แม่ทัพใหญ่อีซูซุ “โมริคาซุ ชกกิ” สุดมั่นนโยบายรัฐบาลนอมินี จะช่วยดึงตลาดรถยนต์ไทยปีหนูเชิดหัวขึ้นอีกครั้ง แม้ยังหวั่นปัจจัยลบราคาน้ำมันแพง และพิษซับไพรม์อเมริกา แต่ยังมองเป็นปัญหาเดิมๆ ไม่น่าจะส่งผลมากนัก ทำให้ประเมินตลาดปิดที่ประมาณ 6.6 แสนคัน โต 4.7% และจะเป็นปีหนูทองของอีซูซุ ที่วาดหวังกลับมายิ่งใหญ่เช่นเดิม ทำยอดขายเติบโตทะลุ 1.6 แสนคัน โดยเพียงเดือนแรกเริ่มมีสัญญาณดี สามารถทวงแชมป์ตลาดปิกอัพจาก “โตโยต้า” ได้แบบเส้นยาแดง เผยเตรียมรุกตลาดเปิดตัวรถใหม่และจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ว่าจะแต่งองค์ทรงเครื่องพีพีวีตัวเก่ง “มิว-7” ให้ใหม่สดอยู่เสมอ กับการออกรุ่นพิเศษให้ลูกค้าเลือกตามใจชอบตลอดทั้งปี ขณะที่ปิกอัพแม้จะไม่มีอะไรใหม่ แต่จะเน้นเจาะเข้าหาลูกค้าโดยตรง ผ่านกลยุทธ “อีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง” สร้างความเข้าใจในตัวโปรดักซ์และแบรนด์อีซูซุ พร้อมเปิดโชว์รูมและศูนย์บริการเพิ่มอีก 30 แห่งทั่วประเทศรองรับ ส่วนตลาดรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ ไตรมาสสองปีนี้ส่ง “เอลฟ์” และ “เดก้า” ใหม่ เขย่าคู่แข่ง!!
เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งสำหรับตลาดรถยนต์เมืองไทย เมื่อมองไปที่ยอดขายในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำได้ถึง 45,431 คัน โต17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และท่ามกลางบรรยากาศของรัฐบาลใหม่ ที่เตรียมขุดนโยบายฟื้นฟูรากหญ้า ไปจนถึงลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจดูคึกคักตั้งแต่ต้นปี จนผู้สันทัดกรณีในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ตลาดรถปีหนูทองน่าจะกลับมาสดใสอีกครั้ง
เช่นเดียวกับยักษ์รถเพื่อการพาณิชย์ “อีซูซุ” ที่วาดหวังว่าปีนี้จะเป็นปีหนูทองของอีซูซุอีกครั้ง หลังจากปีที่ผ่านมาทำยอดขายได้เพียง 1.51 แสนคัน ตกลงไปถึง 15% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่สำคัญตลาดปิกอัพ 1 ตัน ยังถูกโตโยต้าเบียดแย่งแชมป์ไปเรียบร้อย
ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า ปีนี้จะมีปัจจัยบวก และกลยุทธ์อะไรบ้าง ที่จะฉุดให้ค่ายอีซูซุกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์อีกครั้ง และผู้ที่จะอธิบายได้ชัดเจนที่สุด ย่อมต้องเป็น “โมริคาซุ ชกกิ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ซึ่งทีมงาน “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้สัมภาษณ์พิเศษ เพื่อถ่ายทอดมุมมองและแนวทางการดำเนินงานของอีซูซุในปีนี้…
สุดมั่นรัฐบาลนอมินี
ก่อนที่จะพูดถึงทิศทางการดำเนินงานของอีซูซุ “ชกกิ” ได้กล่าวถึงปัจจัยบวกและลบ ที่จะส่งต่อภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยปีนี้ว่า หลังรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว มีการประกาศนโยบายต่างๆรวมถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Project) ทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองผ่อนคลายลง พร้อมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมา และหวังว่ารัฐบาลจะนำมาตรการต่างๆมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปดีขึ้น
“เราเองในฐานะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ หวังว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลกำลังพิจารณาจะนำมาปฏิบัติให้เกิดผลเร็วที่สุด ขณะเดียวกันตัวสะท้อนเศรษฐกิจปีนี้อย่างราคาพืชผลทางการเกษตรค่อนข้างจะดี ไม่ว่าจะเป็นยาง หรือมันสำปะหลัง ส่วนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเห็นว่ามีการขอการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)เพิ่มขึ้น นั่นแสดงให้เห็นถึงการลงทุนใหม่ๆ ของภาคเอกชนยังมีอย่างต่อเนื่อง”
