หลังจากค่ายบีเอ็มดับเบิ้ลยูเริ่มหันมารุกตลาดรถหรูด้วยเครื่องยนต์ดีเซล กับซีรี่ส์ 5 รุ่น 520ดี เมื่อปลายปี 2006 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสาวกค่ายใบพัดฟ้าขาว ทำให้มาในปี 2008 บีเอ็มฯ ส่งพลพรรคเครื่องยนต์ดีเซลรุกเข้าทำตลาดกับ(อดีต)ตัวขายอย่าง ซีรี่ส์ 3
โดยบีเอ็มฯ เลือกเอา “320ดี” เครื่องยนต์ดีเซลตัวใหม่ล่าสุด เข้ามาทำตลาด โดยหวังเข้ามาชิงตัดหน้าเค้กกับคู่ปรับตลอดกาลอย่าง เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซี-คลาส ที่เพิ่งเปิดตัวรุ่นประกอบในประเทศ(CKD)ไปเมื่อช่วงต้นปี ซึ่งมีเพียงรุ่นเครื่องยนต์เบนซินทำตลาดเท่านั้น ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะออกมาทำตลาดหรือไม่ เมื่อไหร่?
ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาหลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อย บีเอ็มฯ จัดกระบวนทัพเชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทดสอบสมรรถนะของเจ้า 320ดี กันบนเส้นทางกรุงเทพฯ–เขาใหญ่ และ “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ไม่พลาดในการลองของครั้งนี้
ก่อนไปถึงบททดสอบเรามาทำความรู้จักเจ้าซีรี่ส์ 3 กันอีกสักครั้งพอเป็นกระสัย สำหรับ 320ดี นั้นมาในรหัสตัวถัง E90 แบบ 4 ประตู ซีดาน ซึ่งรูปร่างภายนอกของตัวดีเซลไม่แตกต่างจากตัวเครื่องยนต์เบนซินแต่อย่างใด มีเพียงชื่อบอกรุ่น 320d ที่ติดอยู่ท้ายกระโปรงหลังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็นดีเซลเท่านั้น
ในด้านของอุปกรณ์ ไฟหน้าคู่แบบไบซีนอนทั้งไฟสูงและไฟต่ำพร้อมเซนเซอร์ควบคุมให้ส่องสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าที่มืด และยังคงสว่างอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อความสะดวกในการเดินภายนอกตัวรถขณะดับเครื่องยนต์แล้ว ไฟตัดหมอก,เซ็นเซอร์สัญญาณเตือนระยะห่างจากวัตถุอื่นรอบตัวรถ และที่ปัดน้ำฝนพร้อมเซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ส่วนภายในยังคงเอกลักษณ์ความเป็นบีเอ็มฯ ไว้ไม่เสื่อมคลาย อัดแน่นด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน ทั้ง ปุ่ม ไอ-ไดร์ฟ บริเวณคอนโซลกลาง ให้การควบคุมฟังก์ชั่นต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เบาะนั่งหนังแท้แบบดาโคต้า โอบกระชับตัวดี พร้อมเมมโมรี่
ด้านความปลอดภัยมีให้ครบทั้ง ถุงลมนิรภัยคู่หน้า, ศรีษะ และด้านข้างสำหรับทั้งผู้โดยสารตอนหน้าและตอนหลัง, ระบบความจำสำหรับรถและกุญแจ, ระบบป้องกันการสตาร์ทเครื่องยนต์, ระบบเบรก เอบีเอส, ระบควบคุมเสถียรภาพแบบไดนามิก(DSC), ระบบควบคุมการเบรกขณะเข้าโค้ง (CBC) และยางรันแฟลต (วิ่งได้ไม่มีลม)
สำหรับสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาในตัว 320ดี คือ ระบบออนบอร์ดมอนิเตอร์ พร้อมฟังก์ชั่นโทรทัศน์ จอขนาด 8.8 นิ้ว, ม่านบังแดดกระจกหลังแบบควบคุมด้วยไฟฟ้า, ระบบเชื่อมต่อโทรศัพท์ บลูทูธ และปลั๊ก Aux-in ที่ที่พักแขนระหว่างผู้โดยสารเบาะหน้า
และจะลืมพูดถึงไปเสียมิได้ คือเรื่องของเครื่องยนต์ที่เป็นเครื่องดีเซลตัวใหม่ล่าสุด รหัส N47 แบบ 4 สูบ 16 วาล์ว ดีเซลคอมมอนเรล พร้อมเทอร์โบแปรผัน โดยเป็นเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นแรกของบีเอ็มฯ ที่ใช้เสื้อสูบทำมาจากอลูมิเนียม เพื่อน้ำหนักเบาลง สร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวรถ
เครื่องยนต์ N47 มีขนาดความจุ 1,995 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตรที่ 1,750 – 3,000 รอบ/นาที ซึ่งเป็นลักษณะแรงบิดสูงสุดแบบคงที่ ให้การตอบสนองด้านอัตราเร่งที่ดี 0-100 กม./ชม.ในเวลาเพียง 8.0 วินาทีเท่านั้น
พอหอมปากหอมคอสำหรับข้อมูลหันมาเข้าเรื่องของการทดสอบกันบ้างบีเอ็มฯ กำหนดให้เราใช้เส้นทางด่วนจากตึกออลซีซั่น มุ่งหน้าสู่ถนนพหลโยธิน ขึ้นลอยฟ้าโทลเวย์ ช่วงแรกเรานั่งเป็นผู้โดยสารตอนหน้า รถนั่งนุ่มสบาย การป้องกันเสียงจากภายนอกดีมาก โดยเฉพาะเสียงเครื่องยนต์ที่เมื่อยืนอยู่ภายนอกจะค่อนข้างดัง แต่หากอยู่ในรถจะแทบไม่ได้ยินเสียงเลย
เมื่อขับออกนอกเมืองมาจนถึงจุดแวะพักก็ถึงคิวเราต้องมาเป็นผู้ขับบ้าง ความรู้สึกแรกหลังเหยียบคันเร่งออกตัว “ไม่ต่างจากเบนซินเลย บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ” เนื่องจากแรงบิดสูงสุดมาตั้งแต่รอบที่ต่ำเพียง 1,750 รอบ/นาที และคงอยู่ตลอดจนถึง 3,000 ต่อนาที และทุกครั้งที่เรากดคันเร่ง รถจะพุ่งทะยานอย่างทันใจตามสไตล์บีเอ็มฯ
ความเร็วที่เราใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 120-140 กม./ชม. พวงมาลัยควบคุมอย่างแม่นยำ กระชับมือ และน้ำหนักแปรผันตามความเร็วของรถ เสียงลมประทะกระจกเริ่มได้ยินเมื่อขับเร็วเกินกว่า 140 กม./ชม. และเสียงยางบดถนนและเสียงเครื่องได้ยินบ้างเล็กน้อย แต่หากเปิดเครื่องเสียงก็สามารถกลบเสียงเหล่านั้นไปได้
ด้านการทรงตัวเป็นสิ่งที่โดดเด่นมากสำหรับเจ้า 320ดี ด้วยความเร็วระดับ 140 กม./ชม. แต่รถยังนิ่งเหมือนวิ่งไม่ถึง 100 กม./ชม. อาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากความพิเศษของเจ้า 320ดี ซึ่งมีการกระจายน้ำหนักลงที่เพลาหน้าและหลังแบบสัดส่วน 50-50 อันหาได้ยากในรถแบบซีดานทั่วไป
จังหวะปรับเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ทำงานนุ่มนวลไร้รอยต่อ บางช่วงของการขับเราทดลองการทำงานระบบ Steptronic พบว่า ให้ความสนุกไม่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดา สามารถลากรอบขึ้นไปถึงเกือบ 5,000 รอบ/นาทีได้ และตามการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่เทคนิคบีเอ็มฯ ช่วงล่างได้รับการปรับแต่งใหม่ ปรับสปริงให้นุ่มกว่าตัวเบนซินเล็กน้อย แต่ถ้าถามว่าเรารู้สึกแตกต่างบ้างไหม สารภาพตามตรงคือ “ไม่รู้สึกครับ”
จุดเด่นอันน่าทึ่งอีกประการคือ อัตราการบริโภคน้ำมันเราขับแบบเหยียบเร่งปื๊ด เร่งปื๊ด และใช้ความเร็วเกิน 100 กม./ชม. เกือบจะตลอดการเดินทางกว่า 400 กม.หนนี้ ตัวเลขการบริโภคน้ำมันกลับมาอยู่ที่ประมาณ 14 กม./ชม. (ตามการแสดงผลของคอมพิวเตอร์ในรถ) ขณะที่บีเอ็มฯ เคลมไว้ 16.6 กม./ลิตร
สรุป หากเปรียบเทียบราคา 2.849 ล้านบาท แลกกับสมรรถนะและอุปกรณ์ดังที่กล่าวมาของเจ้า 320ดี ไม่นับรวมแบรนด์อิมเมจหรือค่าความนิยม เราว่า “สมน้ำสมเนื้อ” แต่หากเทียบ(แบบใช้งบประมาณเป็นตัวตั้ง)กับคู่แข่งค่ายดาว 3 แฉกที่เคาะราคาซี-คลาสไว้ 2.99 ล้านบาท เราว่า “เหนื่อย”
โดยบีเอ็มฯ เลือกเอา “320ดี” เครื่องยนต์ดีเซลตัวใหม่ล่าสุด เข้ามาทำตลาด โดยหวังเข้ามาชิงตัดหน้าเค้กกับคู่ปรับตลอดกาลอย่าง เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซี-คลาส ที่เพิ่งเปิดตัวรุ่นประกอบในประเทศ(CKD)ไปเมื่อช่วงต้นปี ซึ่งมีเพียงรุ่นเครื่องยนต์เบนซินทำตลาดเท่านั้น ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะออกมาทำตลาดหรือไม่ เมื่อไหร่?
ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาหลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อย บีเอ็มฯ จัดกระบวนทัพเชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทดสอบสมรรถนะของเจ้า 320ดี กันบนเส้นทางกรุงเทพฯ–เขาใหญ่ และ “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ไม่พลาดในการลองของครั้งนี้
ก่อนไปถึงบททดสอบเรามาทำความรู้จักเจ้าซีรี่ส์ 3 กันอีกสักครั้งพอเป็นกระสัย สำหรับ 320ดี นั้นมาในรหัสตัวถัง E90 แบบ 4 ประตู ซีดาน ซึ่งรูปร่างภายนอกของตัวดีเซลไม่แตกต่างจากตัวเครื่องยนต์เบนซินแต่อย่างใด มีเพียงชื่อบอกรุ่น 320d ที่ติดอยู่ท้ายกระโปรงหลังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็นดีเซลเท่านั้น
ในด้านของอุปกรณ์ ไฟหน้าคู่แบบไบซีนอนทั้งไฟสูงและไฟต่ำพร้อมเซนเซอร์ควบคุมให้ส่องสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าที่มืด และยังคงสว่างอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อความสะดวกในการเดินภายนอกตัวรถขณะดับเครื่องยนต์แล้ว ไฟตัดหมอก,เซ็นเซอร์สัญญาณเตือนระยะห่างจากวัตถุอื่นรอบตัวรถ และที่ปัดน้ำฝนพร้อมเซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ส่วนภายในยังคงเอกลักษณ์ความเป็นบีเอ็มฯ ไว้ไม่เสื่อมคลาย อัดแน่นด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน ทั้ง ปุ่ม ไอ-ไดร์ฟ บริเวณคอนโซลกลาง ให้การควบคุมฟังก์ชั่นต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เบาะนั่งหนังแท้แบบดาโคต้า โอบกระชับตัวดี พร้อมเมมโมรี่
ด้านความปลอดภัยมีให้ครบทั้ง ถุงลมนิรภัยคู่หน้า, ศรีษะ และด้านข้างสำหรับทั้งผู้โดยสารตอนหน้าและตอนหลัง, ระบบความจำสำหรับรถและกุญแจ, ระบบป้องกันการสตาร์ทเครื่องยนต์, ระบบเบรก เอบีเอส, ระบควบคุมเสถียรภาพแบบไดนามิก(DSC), ระบบควบคุมการเบรกขณะเข้าโค้ง (CBC) และยางรันแฟลต (วิ่งได้ไม่มีลม)
สำหรับสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาในตัว 320ดี คือ ระบบออนบอร์ดมอนิเตอร์ พร้อมฟังก์ชั่นโทรทัศน์ จอขนาด 8.8 นิ้ว, ม่านบังแดดกระจกหลังแบบควบคุมด้วยไฟฟ้า, ระบบเชื่อมต่อโทรศัพท์ บลูทูธ และปลั๊ก Aux-in ที่ที่พักแขนระหว่างผู้โดยสารเบาะหน้า
และจะลืมพูดถึงไปเสียมิได้ คือเรื่องของเครื่องยนต์ที่เป็นเครื่องดีเซลตัวใหม่ล่าสุด รหัส N47 แบบ 4 สูบ 16 วาล์ว ดีเซลคอมมอนเรล พร้อมเทอร์โบแปรผัน โดยเป็นเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นแรกของบีเอ็มฯ ที่ใช้เสื้อสูบทำมาจากอลูมิเนียม เพื่อน้ำหนักเบาลง สร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวรถ
เครื่องยนต์ N47 มีขนาดความจุ 1,995 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตรที่ 1,750 – 3,000 รอบ/นาที ซึ่งเป็นลักษณะแรงบิดสูงสุดแบบคงที่ ให้การตอบสนองด้านอัตราเร่งที่ดี 0-100 กม./ชม.ในเวลาเพียง 8.0 วินาทีเท่านั้น
