ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึงครบรอบ 30 ปีของ “งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ภายใต้การบริหารและจัดการของ “ปราจิน เอี่ยมลำเนา” เจ้าของค่าย กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะผู้จัดงาน ซึ่ง ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง ขอย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิดของการจัดงานครั้งแรกว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ประกายความคิดเกี่ยวกับการจัดงานมอเตอร์โชว์ ของปราจิน เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ตัวเขาปลุกปั้นหนังสือเกี่ยวกับรถยนต์ชื่อ กรังด์ปรีซ์ มาได้ประมาณ 5 ปี เขาเกิดความคิดจัดงานที่เกี่ยวกับหนังสือที่ตัวเองทำอยู่ เมื่อคิดและแยกประเด็นว่าจะทำอะไรได้ พร้อมกับวางแผนเตรียมงาน
เมื่อทุกอย่างลงตัวกิจกรรมแรกของเขาก็เกิดขึ้น คือ การจัดงานประกวดรถยอดเยี่ยมประจำปี หรือ “คาร์ ออฟ เดอะเยียร์” โดยเลือกโรงแรมใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เป็นสถานที่จัดงานและมอบรางวัล ซึ่งงานดังกล่าวจัดเพียงแค่วันเดียว ดูเหมือนจะไม่จุใจประชาชนที่สนใจอยากรู้และต้องการดูอย่างใกล้ชิดว่า รถคันไหนดีอย่างไร ได้รางวัลเพราะอะไร ทำให้ปราจินมีความคิดต่อเนื่องมาว่าควรจะจัดงานที่ใหญ่กว่าในระยะเวลาที่นานพอสมควร
“ผมเดินทางไปต่างประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ทำให้มองเห็นธุรกิจที่ต่อเนื่องกับเราซึ่งยังไม่มีในเมืองไทย นั่นก็คือ การจัดมอเตอร์โชว์ โดยในญี่ปุ่นเขาจัดทุก 2 ปี มีรถโชว์มากมาย ต้องมีคนกลางจัดการและได้รับการสนับสนุนจากหนังสือ บริษัทรถยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งรถจองพื้นที่ในงานเพื่อโปรโมทสินค้า”
งานดังกล่าว เขาคิดว่า ผู้จัดจะได้ทั้งค่าชม ค่าให้เช่าพื้นที่ สักวันหนึ่งเมืองไทยจะต้องทำได้เช่นกัน แล้วทำไมเขาซึ่งขณะนั้นมีความพร้อม มีหนังสือเป็นสื่อกลางเป็นที่รู้จักและยอมรับในแวดวงยานยนต์ ฉะนั้นถ้าคิดทำก่อนโอกาสย่อมเป็นของเขา
แล้วปราจินก็ไม่ทำให้ใครผิดหวัง เขาตัดสินใจจัดงาน มอเตอร์โชว์ครั้งแรกขึ้นในเมืองไทย ในปี 2522 โดยได้แนวคิดต้นแบบมาจากงานมอเตอร์โชว์ ณ เอิร์ลคอร์ท กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่จัดช่วงระหว่างปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2518
สำหรับผู้ที่เป็นต้นคิดนำเสนอคือ “เถลิง พลวรรรณาภา” หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารกรังด์ปรีซ์ในขณะนั้น ซึ่งเขาได้มีโอกาสไปทำข่าวเกี่ยวกับรถรุ่นใหม่ที่งานมอเตอร์โชว์ ณ เอิร์ลคอร์ท ดังกล่าว แล้วกลับมาเห็นอาคารลุมพินีฮอลล์ พิเคราะห์ดูแล้วเหมือนดังเช่น เอิร์ลคอร์ท ย่อส่วนกันมา คือ ภายในอาคารชั้นล่างเป็นพื้นวงกลม ชั้นบนมีระเบียงรอบน่าจะจัดมอเตอร์โชว์ได้ จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาปราจิน
ผลก็คือ ปราจิน เห็นด้วยกับแนวคิดจัดมอเตอร์โชว์ดังกล่าว แม้จะยังไม่เคยไปชมงานมอเตอร์โชว์ ณ ประเทศอังกฤษเลย โดยจะตั้งรถยนต์แสดงในพื้นล่างเรียงรายกันไป ส่วนชั้นบนจะนำสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ตกแต่งต่างและอะไหล่รถกันแบ่งเป็นล็อกๆ ร่วมจัดแสดงได้
“ช่วงเวลานั้น เราวิ่งตามบริษัทรถต่างๆ ซึ่งเขามีงบอยู่แล้ว ขายรถคันหนึ่ง ต้องใช้งบโฆษณาทุกด้าน คันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท(สมัยนั้นโตโยต้า โคโรลล่า คันละ 80,000 กว่าบาท) และการจัดมอเตอร์โชว์เป็นการโปรโมทชั้นดี ทั้งเป็นนโยบายของบริษัทแม่ เพียงแต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีคนจัดเท่านั้นเอง ถ้าจัดมาโชว์จะเกิดข้อเปรียบเทียบง่าย ใครจะยอมน้อยหน้าใคร ที่แน่ๆ คนไทยชอบรถมากติดอันดับโลก การเปิดตลาดให้ดูรถจึงดึงดูดผู้คนได้มาก ผมเห็นอนาคต จึงติดต่อประสานงานหาสถานที่ให้เขาจัดแสดงกันสำเร็จ” ปราจินกล่าว
กุญแจสำคัญอีกประการในความสำเร็จของการเกิดขึ้นของานมอเตอร์โชว์คือ การที่กรังด์ปรีซ์ ได้ “ภิญโญ ทองเจือ” (หรือที่คนในวงการยานยนต์จะรู้จักในชื่อ เสี่ยอ๊อด ปัจจุบันก็คือ บิดาของ พีท ทองเจือ) เข้ามาร่วมงานโดยรับหน้าที่ในการวิ่งเต้นติดต่อกับหน่วยงานของราชการหรือองค์กรของรัฐเช่น ขออนุญาตจัดงานแสดง ขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มระหว่างจัดงาน เนื่องจากความเป็นนักแสดงที่ใครๆ ก็รู้จักและประสบการณ์การทำงาน
งานมอเตอร์โชว์ครั้งแรก เริ่มขึ้นโดย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี เสด็จมาทรงเปิดงาน โดยมี ร.อ.ม.จ. จุลเจิม ยุคล (ท่านชายใหญ่) ประสาน ท่ามกลางความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นของคณะกรรมการจัดงานตลอดจนผู้แทนจากบริษัทห้างร้านต่างๆ ครั้นเมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จกลับ ประชาชนทั่วไปจึงได้เข้าชมงานมอเตอร์โชว์ครั้งแรกในเมืองไทย
มอเตอร์โชว์ครั้งแรกจำหน่ายบัตรเข้าชมใบละ 3 บาท เงินจากการจำหน่ายบัตร ยกเข้าการกุศลมอบให้มูลนิธิดวงประทีป โดยจัดขึ้นที่สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน 2522 ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหกรรมรถยนต์ครั้งที่ 1 หรือ Motor Show’79
ความสำเร็จของงานมอเตอร์โชว์ครั้งแรก ทำให้ปราจินวางแผนและรูปแบบการจัดงานขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนชื่องานอย่างเป็นทางการว่า บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ พร้อมกับย้ายสถานที่จัดงานมาอยู่ที่ สวนอัมพร ซึ่งมีสถานที่จัดงานกว้างขวางกว่าเดิม โดยในแต่ละครั้งต่อมามีการพัฒนารูปแบบของงานให้ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยมา
จนกระทั่ง ในการจัดงานครั้งที่ 18 มีผู้เข้าชมงานกว่า 1 ล้านคนผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทยด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2539 กว่า 5 แสนคัน รถจักรยานยนต์มากกว่า 1 ล้านคันต่อปี จึงทำให้สวนอัมพร สถานที่จัดงานดูแคบไปเสียแล้ว
คณะผู้จัดงานจึงตัดสินใจย้ายงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 19 มาจัด ณ ศูนแสดงสินค้านานาชาติ หรือไบเทค ด้วยขนาดพื้นที่จัดแสดงกว่า 35,000 ตรม. และจัดแสดงมาจนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 30 โดยครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มี.ค. – 6 เม.ย. 2552 รวมเวลา แสดงงานทั้งสิ้น 12 วันมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