ส่วนปัจจัยลบยังมีให้เห็น ทั้งราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง และต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกว่า จะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ (หนี้ด้อยคุณภาพ) ของสหรัฐอเมริกาอย่างไรบ้าง เพราะอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ของโลก ถ้าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกาเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกลับมาประเทศไทยแน่นอน
อย่างไรก็ตาม มาตรการภายในประเทศที่สำคัญ และส่งผลต่อการลงทุนจากต่างประเทศ คือการกันเงินทุนสำรอง 30% ซึ่งชกกิมองว่าเป็นมาตรการที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ฉะนั้นรัฐบาลไทยจะต้องประกาศให้ชัดเจนไปเลยว่า จะยกเลิกหรือยังใช้มาตรการนี้ต่อไป
ตลาดรถปีนี้ใส-อีซูซุกลับมา
จากปัจจัยบวกใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ขณะที่ปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องที่เดิมๆ ในปีที่ผ่านมา ชกกิจึงมองแนวโน้มตลาดรถยนต์ปีนี้ น่าจะมีทิศทางที่ดีมากกว่า โดยประเมินยอดขายรวมทุกยี่ห้อน่าจะยู่ประมาณ 6.6 แสนคัน หรือเติบโต 4.7% เมื่อเทียบกับปี 2550 (6.3 แสนคัน) เฉพาะในส่วนของปิกอัพอยู่ที่ระดับ 4 แสนคัน
ทั้งนี้ในส่วนของปิกอัพอีซูซุ ชกกิมั่นใจว่าจะดีขึ้นตามตลาดแน่นอน จากปีก่อนทำยอดขายได้ 1.51 แสนคัน และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 1.6 แสนคัน ในจำนวนนี้เป็นยอดขายปิกอัพ 1.48 แสนคัน หรือขยายตัวเล็กน้อยจากปี 2550 ที่ทำได้ 1.39 แสนคัน
“เมื่อดูตลาดรถยนต์เมืองไทย จะเห็นได้ว่าปี 2548 ถือว่ามียอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยทำได้มากกว่า 7.03 แสนคัน แต่หลังจากนั้นตลาดก็ชะลอตัวเรื่อยมา อย่างปีที่ผ่านมาอยู่ระดับ 6.3 แสนคันเท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเรื่องจิตวิทยาผู้บริโภค รู้สึกไม่แน่ใจเรื่องสภาวะเศรษฐกิจ และความผันผวนการเมือง จึงระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ล่าสุดตัวเลขยอดขายในเดือนมกราคมปีนี้โต17% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว ถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับตลาดรถเมืองไทย” ชกกิกล่าว
ลุยเปิดรถใหม่-เพิ่มโชว์รูมฯ
นอกจากปัจจัยบวกที่กล่าวมา ในส่วนของกลยุทธ์ที่จะมัดใจลูกค้า โดยเฉพาะการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาด ชกกิบอกว่าในปีนี้จะยังคงเน้นขาย “ดีแมคซ์ โกลด์ ซีรีย์” ต่อไป แต่ในส่วนรุ่น “มิว-7 โกลด์ ซีรีย์” จะเน้นทำเป็นรุ่นลิมิเต็ตอิดิชั่น หรือตกแต่งพิเศษ ในหลายๆ รูปแบบลักษณะ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยแผนการเปิดตัวสู่ตลาดจะออกมาในช่วงเวลาต่างกัน และในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ ปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีการเปิดตัวแน่นอน
“เรายังคงแนวคิดวิถีอีซูซุ (Isuzu Spirit) ด้วยการนำเสนอรถที่ตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนทาน ประหยัดน้ำมัน อะไหล่หาง่าย ราคาเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องพัฒนาระบบสนับสนุนการใช้รถควบคู่กันไป นั่นคือเรื่องของเครือข่ายการจำหน่าย ซึ่งปีนี้อีซูซุมีแผนขยายโชว์รูมและศูนย์บริการ เพิ่มอีก 30 แห่งทั่วประเทศ จากเดิม 270 เป็น 300 แห่ง แต่ยังคงจำนวนดีลเลอร์เดิมไว้ที่ 100 รายเท่านั้น” ชกกิกล่าวและว่า