พอหอมปากหอมคอสำหรับข้อมูลหันมาเข้าเรื่องของการทดสอบกันบ้างบีเอ็มฯ กำหนดให้เราใช้เส้นทางด่วนจากตึกออลซีซั่น มุ่งหน้าสู่ถนนพหลโยธิน ขึ้นลอยฟ้าโทลเวย์ ช่วงแรกเรานั่งเป็นผู้โดยสารตอนหน้า รถนั่งนุ่มสบาย การป้องกันเสียงจากภายนอกดีมาก โดยเฉพาะเสียงเครื่องยนต์ที่เมื่อยืนอยู่ภายนอกจะค่อนข้างดัง แต่หากอยู่ในรถจะแทบไม่ได้ยินเสียงเลย
เมื่อขับออกนอกเมืองมาจนถึงจุดแวะพักก็ถึงคิวเราต้องมาเป็นผู้ขับบ้าง ความรู้สึกแรกหลังเหยียบคันเร่งออกตัว “ไม่ต่างจากเบนซินเลย บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ” เนื่องจากแรงบิดสูงสุดมาตั้งแต่รอบที่ต่ำเพียง 1,750 รอบ/นาที และคงอยู่ตลอดจนถึง 3,000 ต่อนาที และทุกครั้งที่เรากดคันเร่ง รถจะพุ่งทะยานอย่างทันใจตามสไตล์บีเอ็มฯ
ความเร็วที่เราใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 120-140 กม./ชม. พวงมาลัยควบคุมอย่างแม่นยำ กระชับมือ และน้ำหนักแปรผันตามความเร็วของรถ เสียงลมประทะกระจกเริ่มได้ยินเมื่อขับเร็วเกินกว่า 140 กม./ชม. และเสียงยางบดถนนและเสียงเครื่องได้ยินบ้างเล็กน้อย แต่หากเปิดเครื่องเสียงก็สามารถกลบเสียงเหล่านั้นไปได้
ด้านการทรงตัวเป็นสิ่งที่โดดเด่นมากสำหรับเจ้า 320ดี ด้วยความเร็วระดับ 140 กม./ชม. แต่รถยังนิ่งเหมือนวิ่งไม่ถึง 100 กม./ชม. อาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากความพิเศษของเจ้า 320ดี ซึ่งมีการกระจายน้ำหนักลงที่เพลาหน้าและหลังแบบสัดส่วน 50-50 อันหาได้ยากในรถแบบซีดานทั่วไป
จังหวะปรับเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ทำงานนุ่มนวลไร้รอยต่อ บางช่วงของการขับเราทดลองการทำงานระบบ Steptronic พบว่า ให้ความสนุกไม่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดา สามารถลากรอบขึ้นไปถึงเกือบ 5,000 รอบ/นาทีได้ และตามการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่เทคนิคบีเอ็มฯ ช่วงล่างได้รับการปรับแต่งใหม่ ปรับสปริงให้นุ่มกว่าตัวเบนซินเล็กน้อย แต่ถ้าถามว่าเรารู้สึกแตกต่างบ้างไหม สารภาพตามตรงคือ “ไม่รู้สึกครับ”
จุดเด่นอันน่าทึ่งอีกประการคือ อัตราการบริโภคน้ำมันเราขับแบบเหยียบเร่งปื๊ด เร่งปื๊ด และใช้ความเร็วเกิน 100 กม./ชม. เกือบจะตลอดการเดินทางกว่า 400 กม.หนนี้ ตัวเลขการบริโภคน้ำมันกลับมาอยู่ที่ประมาณ 14 กม./ชม. (ตามการแสดงผลของคอมพิวเตอร์ในรถ) ขณะที่บีเอ็มฯ เคลมไว้ 16.6 กม./ลิตร
สรุป หากเปรียบเทียบราคา 2.849 ล้านบาท แลกกับสมรรถนะและอุปกรณ์ดังที่กล่าวมาของเจ้า 320ดี ไม่นับรวมแบรนด์อิมเมจหรือค่าความนิยม เราว่า “สมน้ำสมเนื้อ” แต่หากเทียบ(แบบใช้งบประมาณเป็นตัวตั้ง)กับคู่แข่งค่ายดาว 3 แฉกที่เคาะราคาซี-คลาสไว้ 2.99 ล้านบาท เราว่า “เหนื่อย”