พูดถึงรถยนต์ ในความคิดของหลายๆคนอาจจะเห็นเป็นเรื่องของผู้ชายที่จะชื่นชอบและมีความ ชำนาญ แต่ความเป็นจริงยังมีผู้หญิงอีกมากที่มีความรู้เรื่องรถยนต์ไม่แพ้พวกหนุ่มๆ
อย่างแม่พิมพ์ของชาติคนนี้ อาจารย์ ปรานอม นะนุนา ปัจจุบันอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ชื่นชอบและหลงไหลในเสน่ห์ของรถโบราณ
อาจารย์ปรานอม เล่าให้เราฟังถึงความผูกพันที่มีกับรถโบราณเหล่านี้ว่าเริ่มจากผู้เป็นสามี อยู่ยง นะนุนา ที่มีความชื่นชอบเกี่ยวกับรถยนต์อย่างมาก โดยเฉพาะรถโบราณ จะชื่นชอบเป็นพิเศษ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้นแม้ผู้เป็นสามีจะยังไม่มีความพร้อมในด้านการเงิน แต่ก็อาศัยใจรักจึงได้ลองผิดลองถูกและสร้างรถขึ้นมาเพื่อเลียนแบบรถรุ่นต่างๆในอดีต

" สามีซึ่งเรียนจบทางด้านมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร เป็นคนที่ชอบเรื่องของรถมาก ก็เลยมีการศึกษา ซื้อหนังสือ หรือแคตตาล๊อกต่างๆมาดูแบบรถยนต์แต่ละรุ่น และเมื่อมีโอกาสก็เลยสร้างอู่ขึ้นมา ซึ่งก็ได้มีการประดิษฐ์รถเลียนแบบขึ้นมาจำนวน 4 คันด้วยกัน โดยรถทั้ง 4 คันที่สามีของอาจารย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรง ปัจจุบันเหลืออยู่ เพียง2 คันคือ เมอร์เซเดส - เบนซ์ ปี 1912 และ โฟล์กสวาเก้น ปี 1906 ส่วนที่เหลืออีก 2 คันนั้น คันแรกอยู่กับนายขรรค์ชัย บุญปาน ประธานกรรมการบริษัทมติชน จำกัด(มหาชน)ซึ่งได้มีการถวายแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ส่วนอีกหนึ่งคันที่เหลือนั้น ตกไปอยู่ในมือของศิลปินชื่อดัง อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์"
อาจารย์ปรานอม บอกอย่างภาคภูมิใจว่า แม้ผู้เป็นสามีจะไม่ได้มีงบประมาณมากมายแต่ก็ได้รังสรรค์ผลงานชิ้นเอกออกมาให้คนรุ่นหลังได้เห็นและได้สัมผัส และแม้ว่ารถทั้ง 2 คันที่ได้ขายออกไปจะไม่ได้กำไร หากแต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาก็คือกำไรจากผลงาน และนี่คือสิ่งที่ชาวศิลปากรภาคภูมิใจมากที่สุด
สำหรับรถที่เหลืออีก 2 คัน ก็เป็นภาระหน้าที่ของอาจารย์ปรานอม ที่ต้องดูแลและรักษาแทนสามี เนื่องจากสามีประสบอุบัติเหตุ ซึ่งในส่วนของ โฟล์กสวาเก้น ปี 1906 ที่ถือว่าเป็นรถที่มีอายุมากที่สุด และ เมอร์เซเดส - เบนซ์ ปี 1912 เป็นรถที่ทำขึ้นแลกแบบขแงดั้งเดิม การดูแลคือ การวอร์มเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพราะหากไม่มีการวอร์มเครื่องไว้ก็จะส่งผลให้แบเตอรี่ไม่ทำงานและทำให้สตาร์ทไม่ติด หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์หรือตัวรถ ก็จะมีเพื่อนฝูงจากทางสมาคมรถโบราณคอยให้คำปรึกษาและคอยช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ช่างมาคอยตรวจสอบและดูแลรถเมื่อมีปัญหา ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าช่วยได้มาก เนื่องจากแต่ก่อนนั้นก็มีปัญหาเรื่องโดนช่างหลอกเป็นประจำ

แม้ว่าจะต้องเหนื่อยหรือโดนหลอก แต่อาจารย์ก็เต็มใจเหนื่อยเพื่อที่คนรุ่นหลังจะได้มีโอกาสชื่นชมและได้สัมผัสกับรถที่หายากในปัจจุบัน โดยเมื่อล่าสุดอาจารย์ก็ได้นำรถทั้ง 2 คันเข้าร่วมในงานหัวหินวินเทจคาร์ซึ่งจัดขึ้นทุกปีมาเป็ฯเวลา 3 ปีแล้ว ซึ่งรถทั้ง 2 คันได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโฟล์กสวาเก้น ปี 1906
โดยจุดเด่นที่ทำให้รถคันนี้ได้รับความสนใจก็คือ ความเล็ก กะทัดรัด น่ารัก ประกอบกับสีสันของตัวรถที่มีสีแดง ตัดกับสีน้ำตาล ซึ่งรถแบบนี้น้อยคันมากที่จะเห็นวิ่งอยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วในส่วนของการประดิษฐ์รถคันนี้ก็ทำเส้นสายลายเส้น ความโค้งมน ได้ลงตัวแม้จะเป็นรถที่ทำขึ้นมาใหม่ทั้งคันด็ตามซึ่งก็ถือเป็นเสน่ห์ของรถอีกแบบหนึ่ง ความเด่นของรถรุ่นนี้นอกเหนือจากเป็นรถที่ไม่มีใครประดิษฐ์อีกแล้ว ยังถือเป็นรถที่พร้อมโชว์และสามารถขับขี่ไปในสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่มีปัญหา โดยแต่เดิมรถคันนี้เคยเดินทางไปโชว์ตัวยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมาแล้ว นอกจากนั้นก็ยังเป้นรถอีกหนึ่งคันที่สามารถขับแซงรถบรรทุกได้อย่างสบาย สำหรับความเร็วของรถในรุ่นนี้ที่อาจารย์ได้ขับขี่นั้น ก็อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อาจารย์ยังได้ฝากทิ้งท้ายให้แก่ผู้ที่กำลังจะริเริ่มและมีแนวคิดที่จะเล่นรถโบราณว่า ประการแรกทีทุกคนต้องมีก็คือ ใจรัก ซึ่งตรงจุดนี้สำคัญมาเป็นอันดับ 1 และประการต่อมาที่ขาดไม่ได้ก็คือ เรื่องของงบประมาณ ที่ต้องมีสำรองส่วนหนึ่ง ซึ่งตรงนี้แม้จะมีหลายคนกล่าววว่าผุ้ที่มีเงินเท่านั้นถึงจะเล่นรถโบราณได้ ซึ่งไม่เสมอไปเพราะคนที่มีเงินอยู่ส่วนหนึ่งก็สามารถเล่นได้แต่เล่นแบบค่อยเป็นค่อยไป
อย่างแม่พิมพ์ของชาติคนนี้ อาจารย์ ปรานอม นะนุนา ปัจจุบันอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ชื่นชอบและหลงไหลในเสน่ห์ของรถโบราณ
อาจารย์ปรานอม เล่าให้เราฟังถึงความผูกพันที่มีกับรถโบราณเหล่านี้ว่าเริ่มจากผู้เป็นสามี อยู่ยง นะนุนา ที่มีความชื่นชอบเกี่ยวกับรถยนต์อย่างมาก โดยเฉพาะรถโบราณ จะชื่นชอบเป็นพิเศษ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้นแม้ผู้เป็นสามีจะยังไม่มีความพร้อมในด้านการเงิน แต่ก็อาศัยใจรักจึงได้ลองผิดลองถูกและสร้างรถขึ้นมาเพื่อเลียนแบบรถรุ่นต่างๆในอดีต
" สามีซึ่งเรียนจบทางด้านมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร เป็นคนที่ชอบเรื่องของรถมาก ก็เลยมีการศึกษา ซื้อหนังสือ หรือแคตตาล๊อกต่างๆมาดูแบบรถยนต์แต่ละรุ่น และเมื่อมีโอกาสก็เลยสร้างอู่ขึ้นมา ซึ่งก็ได้มีการประดิษฐ์รถเลียนแบบขึ้นมาจำนวน 4 คันด้วยกัน โดยรถทั้ง 4 คันที่สามีของอาจารย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรง ปัจจุบันเหลืออยู่ เพียง2 คันคือ เมอร์เซเดส - เบนซ์ ปี 1912 และ โฟล์กสวาเก้น ปี 1906 ส่วนที่เหลืออีก 2 คันนั้น คันแรกอยู่กับนายขรรค์ชัย บุญปาน ประธานกรรมการบริษัทมติชน จำกัด(มหาชน)ซึ่งได้มีการถวายแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ส่วนอีกหนึ่งคันที่เหลือนั้น ตกไปอยู่ในมือของศิลปินชื่อดัง อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์"
อาจารย์ปรานอม บอกอย่างภาคภูมิใจว่า แม้ผู้เป็นสามีจะไม่ได้มีงบประมาณมากมายแต่ก็ได้รังสรรค์ผลงานชิ้นเอกออกมาให้คนรุ่นหลังได้เห็นและได้สัมผัส และแม้ว่ารถทั้ง 2 คันที่ได้ขายออกไปจะไม่ได้กำไร หากแต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาก็คือกำไรจากผลงาน และนี่คือสิ่งที่ชาวศิลปากรภาคภูมิใจมากที่สุด
สำหรับรถที่เหลืออีก 2 คัน ก็เป็นภาระหน้าที่ของอาจารย์ปรานอม ที่ต้องดูแลและรักษาแทนสามี เนื่องจากสามีประสบอุบัติเหตุ ซึ่งในส่วนของ โฟล์กสวาเก้น ปี 1906 ที่ถือว่าเป็นรถที่มีอายุมากที่สุด และ เมอร์เซเดส - เบนซ์ ปี 1912 เป็นรถที่ทำขึ้นแลกแบบขแงดั้งเดิม การดูแลคือ การวอร์มเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพราะหากไม่มีการวอร์มเครื่องไว้ก็จะส่งผลให้แบเตอรี่ไม่ทำงานและทำให้สตาร์ทไม่ติด หรือในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์หรือตัวรถ ก็จะมีเพื่อนฝูงจากทางสมาคมรถโบราณคอยให้คำปรึกษาและคอยช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ช่างมาคอยตรวจสอบและดูแลรถเมื่อมีปัญหา ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าช่วยได้มาก เนื่องจากแต่ก่อนนั้นก็มีปัญหาเรื่องโดนช่างหลอกเป็นประจำ
แม้ว่าจะต้องเหนื่อยหรือโดนหลอก แต่อาจารย์ก็เต็มใจเหนื่อยเพื่อที่คนรุ่นหลังจะได้มีโอกาสชื่นชมและได้สัมผัสกับรถที่หายากในปัจจุบัน โดยเมื่อล่าสุดอาจารย์ก็ได้นำรถทั้ง 2 คันเข้าร่วมในงานหัวหินวินเทจคาร์ซึ่งจัดขึ้นทุกปีมาเป็ฯเวลา 3 ปีแล้ว ซึ่งรถทั้ง 2 คันได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโฟล์กสวาเก้น ปี 1906
โดยจุดเด่นที่ทำให้รถคันนี้ได้รับความสนใจก็คือ ความเล็ก กะทัดรัด น่ารัก ประกอบกับสีสันของตัวรถที่มีสีแดง ตัดกับสีน้ำตาล ซึ่งรถแบบนี้น้อยคันมากที่จะเห็นวิ่งอยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วในส่วนของการประดิษฐ์รถคันนี้ก็ทำเส้นสายลายเส้น ความโค้งมน ได้ลงตัวแม้จะเป็นรถที่ทำขึ้นมาใหม่ทั้งคันด็ตามซึ่งก็ถือเป็นเสน่ห์ของรถอีกแบบหนึ่ง ความเด่นของรถรุ่นนี้นอกเหนือจากเป็นรถที่ไม่มีใครประดิษฐ์อีกแล้ว ยังถือเป็นรถที่พร้อมโชว์และสามารถขับขี่ไปในสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่มีปัญหา โดยแต่เดิมรถคันนี้เคยเดินทางไปโชว์ตัวยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมาแล้ว นอกจากนั้นก็ยังเป้นรถอีกหนึ่งคันที่สามารถขับแซงรถบรรทุกได้อย่างสบาย สำหรับความเร็วของรถในรุ่นนี้ที่อาจารย์ได้ขับขี่นั้น ก็อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อาจารย์ยังได้ฝากทิ้งท้ายให้แก่ผู้ที่กำลังจะริเริ่มและมีแนวคิดที่จะเล่นรถโบราณว่า ประการแรกทีทุกคนต้องมีก็คือ ใจรัก ซึ่งตรงจุดนี้สำคัญมาเป็นอันดับ 1 และประการต่อมาที่ขาดไม่ได้ก็คือ เรื่องของงบประมาณ ที่ต้องมีสำรองส่วนหนึ่ง ซึ่งตรงนี้แม้จะมีหลายคนกล่าววว่าผุ้ที่มีเงินเท่านั้นถึงจะเล่นรถโบราณได้ ซึ่งไม่เสมอไปเพราะคนที่มีเงินอยู่ส่วนหนึ่งก็สามารถเล่นได้แต่เล่นแบบค่อยเป็นค่อยไป