พร้อมกันนี้อีซูซุยังจะยังคงเน้นจัดกิจกรรมร่วมกับลูกค้า หรืออีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ทั้งการแข่งขันฟุตซอล และกอล์ฟ อีซูซุ ไทยแลนด์ มาสเตอร์ ซึ่งจัดเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้ว ส่วนงานที่จัดประจำอย่าง อีซูซุ เฟส ติวัล, อีซูซุ โชว์ และอีซูซุ แฟมิลี เดย์ จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายขอบข่ายประชมคมอีซูซุให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ในส่วนของรถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์ ชกกิบอกว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปีนี้ จะทยอยเปิดตัวรถยนต์บรรทุกขนาดกลาง “เอลฟ์” ใหม่สู่ตลาด ส่วนการทดลองติดตั้งก๊าซซีเอ็นจี ให้กับรถบรรทุกรุ่นเอลฟ์” ยังไม่ได้ข้อสรุป คงต้องศึกษาต่อไปเรื่อยๆ และเลื่อนกำหนดการตัดสินใจว่า จะทำตลาดหรือไม่ในปีหน้า
ขณะที่รถบรรทุกขนาดใหญ่ “เดก้า” ใหม่ จะมีการปรับปรุงรูปโฉม และเครื่องยนต์ใหม่ ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ ยูโร 3 ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมให้ความแรงจัดแถมประหยัดน้ำมันอีกด้วย
ลุยส่งออก-ปรับไลน์ผลิต
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดในประเทศของอีซูซุเมื่อปีที่ผ่านมาจะลดลง แต่อีซูซุกลับประสบความสำเร็จในตลาดส่งออกต่างประเทศดีทีเดียว โดยชกกิบอกว่าปีที่แล้วมีการส่งออก อีซูซุ ดีแมคซ์ ไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนสูงถึง 1.3 แสนคัน เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปี 2549 แบ่งเป็นแบบรถสำเร็จรูปทั้งคัน(CBU) 6 หมื่นคัน ชิ้นส่วนประกอบ(CKD) 7 หมื่นคัน
ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าว เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกไปยัง ประเทศฟินแลนด์ นอร์เว สวีเดน และล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่งเปิดผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศลาว ส่วนปีนี้เตรียมแผนรุกตลาดประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกมากขึ้น โดยมีเป้าหมายส่งออกเพิ่มเป็น 1.5 แสนคัน โต 15% แบ่งเป็นแบบรถสำเร็จรูป 7 หมื่นคัน ชิ้นส่วนประกอบ 8 หมื่นคัน
สำหรับการส่งออกรถสำเร็จรูปรุ่นดีแมกซ์ จะเป็นรถจากโรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ จังหวัดระยอง และโรงงานอีซูซุที่สำโรง ในสัดส่วนเท่าๆ กัน แต่ชิ้นส่วนประกอบเพื่อส่งออก จะมาจากโรงงานอีซูซุ เคดีเซ็นเตอร์ ที่อีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง
“ถึงแม้เรายังไม่มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตปิกอัพดีแมคซ์ที่โรงงานสำโรง ซึ่งปัจจุบันผลิตได้ 2 แสนคันต่อปี แต่ในปีที่ผ่านมาได้ปรับสายการผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและใหญ่รุ่นใหม่ (เอลฟ์,เดก้า) ณ โรงงานเกตเวย์ พร้อมย้ายการผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด ไปอยู่อีซูซุ เคดีเซ็นเตอร์ จังหวัดระยอง โดยใช้เงินลงทุนไปพอสมควร แต่คงไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้” ชกกิกล่าว
ทั้งหมดนี่เป็นมุมมองและทิศทางการดำเนินงานของอีซูซุในปีนี้ และเพียงเริ่มต้นก็ดูจะเป็นปีหนูทองของอีซูซุอีกครั้ง เพราะสรุปตัวเลขยอดขายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตลาดปิกอัพ 1 ตัน อีซูซุทำได้ 9,601 คัน เติบโต 13% เมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว…
ที่สำคัญอีซูซุสามารถกลับมาทำยอดขายชนะ “โตโยต้า” เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ซึ่งทำได้ 9,552 คันได้อีกครั้ง แม้จะเฉือนไปเพียงเส้นยาแดงเท่านั้น แต่ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีของอีซูซุ แต่ก็ย่อมส่งผลให้ตลาดปิกอัพปีหนูทอง ทวีองศาเดือดอย่างแน่นอน!!
เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งสำหรับตลาดรถยนต์เมืองไทย เมื่อมองไปที่ยอดขายในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำได้ถึง 45,431 คัน โต17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และท่ามกลางบรรยากาศของรัฐบาลใหม่ ที่เตรียมขุดนโยบายฟื้นฟูรากหญ้า ไปจนถึงลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจดูคึกคักตั้งแต่ต้นปี จนผู้สันทัดกรณีในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ตลาดรถปีหนูทองน่าจะกลับมาสดใสอีกครั้ง
เช่นเดียวกับยักษ์รถเพื่อการพาณิชย์ “อีซูซุ” ที่วาดหวังว่าปีนี้จะเป็นปีหนูทองของอีซูซุอีกครั้ง หลังจากปีที่ผ่านมาทำยอดขายได้เพียง 1.51 แสนคัน ตกลงไปถึง 15% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่สำคัญตลาดปิกอัพ 1 ตัน ยังถูกโตโยต้าเบียดแย่งแชมป์ไปเรียบร้อย
ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า ปีนี้จะมีปัจจัยบวก และกลยุทธ์อะไรบ้าง ที่จะฉุดให้ค่ายอีซูซุกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์อีกครั้ง และผู้ที่จะอธิบายได้ชัดเจนที่สุด ย่อมต้องเป็น “โมริคาซุ ชกกิ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ซึ่งทีมงาน “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้สัมภาษณ์พิเศษ เพื่อถ่ายทอดมุมมองและแนวทางการดำเนินงานของอีซูซุในปีนี้…
สุดมั่นรัฐบาลนอมินี
ก่อนที่จะพูดถึงทิศทางการดำเนินงานของอีซูซุ “ชกกิ” ได้กล่าวถึงปัจจัยบวกและลบ ที่จะส่งต่อภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยปีนี้ว่า หลังรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว มีการประกาศนโยบายต่างๆรวมถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Project) ทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองผ่อนคลายลง พร้อมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมา และหวังว่ารัฐบาลจะนำมาตรการต่างๆมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปดีขึ้น
“เราเองในฐานะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ หวังว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลกำลังพิจารณาจะนำมาปฏิบัติให้เกิดผลเร็วที่สุด ขณะเดียวกันตัวสะท้อนเศรษฐกิจปีนี้อย่างราคาพืชผลทางการเกษตรค่อนข้างจะดี ไม่ว่าจะเป็นยาง หรือมันสำปะหลัง ส่วนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเห็นว่ามีการขอการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)เพิ่มขึ้น นั่นแสดงให้เห็นถึงการลงทุนใหม่ๆ ของภาคเอกชนยังมีอย่างต่อเนื่อง”
ส่วนปัจจัยลบยังมีให้เห็น ทั้งราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง และต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกว่า จะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ (หนี้ด้อยคุณภาพ) ของสหรัฐอเมริกาอย่างไรบ้าง เพราะอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ของโลก ถ้าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกาเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกลับมาประเทศไทยแน่นอน
อย่างไรก็ตาม มาตรการภายในประเทศที่สำคัญ และส่งผลต่อการลงทุนจากต่างประเทศ คือการกันเงินทุนสำรอง 30% ซึ่งชกกิมองว่าเป็นมาตรการที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ฉะนั้นรัฐบาลไทยจะต้องประกาศให้ชัดเจนไปเลยว่า จะยกเลิกหรือยังใช้มาตรการนี้ต่อไป
ตลาดรถปีนี้ใส-อีซูซุกลับมา
จากปัจจัยบวกใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ขณะที่ปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องที่เดิมๆ ในปีที่ผ่านมา ชกกิจึงมองแนวโน้มตลาดรถยนต์ปีนี้ น่าจะมีทิศทางที่ดีมากกว่า โดยประเมินยอดขายรวมทุกยี่ห้อน่าจะยู่ประมาณ 6.6 แสนคัน หรือเติบโต 4.7% เมื่อเทียบกับปี 2550 (6.3 แสนคัน) เฉพาะในส่วนของปิกอัพอยู่ที่ระดับ 4 แสนคัน
ทั้งนี้ในส่วนของปิกอัพอีซูซุ ชกกิมั่นใจว่าจะดีขึ้นตามตลาดแน่นอน จากปีก่อนทำยอดขายได้ 1.51 แสนคัน และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 1.6 แสนคัน ในจำนวนนี้เป็นยอดขายปิกอัพ 1.48 แสนคัน หรือขยายตัวเล็กน้อยจากปี 2550 ที่ทำได้ 1.39 แสนคัน
“เมื่อดูตลาดรถยนต์เมืองไทย จะเห็นได้ว่าปี 2548 ถือว่ามียอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยทำได้มากกว่า 7.03 แสนคัน แต่หลังจากนั้นตลาดก็ชะลอตัวเรื่อยมา อย่างปีที่ผ่านมาอยู่ระดับ 6.3 แสนคันเท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเรื่องจิตวิทยาผู้บริโภค รู้สึกไม่แน่ใจเรื่องสภาวะเศรษฐกิจ และความผันผวนการเมือง จึงระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ล่าสุดตัวเลขยอดขายในเดือนมกราคมปีนี้โต17% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว ถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับตลาดรถเมืองไทย” ชกกิกล่าว
ลุยเปิดรถใหม่-เพิ่มโชว์รูมฯ
นอกจากปัจจัยบวกที่กล่าวมา ในส่วนของกลยุทธ์ที่จะมัดใจลูกค้า โดยเฉพาะการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาด ชกกิบอกว่าในปีนี้จะยังคงเน้นขาย “ดีแมคซ์ โกลด์ ซีรีย์” ต่อไป แต่ในส่วนรุ่น “มิว-7 โกลด์ ซีรีย์” จะเน้นทำเป็นรุ่นลิมิเต็ตอิดิชั่น หรือตกแต่งพิเศษ ในหลายๆ รูปแบบลักษณะ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยแผนการเปิดตัวสู่ตลาดจะออกมาในช่วงเวลาต่างกัน และในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ ปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีการเปิดตัวแน่นอน
“เรายังคงแนวคิดวิถีอีซูซุ (Isuzu Spirit) ด้วยการนำเสนอรถที่ตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนทาน ประหยัดน้ำมัน อะไหล่หาง่าย ราคาเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องพัฒนาระบบสนับสนุนการใช้รถควบคู่กันไป นั่นคือเรื่องของเครือข่ายการจำหน่าย ซึ่งปีนี้อีซูซุมีแผนขยายโชว์รูมและศูนย์บริการ เพิ่มอีก 30 แห่งทั่วประเทศ จากเดิม 270 เป็น 300 แห่ง แต่ยังคงจำนวนดีลเลอร์เดิมไว้ที่ 100 รายเท่านั้น” ชกกิกล่าวและว่า
พร้อมกันนี้อีซูซุยังจะยังคงเน้นจัดกิจกรรมร่วมกับลูกค้า หรืออีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ทั้งการแข่งขันฟุตซอล และกอล์ฟ อีซูซุ ไทยแลนด์ มาสเตอร์ ซึ่งจัดเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้ว ส่วนงานที่จัดประจำอย่าง อีซูซุ เฟส ติวัล, อีซูซุ โชว์ และอีซูซุ แฟมิลี เดย์ จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายขอบข่ายประชมคมอีซูซุให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ในส่วนของรถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์ ชกกิบอกว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปีนี้ จะทยอยเปิดตัวรถยนต์บรรทุกขนาดกลาง “เอลฟ์” ใหม่สู่ตลาด ส่วนการทดลองติดตั้งก๊าซซีเอ็นจี ให้กับรถบรรทุกรุ่นเอลฟ์” ยังไม่ได้ข้อสรุป คงต้องศึกษาต่อไปเรื่อยๆ และเลื่อนกำหนดการตัดสินใจว่า จะทำตลาดหรือไม่ในปีหน้า
