบิชิ กาแลนท์ ฟอร์ทิส ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นล่าสุดของมิตซูบิชิ แลนเซอร์ สู่ตลาดญี่ปุ่น ก่อนจะทยอยแนะนำในภูมิภาคต่างๆ สำหรับในประเทศไทยนั้น ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ (EX) โดยมาจากคำว่า “Exceeding”
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ที่ทำตลาดในไทย มากับ 2 ทางเลือกเครื่องยนต์ คือเบนซินขนาด 1.8 ลิตร FFV 139 แรงม้า รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ได้ถึง อี85 และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร 154 แรงม้า โดยแบ่งเป็น 4 รุ่นย่อย คือ 1.8 GLX ราคา 831,000 บาท รุ่น 1.8 GLS 886,000 บาท รุ่น 1.8 GLS-Ltd. 899,000 บาท และตัวท็อป 2.0 GT ราคา 1,034,000 บาท