ด้วยความที่เป็นบริษัทในเครือ เมื่ออยู่ในญี่ปุ่นอาจจะถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เราได้เห็นรถยนต์ของโตโยต้าถูกเปลี่ยนชื่อรุ่นและหันมาแปะโลโก้ของไดฮัทสุในการทำตลาด แต่กับตลาดต่างแดนถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก แต่คราวนี้น่าจะเป็นข้อยกเว้นเมื่อไดฮัทสุนำรถยนต์ขนาดซับคอมแพ็กต์รุ่น บีบี หรือแบล็กบ็อกซ์ใหม่ของโตโยต้าที่มีขายอยู่ในญี่ปุ่นมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมาเทอเรียสำหรับขายในยุโรป

ความจริงแล้วในญี่ปุ่น ไดฮัทสุก็นำรถยนต์รุ่นนี้ของโตโยต้ามาวางขายอยู่บนโชว์รูมภายใต้ชื่อ คู (Coo) ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัทนี้มักจะมีการแลกเปลี่ยนรถยนต์ทั้งคันเพื่อทำตลาดอย่างโตโยต้า คัมรี่ก็มีขายในชื่อไดฮัทสุ อัลติส แต่นั่นก็เฉพาะในตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนตลาดต่างแดนเหตุการณ์ลักษณะนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะมีความเสี่ยงในเรื่องของการทับซ้อนทางการตลาดและแย่งชิงลูกค้ากันเอง
สำหรับมาเทอเรียก็คือคันเดียวกับโตโยต้า แบล็กบ็อกซ์ ที่มีการปรับปรุงรายละเอียดของหน้าตาเล็กน้อยเพื่อให้มีความเหมาะสมกับรสนิยมของตลาดและเข้ากับเอกลักษณ์ในเชิงรูปลักษณ์ภายนอกของไดฮัทสุ และถือเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่มาจากโปรเจ็กต์เอ็นบีซี หรือ New Basic Car สำหรับบุกตลาดรถยนต์ซับคอมแพ็กต์ ซึ่งผลผลิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีขายอยู่ในญี่ปุ่น เช่น ปอร์เต้ หรือแพสโซ แต่ในตลาดต่างแดนก็มีขาย เช่น วีออส และยาริส

ดังนั้นจะสัมผัสได้ถึงความเหมือนในเชิงวิศวกรรมทั้งระบบกันสะเทือนหน้าแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท และด้านหลังแบบทอร์ชันบีม รวมถึงเครื่องยนต์ แบบ 1,500 ซีซี ซึ่งถือเป็นขุมพลังหลัก ส่วนเอกลักษณ์อีกข้อ คือ รถยนต์ส่วนใหญ่ในโปรเจ็กต์นี้คือ มักย้ายแผงหน้าปัดและมาตรวัดมาวางอยู่ตรงกลาง
มาเทอเรียมาพร้อมกับความกะทัดรัดในแบบแฮทช์แบ็ก 5 ประตูทรงกล่องสูงที่มีความยาว 3,800 มิลลิเมตร กว้าง 1,690 มิลลิเมตร กว้าง 1,635 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,540 มิลลิเมตร
โดยสิ่งที่ทำให้ไดฮัทสุเชื่อมั่นว่ามาเทอเรียจะสามารถแจ้งเกิดในยุโรปได้เหมือนกับที่แบล็กบ็อกซ์ทำได้ในชื่อไซออน เอ็กซ์บีก็คือ รูปลักษณ์ที่สุดโฉบเฉี่ยวและดูทันสมัยถูกใจวัยรุ่น รวมถึงความอเนกประสงค์ของพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเอ็มพีวี ซึ่งพื้นที่บรรทุกสัมภาระด้านหลังมีความจุมากถึง 619 ลิตรเมื่อพับเบาะหลังลงมา

เครื่องยนต์ที่ทำตลาดมีเพียงแบบเดียวและก็เป็นแบบ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 1,500 ซีซี พร้อมระบบวาล์วแปรผันแบบ DVVT หรือ Dynamic Variable Valve Timing ซึ่งมีกำลังสูงสุด 103 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แต่แรงบิดสูงสุดมี 2 ระดับที่รอบเครื่องยนต์เท่ากัน คือ 4,400 รอบต่อนาที คือ 13.4 กก.-ม. สำหรับรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และ 14.04 กก.-ม. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ
สำหรับสมรรถนะในการขับเคลื่อนถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 10.8 วินาทีในรุ่นเกียร์ธรรมดา และ 13.7 วินาทีในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 170 และ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความประหยัดน้ำมันถือว่าอยู่ในระดับที่ดีเลยทีเดียว กับตัวเลข 16.4 กิโลเมตรต่อลิตรสำหรับการขับภายใต้รูปแบบทั้งในเมืองและนอกเมือง

แม้จะเป็นรถยนต์เล็กแต่ก็อัดแน่นด้วยระบบความปลอดภัยทั้งในเชิงปกป้องและแก้ไข เช่น เอบีเอส, ระบบกระจายแรงเบรกควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบีดี, ระบบเสริมแรงเบรก หรือบีเอ และถุงลมนิรภัยด้านข้างและคู่หน้าสำหรับเบาะนั่งด้านหน้า
ไดฮัทสุจะส่งมาเทอเรียทำตลาดยุโรปด้วยทางเลือกทั้งรุ่นพวงมาลัยซ้ายและขวา โดยในอังกฤษจะมีราคาอยู่ที่ 11,000 ปอนด์ หรือประมาณ 770,000 บาท ส่วนคู่แข่งของรถยนต์รุ่นนี้คือ โอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ เมอริวา และซูซูกิ สแปลชที่จะเปิดตัวรุ่นใหม่ในช่วงปลายปีนี้เช่นเดียวกัน
ความจริงแล้วในญี่ปุ่น ไดฮัทสุก็นำรถยนต์รุ่นนี้ของโตโยต้ามาวางขายอยู่บนโชว์รูมภายใต้ชื่อ คู (Coo) ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัทนี้มักจะมีการแลกเปลี่ยนรถยนต์ทั้งคันเพื่อทำตลาดอย่างโตโยต้า คัมรี่ก็มีขายในชื่อไดฮัทสุ อัลติส แต่นั่นก็เฉพาะในตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนตลาดต่างแดนเหตุการณ์ลักษณะนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะมีความเสี่ยงในเรื่องของการทับซ้อนทางการตลาดและแย่งชิงลูกค้ากันเอง
สำหรับมาเทอเรียก็คือคันเดียวกับโตโยต้า แบล็กบ็อกซ์ ที่มีการปรับปรุงรายละเอียดของหน้าตาเล็กน้อยเพื่อให้มีความเหมาะสมกับรสนิยมของตลาดและเข้ากับเอกลักษณ์ในเชิงรูปลักษณ์ภายนอกของไดฮัทสุ และถือเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่มาจากโปรเจ็กต์เอ็นบีซี หรือ New Basic Car สำหรับบุกตลาดรถยนต์ซับคอมแพ็กต์ ซึ่งผลผลิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีขายอยู่ในญี่ปุ่น เช่น ปอร์เต้ หรือแพสโซ แต่ในตลาดต่างแดนก็มีขาย เช่น วีออส และยาริส
ดังนั้นจะสัมผัสได้ถึงความเหมือนในเชิงวิศวกรรมทั้งระบบกันสะเทือนหน้าแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท และด้านหลังแบบทอร์ชันบีม รวมถึงเครื่องยนต์ แบบ 1,500 ซีซี ซึ่งถือเป็นขุมพลังหลัก ส่วนเอกลักษณ์อีกข้อ คือ รถยนต์ส่วนใหญ่ในโปรเจ็กต์นี้คือ มักย้ายแผงหน้าปัดและมาตรวัดมาวางอยู่ตรงกลาง
มาเทอเรียมาพร้อมกับความกะทัดรัดในแบบแฮทช์แบ็ก 5 ประตูทรงกล่องสูงที่มีความยาว 3,800 มิลลิเมตร กว้าง 1,690 มิลลิเมตร กว้าง 1,635 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,540 มิลลิเมตร
โดยสิ่งที่ทำให้ไดฮัทสุเชื่อมั่นว่ามาเทอเรียจะสามารถแจ้งเกิดในยุโรปได้เหมือนกับที่แบล็กบ็อกซ์ทำได้ในชื่อไซออน เอ็กซ์บีก็คือ รูปลักษณ์ที่สุดโฉบเฉี่ยวและดูทันสมัยถูกใจวัยรุ่น รวมถึงความอเนกประสงค์ของพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเอ็มพีวี ซึ่งพื้นที่บรรทุกสัมภาระด้านหลังมีความจุมากถึง 619 ลิตรเมื่อพับเบาะหลังลงมา
เครื่องยนต์ที่ทำตลาดมีเพียงแบบเดียวและก็เป็นแบบ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 1,500 ซีซี พร้อมระบบวาล์วแปรผันแบบ DVVT หรือ Dynamic Variable Valve Timing ซึ่งมีกำลังสูงสุด 103 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แต่แรงบิดสูงสุดมี 2 ระดับที่รอบเครื่องยนต์เท่ากัน คือ 4,400 รอบต่อนาที คือ 13.4 กก.-ม. สำหรับรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และ 14.04 กก.-ม. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ
สำหรับสมรรถนะในการขับเคลื่อนถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 10.8 วินาทีในรุ่นเกียร์ธรรมดา และ 13.7 วินาทีในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 170 และ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความประหยัดน้ำมันถือว่าอยู่ในระดับที่ดีเลยทีเดียว กับตัวเลข 16.4 กิโลเมตรต่อลิตรสำหรับการขับภายใต้รูปแบบทั้งในเมืองและนอกเมือง
แม้จะเป็นรถยนต์เล็กแต่ก็อัดแน่นด้วยระบบความปลอดภัยทั้งในเชิงปกป้องและแก้ไข เช่น เอบีเอส, ระบบกระจายแรงเบรกควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบีดี, ระบบเสริมแรงเบรก หรือบีเอ และถุงลมนิรภัยด้านข้างและคู่หน้าสำหรับเบาะนั่งด้านหน้า
ไดฮัทสุจะส่งมาเทอเรียทำตลาดยุโรปด้วยทางเลือกทั้งรุ่นพวงมาลัยซ้ายและขวา โดยในอังกฤษจะมีราคาอยู่ที่ 11,000 ปอนด์ หรือประมาณ 770,000 บาท ส่วนคู่แข่งของรถยนต์รุ่นนี้คือ โอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ เมอริวา และซูซูกิ สแปลชที่จะเปิดตัวรุ่นใหม่ในช่วงปลายปีนี้เช่นเดียวกัน