ขณะที่รถบรรทุกขนาดใหญ่ “เดก้า” ใหม่ จะมีการปรับปรุงรูปโฉม และเครื่องยนต์ใหม่ ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ ยูโร 3 ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมให้ความแรงจัดแถมประหยัดน้ำมันอีกด้วย
ลุยส่งออก-ปรับไลน์ผลิต
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดในประเทศของอีซูซุเมื่อปีที่ผ่านมาจะลดลง แต่อีซูซุกลับประสบความสำเร็จในตลาดส่งออกต่างประเทศดีทีเดียว โดยชกกิบอกว่าปีที่แล้วมีการส่งออก อีซูซุ ดีแมคซ์ ไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนสูงถึง 1.3 แสนคัน เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปี 2549 แบ่งเป็นแบบรถสำเร็จรูปทั้งคัน(CBU) 6 หมื่นคัน ชิ้นส่วนประกอบ(CKD) 7 หมื่นคัน
ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าว เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกไปยัง ประเทศฟินแลนด์ นอร์เว สวีเดน และล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่งเปิดผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศลาว ส่วนปีนี้เตรียมแผนรุกตลาดประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกมากขึ้น โดยมีเป้าหมายส่งออกเพิ่มเป็น 1.5 แสนคัน โต 15% แบ่งเป็นแบบรถสำเร็จรูป 7 หมื่นคัน ชิ้นส่วนประกอบ 8 หมื่นคัน
สำหรับการส่งออกรถสำเร็จรูปรุ่นดีแมกซ์ จะเป็นรถจากโรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ จังหวัดระยอง และโรงงานอีซูซุที่สำโรง ในสัดส่วนเท่าๆ กัน แต่ชิ้นส่วนประกอบเพื่อส่งออก จะมาจากโรงงานอีซูซุ เคดีเซ็นเตอร์ ที่อีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง
“ถึงแม้เรายังไม่มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตปิกอัพดีแมคซ์ที่โรงงานสำโรง ซึ่งปัจจุบันผลิตได้ 2 แสนคันต่อปี แต่ในปีที่ผ่านมาได้ปรับสายการผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและใหญ่รุ่นใหม่ (เอลฟ์,เดก้า) ณ โรงงานเกตเวย์ พร้อมย้ายการผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด ไปอยู่อีซูซุ เคดีเซ็นเตอร์ จังหวัดระยอง โดยใช้เงินลงทุนไปพอสมควร แต่คงไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้” ชกกิกล่าว
ทั้งหมดนี่เป็นมุมมองและทิศทางการดำเนินงานของอีซูซุในปีนี้ และเพียงเริ่มต้นก็ดูจะเป็นปีหนูทองของอีซูซุอีกครั้ง เพราะสรุปตัวเลขยอดขายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตลาดปิกอัพ 1 ตัน อีซูซุทำได้ 9,601 คัน เติบโต 13% เมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว…
ที่สำคัญอีซูซุสามารถกลับมาทำยอดขายชนะ “โตโยต้า” เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ซึ่งทำได้ 9,552 คันได้อีกครั้ง แม้จะเฉือนไปเพียงเส้นยาแดงเท่านั้น แต่ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีของอีซูซุ แต่ก็ย่อมส่งผลให้ตลาดปิกอัพปีหนูทอง ทวีองศาเดือดอย่างแน่นอน!!