ข้อมูลและรูปภาพประกอบจากหนังสือ ปราจิน เอี่ยมลำเนา เจ้าพ่อมอเตอร์โชว์
เรียบเรียงใหม่โดย ทีมงานASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง
ประกายความคิดเกี่ยวกับการจัดงานมอเตอร์โชว์ ของปราจิน เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ตัวเขาปลุกปั้นหนังสือเกี่ยวกับรถยนต์ชื่อ กรังด์ปรีซ์ มาได้ประมาณ 5 ปี เขาเกิดความคิดจัดงานที่เกี่ยวกับหนังสือที่ตัวเองทำอยู่ เมื่อคิดและแยกประเด็นว่าจะทำอะไรได้ พร้อมกับวางแผนเตรียมงาน
เมื่อทุกอย่างลงตัวกิจกรรมแรกของเขาก็เกิดขึ้น คือ การจัดงานประกวดรถยอดเยี่ยมประจำปี หรือ “คาร์ ออฟ เดอะเยียร์” โดยเลือกโรงแรมใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เป็นสถานที่จัดงานและมอบรางวัล ซึ่งงานดังกล่าวจัดเพียงแค่วันเดียว ดูเหมือนจะไม่จุใจประชาชนที่สนใจอยากรู้และต้องการดูอย่างใกล้ชิดว่า รถคันไหนดีอย่างไร ได้รางวัลเพราะอะไร ทำให้ปราจินมีความคิดต่อเนื่องมาว่าควรจะจัดงานที่ใหญ่กว่าในระยะเวลาที่นานพอสมควร
“ผมเดินทางไปต่างประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ทำให้มองเห็นธุรกิจที่ต่อเนื่องกับเราซึ่งยังไม่มีในเมืองไทย นั่นก็คือ การจัดมอเตอร์โชว์ โดยในญี่ปุ่นเขาจัดทุก 2 ปี มีรถโชว์มากมาย ต้องมีคนกลางจัดการและได้รับการสนับสนุนจากหนังสือ บริษัทรถยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งรถจองพื้นที่ในงานเพื่อโปรโมทสินค้า”
งานดังกล่าว เขาคิดว่า ผู้จัดจะได้ทั้งค่าชม ค่าให้เช่าพื้นที่ สักวันหนึ่งเมืองไทยจะต้องทำได้เช่นกัน แล้วทำไมเขาซึ่งขณะนั้นมีความพร้อม มีหนังสือเป็นสื่อกลางเป็นที่รู้จักและยอมรับในแวดวงยานยนต์ ฉะนั้นถ้าคิดทำก่อนโอกาสย่อมเป็นของเขา
แล้วปราจินก็ไม่ทำให้ใครผิดหวัง เขาตัดสินใจจัดงาน มอเตอร์โชว์ครั้งแรกขึ้นในเมืองไทย ในปี 2522 โดยได้แนวคิดต้นแบบมาจากงานมอเตอร์โชว์ ณ เอิร์ลคอร์ท กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่จัดช่วงระหว่างปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2518
สำหรับผู้ที่เป็นต้นคิดนำเสนอคือ “เถลิง พลวรรรณาภา” หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารกรังด์ปรีซ์ในขณะนั้น ซึ่งเขาได้มีโอกาสไปทำข่าวเกี่ยวกับรถรุ่นใหม่ที่งานมอเตอร์โชว์ ณ เอิร์ลคอร์ท ดังกล่าว แล้วกลับมาเห็นอาคารลุมพินีฮอลล์ พิเคราะห์ดูแล้วเหมือนดังเช่น เอิร์ลคอร์ท ย่อส่วนกันมา คือ ภายในอาคารชั้นล่างเป็นพื้นวงกลม ชั้นบนมีระเบียงรอบน่าจะจัดมอเตอร์โชว์ได้ จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาปราจิน
ผลก็คือ ปราจิน เห็นด้วยกับแนวคิดจัดมอเตอร์โชว์ดังกล่าว แม้จะยังไม่เคยไปชมงานมอเตอร์โชว์ ณ ประเทศอังกฤษเลย โดยจะตั้งรถยนต์แสดงในพื้นล่างเรียงรายกันไป ส่วนชั้นบนจะนำสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ตกแต่งต่างและอะไหล่รถกันแบ่งเป็นล็อกๆ ร่วมจัดแสดงได้
“ช่วงเวลานั้น เราวิ่งตามบริษัทรถต่างๆ ซึ่งเขามีงบอยู่แล้ว ขายรถคันหนึ่ง ต้องใช้งบโฆษณาทุกด้าน คันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท(สมัยนั้นโตโยต้า โคโรลล่า คันละ 80,000 กว่าบาท) และการจัดมอเตอร์โชว์เป็นการโปรโมทชั้นดี ทั้งเป็นนโยบายของบริษัทแม่ เพียงแต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีคนจัดเท่านั้นเอง ถ้าจัดมาโชว์จะเกิดข้อเปรียบเทียบง่าย ใครจะยอมน้อยหน้าใคร ที่แน่ๆ คนไทยชอบรถมากติดอันดับโลก การเปิดตลาดให้ดูรถจึงดึงดูดผู้คนได้มาก ผมเห็นอนาคต จึงติดต่อประสานงานหาสถานที่ให้เขาจัดแสดงกันสำเร็จ” ปราจินกล่าว
กุญแจสำคัญอีกประการในความสำเร็จของการเกิดขึ้นของานมอเตอร์โชว์คือ การที่กรังด์ปรีซ์ ได้ “ภิญโญ ทองเจือ” (หรือที่คนในวงการยานยนต์จะรู้จักในชื่อ เสี่ยอ๊อด ปัจจุบันก็คือ บิดาของ พีท ทองเจือ) เข้ามาร่วมงานโดยรับหน้าที่ในการวิ่งเต้นติดต่อกับหน่วยงานของราชการหรือองค์กรของรัฐเช่น ขออนุญาตจัดงานแสดง ขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มระหว่างจัดงาน เนื่องจากความเป็นนักแสดงที่ใครๆ ก็รู้จักและประสบการณ์การทำงาน
งานมอเตอร์โชว์ครั้งแรก เริ่มขึ้นโดย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี เสด็จมาทรงเปิดงาน โดยมี ร.อ.ม.จ. จุลเจิม ยุคล (ท่านชายใหญ่) ประสาน ท่ามกลางความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นของคณะกรรมการจัดงานตลอดจนผู้แทนจากบริษัทห้างร้านต่างๆ ครั้นเมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จกลับ ประชาชนทั่วไปจึงได้เข้าชมงานมอเตอร์โชว์ครั้งแรกในเมืองไทย
มอเตอร์โชว์ครั้งแรกจำหน่ายบัตรเข้าชมใบละ 3 บาท เงินจากการจำหน่ายบัตร ยกเข้าการกุศลมอบให้มูลนิธิดวงประทีป โดยจัดขึ้นที่สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน 2522 ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหกรรมรถยนต์ครั้งที่ 1 หรือ Motor Show’79
ความสำเร็จของงานมอเตอร์โชว์ครั้งแรก ทำให้ปราจินวางแผนและรูปแบบการจัดงานขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนชื่องานอย่างเป็นทางการว่า บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ พร้อมกับย้ายสถานที่จัดงานมาอยู่ที่ สวนอัมพร ซึ่งมีสถานที่จัดงานกว้างขวางกว่าเดิม โดยในแต่ละครั้งต่อมามีการพัฒนารูปแบบของงานให้ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยมา
จนกระทั่ง ในการจัดงานครั้งที่ 18 มีผู้เข้าชมงานกว่า 1 ล้านคนผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทยด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2539 กว่า 5 แสนคัน รถจักรยานยนต์มากกว่า 1 ล้านคันต่อปี จึงทำให้สวนอัมพร สถานที่จัดงานดูแคบไปเสียแล้ว
คณะผู้จัดงานจึงตัดสินใจย้ายงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 19 มาจัด ณ ศูนแสดงสินค้านานาชาติ หรือไบเทค ด้วยขนาดพื้นที่จัดแสดงกว่า 35,000 ตรม. และจัดแสดงมาจนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 30 โดยครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มี.ค. – 6 เม.ย. 2552 รวมเวลา แสดงงานทั้งสิ้น 12 วันมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
ข้อมูลและรูปภาพประกอบจากหนังสือ ปราจิน เอี่ยมลำเนา เจ้าพ่อมอเตอร์โชว์
เรียบเรียงใหม่โดย ทีมงานASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง