บิ๊กเอ็ม (Big MONEY) กระบะทำเงินของคนทำงาน
หลังสิ้นสุดการจำหน่ายกระบะรุ่น โปรเฟสชั่นแนลไฟว์ แล้วก็เข้าสู่ยุคของ “บิ๊กเอ็ม” กระบะคู่บารมีของค่ายนิสสัน ซึ่งเปิดตัวออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2529

นิสสัน บิ๊กเอ็มคันแรกถูกผลิตขึ้นที่ศูนย์อุตสาหกรรมรถยนต์สยามกลการ ถ.บางนา-ตราด กม.ที่ 21 ภายใต้รหัสตัวถัง D21 ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูแข็งแกร่งสมกับเป็นรถกระบะมากขึ้น ไฟหน้าสี่เหลี่ยมข้างละดวงกลมกลืนกับกระจังหน้าที่มีลักษณะเป็นช่องเล็กๆ ต่อกัน 3 ช่องซ้อนกัน 2 แถว มีโลโก้นิสสันภาษาอังกฤษติดอยู่ตรงกลาง ไฟหรี่และไฟเลี้ยวอยู่ตรงมุมสุดซ้าย/ขวา กันชนหน้าขนาดใหญ่ขึ้น บังโกลนหน้าเป็นเหลี่ยมรับกับประตูและกระบะท้าย ฝาท้ายมีตัวอักษร “Nissan” อยู่เช่นกัน ไฟท้ายเป็นแนวตั้ง
ส่วนภายใน ห้องโดยสารถูกขยายให้กว้างขึ้นแต่ยังคงเป็นแบบเบาะนั่งแถวเดียวยาวหุ้มด้วยหนังเทียม แผงหน้าปัดขนาดใหญ่เพิ่มมาตรวัดรอบ พร้อมแอร์ติดตั้งจากโรงงาน กระจกมองข้างทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ติดตั้งที่มุมกระจกประตู

สำหรับเครื่องยนต์ในรุ่นแรกใช้รหัส SD25 เป็นเครื่องยนต์แบบดีเซล 4 สูบ โอเวอร์เฮดวาล์วประมาตรกระบอกสูบ 2,488 ซีซี. กำลังสูงสุด 77 แรงม้าที่ 4000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.5 กก.ม. ที่ 2000 รอบ/นาที ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบปั๊ม VE ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ระบบช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระปีกนกคานบิด และหลังเป็นแบบเพลาแข็ง แหนบ ระบบเบรก หน้า- ดิสก์ หลัง- ดรัม ล้อกระทะเหล็กขนาด 14 นิ้ว
บิ๊กเอ็มรุ่นแรกนี้ออกจำหน่ายพร้อมกันทั้งรุ่นกระบะช่วงสั้น(4,455 มิลลิเมตร)และช่วงยาว(4,845 มิลลิเมตร) ด้วยราคาประมาณ 199,000 ถึง 260,000 บาท

หลังจากนั้นในปี 2530 ได้เพิ่มเครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 2,000 ซีซี รหัส Z20 กำลังสูงสุด 100 แรงม้า พร้อมกับไมเนอร์เชนจ์โดยเพิ่มเกรด DX และ GL (สีทูโทน) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ลูกค้า
ต่อมาประมาณต้นปี 2531 บิ๊กเอ็มได้รับการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากรหัส SD25 มาเป็น TD25 เครื่องแบบสเวิลแชมเบอร์ 2500 ซีซี. กำลังสูงสุด 85 แรงม้า และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2532 นิสสันได้นำบิ๊กเอ็ม รุ่น คิงแค็บ (King Cab) ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก

ถัดมาในปี 2533ก็เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่อีกครั้งเป็นเครื่องรหัส BD25 พร้อมกับการพ่วงท้ายชื่อรุ่นเป็น “บิ๊กเอ็ม BDI” และปรับโฉมภายนอกอีกเล็กน้อย
ซึ่งเครื่องยนต์ BD25 นั้นเป็นแบบดีเซล 4 สูบ แถวเรียง ไดเร็กอินเจ็กชั่น โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ 2,494 ซีซี. กำลังสูงสุด 90 แรงม้าที่ 4000 รอบ/นาที โดยเป็นเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงที่สุดของตลาดรถกระบะในเวลานั้น ใช้ระบบคลัทซ์แห้งแผ่นเดียว สปริงกดคลัทช์แบบไดอะแฟรม ทำงานด้วยไฮดรอลิค
ในโมเดลนี้ระบบกันสะเทือนหน้าถูกเปลี่ยนเป็นแบบอิสระปีกนกคู่ ทอร์ชั่นบาร์พร้อมโช้คอัพ และเหล็กกันโคลง และหลังเป็นแบบเพลาแข็งพร้อมแหนบและโช้คอัพ ส่วนระบบเบรก หน้าเป็นดิสก์เบรกแบบมีรูระบายความร้อน และหลังแบบดรัมเบรกปรับผ้าเบรกอัตโนมัติ และติดตั้งวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ใช้ล้อกระทะเหล็กในรุ่น DX และล้อแม็กซ์ในรุ่น GL ขนาด 14 นิ้ว

นอกจากนั้นยังมีรุ่นเครื่องยนต์เบนซินออกจำหน่ายควบคู่กันไปด้วย โดยเป็นเครื่องยนต์รุ่น Z16-S 4 สูบ แถวเรียง โอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ ปริมาตรกระบอกสูบ 1,595 ซีซี กำลังสูงสุด 84 แรงม้าที่ 5000 รอบ/นาที ระบบเชื้อเพลิงคาร์บูเรเตอร์เดี่ยว ท่อคู่ดูดลงล่าง ส่วนระบบช่วงล่างและเบรกเหมือนรุ่นดีเซล
ด้านรูปลักษณ์ภายนอกจะยังคงเหมือนกันรุ่นแรก เพียงแต่เปลี่ยนกระจังหน้าเป็นแบบตาข่าย 3 ช่องขนาดใหญ่ แปะโลโก้นิสสันอยู่ตรงกลางเหมือนเดิม เพิ่มกันชนหลังในรุ่นท๊อปและเปลี่ยนลายสติ๊กเกอร์ใหม่ ภายในไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับบิ๊กเอ็ม BDI เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี 2533 จนถึงประมาณปี 2536 ในราคาประมาณ 200,000-350,000 บาท ส่วนรุ่นคิงแค็บไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นแค็ปขนาดเล็ก

นิสสัน บิ๊กเอ็มมีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาใหม่หลายครั้งหลายเวอร์ชั่น แต่ทุกคันจะใช้รหัสตัวถังเดิมคือ D21 เหมือนกัน และหน้าตาของแต่ละรุ่นนั้นก็คล้ายคลึงกัน ยกเว้นรุ่น “แค็บสตาร์ช่วงยาว” ซึ่งเป็นรถเวอร์ชั่นพิเศษแบบ 6 ล้อ, รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อที่เป็นรถนำเข้าสำเร็จรูปโดยจำหน่ายในช่วงแรกอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะหยุดนำเข้าในเวลาต่อมา และรุ่นดับเบิ้ลแค็บ ที่ประกอบขึ้นโดยใช้พื้นฐานตัวรถจากนิสสันบิ๊กเอ็มรุ่นธรรมดามาดัดแปลง จำหน่ายในราคาประมาณ 3 แสนบาท
หลังจากบิ๊กเอ็มจำหน่ายมาเกือบ 10 ปี ประมาณปี 2536 จึงถูกเปลี่ยนโฉมแบบบิ๊กไมเนอร์เชนจ์ อีกครั้งให้ดูเป็นรถกระบะสไตล์อเมริกัน ด้วยการเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าให้งุ้มลง กระจังหน้าชุบโครเมี่ยนมติดตั้งต่ำกว่าเดิม ใช้กันชนใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมไฟเลี้ยว และไฟหรี่อยู่ที่ตำแหน่งเดิม เปลี่ยนไฟหน้าเป็นแบบ 5 เหลี่ยมอันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

เครื่องยนต์ยังคงเป็น BDI เหมือนเดิม ส่วนรุ่นคิงส์แค็ปนั้นได้ขยายห้องโดยสารให้มีความกว้างขวางมากขึ้น พวงมาลัยมีทั้งแบบ 2 ก้าน และ 4 ก้าน เบาะนั่งมีทั้งแบบหนังเทียมและเบาะกำมะหยี่ พร้อมติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และพิเศษสุดๆ มีรุ่นเจาะหลังคาแบบซันรูฟจำหน่ายด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกครั้งนี้บิ๊กเอ็มยังมีการไมเนอร์เชนจ์แบบเล็กๆ อีก 2 ครั้ง (ในช่วงปี 2538 -2539) ก่อนจะเปลี่ยนเครื่องยนต์ในปี 2540 เป็นรหัส TD27 สเวิลแชมเบอร์ 4 สูบ ปั๊มหัวฉีดแบบ VE ปริมาตรกระบอกสูบ 2,663 ซีซี. กำลังสูงสุด 87 แรงม้าที่ 4300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.2 กก.ม.ที่ 2200 รอบ/นาที สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ยังคงเดิม มีเพียงฝากระโปรงหน้าที่เพิ่มช่องดักอากาศเพิ่ม 3 ช่อง กระจังหน้าลายใหม่แบบชิ้นเดียว ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 307,000-414,000 บาท
สำหรับบิ๊กเอ็มเวอร์ชั่นนี้ถือเป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายของสายพันธุ์ D21 ซึ่งสิ้นสุดการจำหน่ายลงในเดือนสิงหาคม ปี 2541 รวมอายุที่จำหน่ายในตลาดทั้งสิ้น 12 ปี พร้อมกับการไมเนอร์เชนจ์แบบชัดๆ ประมาณ 7 ครั้ง (ปี 30,31,33,36,38,39,40)
โปรดติดตามตอนต่อไป "ปิดตำนานบิ๊กเอ็ม"
ข้อมูลจาก บ.สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด
เรียบเรียงโดย ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง
หลังสิ้นสุดการจำหน่ายกระบะรุ่น โปรเฟสชั่นแนลไฟว์ แล้วก็เข้าสู่ยุคของ “บิ๊กเอ็ม” กระบะคู่บารมีของค่ายนิสสัน ซึ่งเปิดตัวออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2529
นิสสัน บิ๊กเอ็มคันแรกถูกผลิตขึ้นที่ศูนย์อุตสาหกรรมรถยนต์สยามกลการ ถ.บางนา-ตราด กม.ที่ 21 ภายใต้รหัสตัวถัง D21 ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูแข็งแกร่งสมกับเป็นรถกระบะมากขึ้น ไฟหน้าสี่เหลี่ยมข้างละดวงกลมกลืนกับกระจังหน้าที่มีลักษณะเป็นช่องเล็กๆ ต่อกัน 3 ช่องซ้อนกัน 2 แถว มีโลโก้นิสสันภาษาอังกฤษติดอยู่ตรงกลาง ไฟหรี่และไฟเลี้ยวอยู่ตรงมุมสุดซ้าย/ขวา กันชนหน้าขนาดใหญ่ขึ้น บังโกลนหน้าเป็นเหลี่ยมรับกับประตูและกระบะท้าย ฝาท้ายมีตัวอักษร “Nissan” อยู่เช่นกัน ไฟท้ายเป็นแนวตั้ง
ส่วนภายใน ห้องโดยสารถูกขยายให้กว้างขึ้นแต่ยังคงเป็นแบบเบาะนั่งแถวเดียวยาวหุ้มด้วยหนังเทียม แผงหน้าปัดขนาดใหญ่เพิ่มมาตรวัดรอบ พร้อมแอร์ติดตั้งจากโรงงาน กระจกมองข้างทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ติดตั้งที่มุมกระจกประตู
สำหรับเครื่องยนต์ในรุ่นแรกใช้รหัส SD25 เป็นเครื่องยนต์แบบดีเซล 4 สูบ โอเวอร์เฮดวาล์วประมาตรกระบอกสูบ 2,488 ซีซี. กำลังสูงสุด 77 แรงม้าที่ 4000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.5 กก.ม. ที่ 2000 รอบ/นาที ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบปั๊ม VE ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ระบบช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระปีกนกคานบิด และหลังเป็นแบบเพลาแข็ง แหนบ ระบบเบรก หน้า- ดิสก์ หลัง- ดรัม ล้อกระทะเหล็กขนาด 14 นิ้ว
บิ๊กเอ็มรุ่นแรกนี้ออกจำหน่ายพร้อมกันทั้งรุ่นกระบะช่วงสั้น(4,455 มิลลิเมตร)และช่วงยาว(4,845 มิลลิเมตร) ด้วยราคาประมาณ 199,000 ถึง 260,000 บาท
หลังจากนั้นในปี 2530 ได้เพิ่มเครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 2,000 ซีซี รหัส Z20 กำลังสูงสุด 100 แรงม้า พร้อมกับไมเนอร์เชนจ์โดยเพิ่มเกรด DX และ GL (สีทูโทน) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ลูกค้า
ต่อมาประมาณต้นปี 2531 บิ๊กเอ็มได้รับการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากรหัส SD25 มาเป็น TD25 เครื่องแบบสเวิลแชมเบอร์ 2500 ซีซี. กำลังสูงสุด 85 แรงม้า และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2532 นิสสันได้นำบิ๊กเอ็ม รุ่น คิงแค็บ (King Cab) ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก
ถัดมาในปี 2533ก็เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่อีกครั้งเป็นเครื่องรหัส BD25 พร้อมกับการพ่วงท้ายชื่อรุ่นเป็น “บิ๊กเอ็ม BDI” และปรับโฉมภายนอกอีกเล็กน้อย
ซึ่งเครื่องยนต์ BD25 นั้นเป็นแบบดีเซล 4 สูบ แถวเรียง ไดเร็กอินเจ็กชั่น โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ 2,494 ซีซี. กำลังสูงสุด 90 แรงม้าที่ 4000 รอบ/นาที โดยเป็นเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงที่สุดของตลาดรถกระบะในเวลานั้น ใช้ระบบคลัทซ์แห้งแผ่นเดียว สปริงกดคลัทช์แบบไดอะแฟรม ทำงานด้วยไฮดรอลิค
ในโมเดลนี้ระบบกันสะเทือนหน้าถูกเปลี่ยนเป็นแบบอิสระปีกนกคู่ ทอร์ชั่นบาร์พร้อมโช้คอัพ และเหล็กกันโคลง และหลังเป็นแบบเพลาแข็งพร้อมแหนบและโช้คอัพ ส่วนระบบเบรก หน้าเป็นดิสก์เบรกแบบมีรูระบายความร้อน และหลังแบบดรัมเบรกปรับผ้าเบรกอัตโนมัติ และติดตั้งวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ใช้ล้อกระทะเหล็กในรุ่น DX และล้อแม็กซ์ในรุ่น GL ขนาด 14 นิ้ว
นอกจากนั้นยังมีรุ่นเครื่องยนต์เบนซินออกจำหน่ายควบคู่กันไปด้วย โดยเป็นเครื่องยนต์รุ่น Z16-S 4 สูบ แถวเรียง โอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ ปริมาตรกระบอกสูบ 1,595 ซีซี กำลังสูงสุด 84 แรงม้าที่ 5000 รอบ/นาที ระบบเชื้อเพลิงคาร์บูเรเตอร์เดี่ยว ท่อคู่ดูดลงล่าง ส่วนระบบช่วงล่างและเบรกเหมือนรุ่นดีเซล
ด้านรูปลักษณ์ภายนอกจะยังคงเหมือนกันรุ่นแรก เพียงแต่เปลี่ยนกระจังหน้าเป็นแบบตาข่าย 3 ช่องขนาดใหญ่ แปะโลโก้นิสสันอยู่ตรงกลางเหมือนเดิม เพิ่มกันชนหลังในรุ่นท๊อปและเปลี่ยนลายสติ๊กเกอร์ใหม่ ภายในไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับบิ๊กเอ็ม BDI เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี 2533 จนถึงประมาณปี 2536 ในราคาประมาณ 200,000-350,000 บาท ส่วนรุ่นคิงแค็บไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นแค็ปขนาดเล็ก
นิสสัน บิ๊กเอ็มมีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาใหม่หลายครั้งหลายเวอร์ชั่น แต่ทุกคันจะใช้รหัสตัวถังเดิมคือ D21 เหมือนกัน และหน้าตาของแต่ละรุ่นนั้นก็คล้ายคลึงกัน ยกเว้นรุ่น “แค็บสตาร์ช่วงยาว” ซึ่งเป็นรถเวอร์ชั่นพิเศษแบบ 6 ล้อ, รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อที่เป็นรถนำเข้าสำเร็จรูปโดยจำหน่ายในช่วงแรกอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะหยุดนำเข้าในเวลาต่อมา และรุ่นดับเบิ้ลแค็บ ที่ประกอบขึ้นโดยใช้พื้นฐานตัวรถจากนิสสันบิ๊กเอ็มรุ่นธรรมดามาดัดแปลง จำหน่ายในราคาประมาณ 3 แสนบาท
หลังจากบิ๊กเอ็มจำหน่ายมาเกือบ 10 ปี ประมาณปี 2536 จึงถูกเปลี่ยนโฉมแบบบิ๊กไมเนอร์เชนจ์ อีกครั้งให้ดูเป็นรถกระบะสไตล์อเมริกัน ด้วยการเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าให้งุ้มลง กระจังหน้าชุบโครเมี่ยนมติดตั้งต่ำกว่าเดิม ใช้กันชนใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมไฟเลี้ยว และไฟหรี่อยู่ที่ตำแหน่งเดิม เปลี่ยนไฟหน้าเป็นแบบ 5 เหลี่ยมอันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
เครื่องยนต์ยังคงเป็น BDI เหมือนเดิม ส่วนรุ่นคิงส์แค็ปนั้นได้ขยายห้องโดยสารให้มีความกว้างขวางมากขึ้น พวงมาลัยมีทั้งแบบ 2 ก้าน และ 4 ก้าน เบาะนั่งมีทั้งแบบหนังเทียมและเบาะกำมะหยี่ พร้อมติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และพิเศษสุดๆ มีรุ่นเจาะหลังคาแบบซันรูฟจำหน่ายด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกครั้งนี้บิ๊กเอ็มยังมีการไมเนอร์เชนจ์แบบเล็กๆ อีก 2 ครั้ง (ในช่วงปี 2538 -2539) ก่อนจะเปลี่ยนเครื่องยนต์ในปี 2540 เป็นรหัส TD27 สเวิลแชมเบอร์ 4 สูบ ปั๊มหัวฉีดแบบ VE ปริมาตรกระบอกสูบ 2,663 ซีซี. กำลังสูงสุด 87 แรงม้าที่ 4300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.2 กก.ม.ที่ 2200 รอบ/นาที สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ยังคงเดิม มีเพียงฝากระโปรงหน้าที่เพิ่มช่องดักอากาศเพิ่ม 3 ช่อง กระจังหน้าลายใหม่แบบชิ้นเดียว ราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 307,000-414,000 บาท
สำหรับบิ๊กเอ็มเวอร์ชั่นนี้ถือเป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายของสายพันธุ์ D21 ซึ่งสิ้นสุดการจำหน่ายลงในเดือนสิงหาคม ปี 2541 รวมอายุที่จำหน่ายในตลาดทั้งสิ้น 12 ปี พร้อมกับการไมเนอร์เชนจ์แบบชัดๆ ประมาณ 7 ครั้ง (ปี 30,31,33,36,38,39,40)
โปรดติดตามตอนต่อไป "ปิดตำนานบิ๊กเอ็ม"
ข้อมูลจาก บ.สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด
เรียบเรียงโดย ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง