ใกล้จะสิ้นปีไก่เต็มทีแล้ว "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" เลยอยากรวบรวมข่าวที่ทำให้วงการรถยนต์บ้านเราสั่นสะเทือนกันทั้งหมด 10 ข่าว โดยตั้งแต่ต้นปีก็มีข่าวให้ครึกโครมขึ้นหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งแทบทุกฉบับคงหนีไม่พ้นข่าวการทุบรถ ประจานของลูกค้า ฮอนด้า ที่ถือว่าสร้างกระแสได้มากทีเดียว รวมถึงเรื่องของการเผารถประจาน และอีกสารพัดปัญหาเรื่องรถยนต์ ที่ทำให้ข่าวนี้เข้าวินมาที่ 1
นอกจากนี้ปีไก่ก็ยังมีรถโมเดลใหม่ๆออกมาหลายแบรนด์ แต่ที่เด็ดสุดคงหนีไม่พ้น ฮอนด้า ซีวิค ที่ถือว่ากลับมากู้หน้าให้บริษัทอีกครั้งหลังโดนพายุครั้งใหญ่กระหน่ำไปตอนต้นปี ในปีนี้เช่นเดียวกันก็ยังข่าวเรื่องยอดส่งออกและยอดการผลิตที่สูงกว่าปีที่ผ่านๆมา สรุปแล้วปีนี้ถือว่าเป็นปีที่คึกคักของวงการรถยนต์บ้านเราทีเดียว ส่วนปีหน้าก็ต้องมารอดูว่าค่ายไหนจะทำคะแนนได้ดีกว่ากัน?

1. ย้อยรอยทุบรถ - เผารถ : เมื่อผู้บริโภคเอาจริง
เชื่อว่าถึงแม่จะผ่านไปกี่ปี คงไม่มีใครลืมเลือนข่าวนี้ไปได้ เพราะการเรียกร้องให้บริษัทรถแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีของคุณเดือนเพ็ญ ที่ออกมาทุบรถ "ฮอนด้า ซีอาร์-วี" ประจานความชุ่ยของการประกอบชิ้นส่วนที่ทำให้รถป้ายแดงของเธอต้องเข้าศูนย์ซ่อมไปหลายครั้งในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น โดยตอนแรกนั้นบริษัทยืนยันไม่ยอมเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ ทำให้วงการรถยนต์บ้านเราตื่นตัวต่อการเรียกร้องของผู้บริโภคกันเป็นแถว ออกโปรโมชั่นการดูแลหลังการขายกันถ้วนหน้า รวมถึงงานนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ได้แจ้งเกิดในเป็นกาวใจระหว่างสองฝ่าย แต่ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายไปมากกว่านี้ก็ได้ข้อสรุปออกมาโดยที่ฮอนด้ายอมซื้อรถเจ้าปัญหาคืนมา และสาวใจเด็ดเดือนเพ็ญก็ไปถอยรถคันใหม่ของเจ้าอื่นแทน
หลังจากนั้นก็ทำให้กระแสเรียกร้องของผู้บริโภคที่ "ผิดหวัง" กับปัญหาของรถตัวเองออกมา "ทุบรถ" และบางคนถึงกับ "เผารถ" กันเลยทีเดียว รวมทั้งยังมีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องขึ้นมากันมากมาย โดยเฉพาะงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาก็กลายเป็นเวทีให้ผู้บริโภคออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจากค่ายรถกันเป็นแถวไม่เว้นแต่ละวันของงาน นี่ยังไม่รวมถึงอีกสารพัดปัญหารถที่มีออกมาตลอดปี ทำให้หลายค่ายนั้นหนาวๆร้อนๆกันเป็นแถวเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ค่ายของตัวเองจะต้องขึ้นหน้าหนึ่งอีก
กระทั่งทางรัฐออกมาแก้ปัญหานี้โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพยานยนต์ ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) หลังเหตุการณ์ทุบรถต่อเนื่อง เพื่อเป็นสื่อกลางรับปัญหาลูกค้าแจ้งผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายรถและสถาบันยานยนต์ ก่อนนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพยานยนต์นี้ตั้งอยู่ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ Call Center. (02) 202-2301-4 หรือที่เว็บไซต์ WWW.TISI.GO.TH.

2. "ซีวิค" ใหม่!! แรงตั้งแต่ยังไม่เปิดตัว
ปีที่ผ่านมาตลาดเก๋งขนาดกลาง หรือคอมแพ็กต์คาร์ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองในตลาดรถยนต์ไทย ยังนิ่งสนิทไม่มีอะไรออกมาสร้างสีสัน นอกจากมาสด้า 3 เป็นยี่ห้อเดียวที่เปิดตัวโมเดลใหม่ออกมา ทำให้การแข่งขันในปีที่แล้วขาดความร้อนแรง จนแทบไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นเลย แต่แล้วตลาดรถนั่งขนาดกลางกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อฮอนด้าประกาศว่าจะเปิดตัว ฮฮนด้า ซีวิค โฉมใหม่ซึ่งเป็นเจนเนเรชั่นที่ 8 ของตระกูล
กระแสความสนใจต่อฮอนด้า ซีวิคใหม่ โมเดลเชนจ์ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในบ้านเราเท่านั้น แต่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอีกตลาดหลักของคอมแพ็กต์ซีดานรุ่นนี้ คนที่นั่นก็ติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหว กันตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงนี้ซึ่งใกล้จะมีการเปิดตัวในเมืองลุงแซม
และแล้วซีวิคก็ได้กฤษ์เปิดตัวไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาด้วยราคาที่ผลิกโผหักปากกาบรรดาเซียนทั้งหลายที่เคาะไว้ก่อนหน้านี้ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 7.63 แสนบาท ซีวิค ใหม่ ได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์แข็งแกร่ง โฉบเฉี่ยวแบบรถสปอร์ต พร้อมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ระบบกันสะเทือนใหม่ เครื่องยนต์และระบบเกียร์พัฒนาใหม่ และห้องโดยสารกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ยังเพียบพร้อมด้วยระบบความปลอดภัยระดับแนวหน้า ซึ่งรวมถึงระบบช่วยควบคุมการทรงตัว VSA (Vehicle Stability Assist) ที่ช่วยยึดเกาะถนนให้การทรงตัวดีเยี่ยมในขณะเลี้ยวรถ
งานนี้ฮอนด้าเทหมดหน้าตักถึง 100 ล้านเตรียมดันซีวิคสุดตัว เพราะก่อนหน้านี้ถือว่าบอบช้ำมาเยอะตั้งแต่ช่วงต้นปี ฮิโรชิ โทดะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า "เราเชื่อว่าซีวิคใหม่นี้จะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของฮอนด้า ในกลุ่มรถขนาดคอมแพ็กต์เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 30% หรือช่วยผลักดันยอดขายของฮอนด้าโดยรวม เพิ่มขึ้นในปีหน้า 15% จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.0-6.5 หมื่นคัน”
งานนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า "ซีวิค" จะมาช่วยให้ฝันของฮอนด้าเป็นจริงได้ไหม?

3. ไทรทันเปิดตัวอลังการแต่ยอดไม่พุ่ง
หลักจากตกอยู่ในกระแสตั้งแต่ต้นปี มีนักเลงรถต่างนับวันรอวันเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ของมิตซูบิชิ จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค่ายตราเพชรได้จัดการเปิดตัว ปิกอัพรุ่นล่าสุดครั้งแรกในโลกที่เมืองไทย นามว่า “ไทรทัน” โดยมาพร้อม สโลแกนสุดเท่ห์ “อารยธรรมใหม่แห่งรถกระบะ” ด้วยรูปทรงแปลกใหม่ รูปลักษณ์ที่กระฉากความเป็นปิกอัพสไตล์เดิมๆ รวมถึงการตกแต่งภายในแบบสปอร์ต ทั้งยังใส่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาให้อย่างครบครัน ซึ่งยังไม่เคยมีค่ายไหนให้มากขนาดนี้มาก่อน
ประกอบกับการวางขุมพลังใหม่ เครื่องยนต์ ไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ 3.2 ลิตร 165 แรงม้าซึ่งนับว่าเป็นเครื่องยนต์รถปิกอัพที่แรงสุดในตลาด นอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์เดิม ไดเรกอินเจกชัน 2.5 ลิตร 90 แรงม้า และไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ 2.5 ลิตร 140 แรงม้า ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้วย โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 548,000-898,000 บาท
ซึ่งอารยธรรมใหม่ของรถกระบะนี้เอง อาจจะเป็นปัจจัยที่ฉุดให้ยอดรถไทรทันไม่สวยงามเหมือนกับที่ถูกตั้งความหวังในตอนแรก ด้วยยอด 10,322 คันหลังจากการเปิดตัวได้เพียง 4 วัน แต่หลังจากนั้นต้องบอกว่าเงียบจนน่าใจหาย ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากการวางแผนการตลาดแบบแหวกแนว โดยกล้าเปิดตัวโมเดลใหม่ ในช่วงที่มีปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลถึงกำลังซื้อ และภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา
รวมถึงความกล้าที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือเป็นช่วงนอกฤดูการขายที่ชาวบ้านเขาไม่นิยมทำกัน แต่ด้วยความเชื่อมั่นในตัวโปรดักส์ ว่ามีความสดใหม่ ทั้งยังไม่มีคู่แข่งเปิดตัวรุ่นใหม่สู่ตลาด ทำให้ มิตซูบิชิ กล้าที่จะลองในจุดนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าบ้านเราที่ตลาดรถปิกอัพมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 60% โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังใช้รถปิกอัพเพื่อการใช้งานจริงอยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่าเพราะแผนการตลาดที่ไม่โดนใจกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาพลักษณ์ของตัวรถเองที่จะออกกระเดียดไปเป็นรถยนต์นั่งเสียแล้ว ก็ไม่เอื้ออีกเช่นกัน และต่อจากนี้ไปมิตซูบิชิคงต้องเหนื่อยหนักแน่นอน เพราะปีหน้าคู่แข่งเตรียมทยอยเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่อีกเพียบ ทั้ง นิสสัน, ฟอร์ด,มาสด้า ต้องมาดูกันว่าตลาดปราบเซียนอย่างเมืองไทย จะต้องทำให้ใครน้ำตาตกอีกบ้าง

4. เปิดตัว “ฟอร์ด โฟกัส” แต่ช้ำโดนพิษ อี20
ฟอร์ด จัดการเปิดตัวคอมแพกต์คาร์ ตัวทำตลาดรุ่นใหม่โดยใช้ชื่อว่า “โฟกัส” ซึ่งค่ายรถยักษ์ใหญ่จากเมืองลุงแซมได้ชูความเป็นนวตกรรมจากเยอรมัน เพื่อฉีกหนีภาพลักษณ์รถญี่ปุ่นที่ติดมากับมาสด้า ด้วยรูปโฉมดุดัน บึกบึนสไตล์อเมริกัน ทั้งยังคงกลิ่นไอของความเป็นฟอร์ดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยทำการเปิดตัวรุ่น 4 ประตูก่อนในเดือนตุลาคม จากนั้นในมอเตอร์ เอ็กซ์โป ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจึงทำการเปิดตัวรุ่น 5 ประตูตามมา โฟกัสมาพร้อมเครื่องยนต์ใหม่ รหัส DURATEC 1800 ซีซี 16 วาล์ว 125 แรงม้า กับ 2000 ซีซี 145 แรงม้า นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับน้ำมันเบนซินธรรมดา ไปจนถึงแก็สโซฮอล์ E10 และE20 ได้อีกด้วย ซึ่งตรงจุดนี้ฟอร์ดคาดหวังว่าการที่โฟกัส สามารถใช้ E20 ได้ จะทำให้ถูกเก็บภาษีสรรพสามิต ในอัตราพิเศษ ตามนโยบายพลังงานทางเลือกที่รัฐบาลประกาศเอาไว้
แต่พอเอาเข้าจริงๆรัฐบาลกลับทำลายฝันหวานของฟอร์ดดดยบอกว่ารัฐฯจะขาดทุนและแก๊สโซฮอล์ E20 ก็ยังไม่มีจำหน่ายในตลาด ทำให้ต้องเลื่อนโครงการนี้ไปอีก 4 ปี เป็น ปี 2552 เมื่อเจอมุขนี้เข้าไปทำเอาฟอร์ดหน้าหงาย เพราะได้ประกาศราคา และเปิดให้จองก่อนที่จะเปิดตัวเสียอีก โดยเคาะราคาเริ่มต้นเพียง 747,000 - 898,000 บาท เท่านั้น และหวังว่าการบีบราคาขนาดนี้จะสร้างยอดขายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาการที่ต้องรีบทำตลาดก่อนคู่แข่งอย่างฮอนด้า ซีวิค ที่กำลังจะเปิดตัว ปลายเดือนพฤศจิกายน
หลังจากทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ฟอร์ดจึงต้องปรับราคาขึ้นอีกประมาณ 20,000 บาท นอกจากนี้ โฟกัส ใหม่ยังต้องเจอกับกระแสเปรียบเทียบกับ ฮอนด้า ซีวิค มาโดยตลอด เมื่อต้องชนทั้งศึกหน้า-หลังขนาดนี้ต้องรอดูกันต่อไปว่าค่ายรถจากแดนมะกันจะงัดกลยุทธ์แบบใดมาสู้ศึกปีหน้า ซึ่งคาดว่าน่าจะหนักหนาสาหัสกว่านี้แน่นอน

5. อุตฯยานยนต์ชื่นมื่นFTAไทย-ญี่ปุ่นลงตัว
หลังจากเป็นประเด็นร้อน และยืดเยื้อกันมานาน ในที่รัฐบาลก็ได้ข้อยุติสำหรับข้อตกลง FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในประเด็นอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา คือไทยจะยอมลดภาษีรถยนต์สำเร็จรูปขนาด 3,000 ซีซี ขึ้นไป แต่จะเป็นไปในลักษณะขั้นบันได โดยจากเดิมที่เรียกเก็บ 80% ให้ลดเหลือ 75% จากนั้นลดเป็น 70% และ 60% ในช่วง 3 ปีแรกคือระหว่างปี 2550-2552 ตามลำดับ และจะคงภาษีไว้ที่ 60% ต่อไปในปี 2553 แล้วเมื่อถึงตอนนั้นค่อยมาเจรจากันใหม่อีกรอบ ส่วนรถยนต์สำเร็จรูปที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซี.ซี. ไทยจะยังไม่ลดภาษีให้ในตอนนี้ เพราะจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศเป็นอย่างมาก แต่จะให้มีการเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี
นอกจากนี้ด้านชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ปัจจุบันมีอัตราภาษีเกิน 20% จะลดเหลือ 20% ทันที และจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2554 สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ที่ปัจจุบันมีอัตราภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ให้คงอัตราเดิมไว้ก่อนจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2554
เมื่อได้ข้อยุติลงเช่นนี้ทำให้ในส่วนของภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่างยินดีทั่วหน้า ซึ่งในตอนแรก ทางญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีโดยยกเลิกภาษีนำเข้าทันที เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะส่งผลให้อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศ (CKD) ตายสนิท แต่เมื่อหวยออกมาแบบนี้ ก็จะทำให้มีเวลาปรับตัวรับมือกันได้ทัน รวมถึงเตรียมศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
จากข้อสรุปดังกล่าวส่งผลให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูว่าในอนาคตผลลัพธ์จริงๆ ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะที่นี่ “ดีทรอยด์ เอเชีย” ใครเข้าออกผิดประตู(นักการเมือง)ก็เตรียมพับกระเป๋ากลับบ้านได้เลย

6. มอเตอร์โชว์(สุดป่วน)
ถือว่าเป็นงานใหญ่ 1 ใน 2 งานของปี สำหรับ “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นงานโชว์รถยิ่งใหญ่ระดับประเทศ ที่มีรถยนต์จากหลากหลายค่ายใหญ่ขนรถมาร่วมโชว์กันมากมายรวมถึงรถต้นแบบด้วย โดยงานนี้ได้จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 3 เมษายน 2548 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา – ตราด
และสำหรับไฮไลต์ของงานคราวนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นรถเศรษฐีราคาแพงที่สุดอย่าง “มายบัค” ที่มีมูลค่าเกือบ 127 ล้านบาทมาพร้อมออฟชั่นรอบคัน รวมถึงรถสปอร์ตในฝันของใครหลายๆคนก็มาอวดโฉมในงานนี้เช่นเดียวกัน อาทิ ฟอร์ด มัสแตง , มิตซูบิชิ อีโวลูชั่น นอกจากนี้ก็ยังมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่มากมายไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 3 . เล็กซัส , นิสสัน เอ็กซ์-เทรล , มินิ รุ่นเปิดประทุน แลนด์โรเวอร์ ดิสคัพเวอร์รี่3
แต่ที่ทำให้งานในปีนี้แตกต่างจากปีที่ผ่านๆมานั่นก็คือ ในแต่ละวันนั้นจะมีลูกค้ามาประท้วงทุบรถ เผารถ กันแทบทุกวันของงาน โดยเฉพาะวันแรกนั้นมีมาถึง 7 รายที่มาปั่นป่วนงาน จนทั้งผู้มาชมงานและสื่อมวลชนหันไปให้ความสนใจมากกว่าตัวงานเสียอีก
แต่เมื่อรวมเวลาจัดงานแล้วยอดจองรถภายในงานก็ยังสูงถึง 10,000 กว่าคัน โดยมีเจ้าตลาดอย่างโตโยต้าครองแชมป์ ตามมาด้วย อีซูซุ และฮอนด้า แสดงถึงกำลังซื้อของคนไทยที่ยังมีมากอยู่สวนทางกับราคาน้ำมันที่ขึ้นๆลงๆกันไม่เว้นแต่ละวันทีเดียว ส่วนใครที่รอดูรถใหม่ๆนั้น บอกได้เลยว่างานปีหน้านั้นมาแน่นอน โดยเฉพาะโตโยต้า ยาริส ที่หลายคนตั้งตาคอย..

7. "มอเตอร์ เอ็กซ์โป" ไร้แม่เหล็ก ยอดจองหด
ต่อจากงานต้นปีก็คงหนีไม่พ้นงานปลายปีอย่าง มอเตอร์ เอ็กซ์โป ครั้งที่ 22 ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี งานนี้มีรถน่าสนใจอยู่หลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ฮอนด้า ซีวิค รุ่นใหม่ หรือรถต้นแบบจากสองค่ายพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” โดยเฉพาะรถปิกอัพต้นแบบ 4-TRAC ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลกในไทย ขณะที่รถหรูหรามีมาให้เลือกเพียบเฉกเช่นทุกครั้ง แม้ปีนี้สองค่ายยักษ์ใหญ่เมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู จะไม่ได้เข้าร่วมงานก็ตาม แต่หากใครนิยมรถใหม่ทำตลาดอยู่ในปัจจุบัน ก็มีแคมเปญพิเศษจูงใจให้ถอยกันสุดๆ
ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปก็มีหลายรุ่นมาแสดง แม้จะไม่มีการขายก็ตาม โดยเฉพาะค่ายเชฟโรเลตที่นำรหัสแรง 500 แรงม้า ควอเว็ต แซด06 มาให้สัมผัสอย่างใกล้ชิด รวมถึงเชฟโรเลต เอสเอสอาร์ ปิกอัพสปอร์ตเปิดประทุน 400 แรงม้า ที่เคยนำมาโชว์เมื่อปีที่แล้ว แต่คราวนี้เป็นรุ่นไมเนอร์เชนจ์ล่าสุด ขณะที่ฟอร์ดไม่น้อยหน้าส่ง จีที ซูเปอร์คาร์ มาประชันความแรงเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้นงานนี้ก็มีรถใหม่ที่น่าสนใจเพียงไม่กี่คันที่มาแรงสุดน่าจะเป็นซีวิคนั่นเอง จึงทำให้งานในปีนี้ดูเหงาหงอยกว่าปีที่ผ่านๆมา นอกจากนี้ก่อนเปิดงานยังมีข่าวออกมาว่าโตโยต้าจะมีการเปิดตัว "ยาริส" โมเดลใหม่ที่งานนี้เป็นครั้งแรก พอเอาเข้าจริงก็ไม่มีตามข่าวจึงทำให้หลายคนผิดหวัง อีกสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการที่ค่ายรถหรูยุโรปทั้งหลายพร้อมใจกันไม่มาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นเมอร์เซเดส-เบนซ์ , บีเอ็มดับเบิลยู , เฟอร์รารี่ , ลัมบอกินี ทำให้ขาดสีสันไปพอสมควร เมื่อสิ้นสุดงานจำนวนยอดจองรถจึงอยู่ที่ 17,000 กว่าคัน แน่นอนว่าโตโยต้ายังคงเข้าวินมาที่ 1 ตามด้วยอีซูซุ และฮอนด้า ทำให้ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ หัวเรือใหญ่ต้องกุมขมับอีกครั้งกับโจทย์ในปีหน้าที่ต้องดึงคนกลับมาอีกครั้ง

8. เอสคาร์รถประหยัด ความฝันที่(ไม่)เป็นจริง
เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่คนไทยได้ยินชื่อ อีโคคาร์ หรือ เอสคาร์ ซึ่งเป็นโครงการรถยนต์ขนาดเล็ก ที่จะให้ความประหยัดทั้งทางด้านราคาและการประหยัดน้ำมัน และคนไทยต่างรอคอยว่าเมื่อไหร่ทางรัฐบาลจะเร่งสนับสนุนโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อจะมีรถที่ราคาไม่แพงสามารถจับจองเป็นเจ้าของได้โดยไม่ลำบากนัก แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายจะเป็นเพียงนโยบายกระดาษเพราะไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรีอุตสาหกรรมท่านใดมาดูแล ก็เหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีการรื้อสเปกรถในโครงการดังกล่าวอีกหลายครั้งเพื่อให้ตรงสเปกของโปรดักท์ค่ายรถยักษ์ใหญ่ จนหลายฝ่ายมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับค่ายรถบางค่ายหรือเปล่า เนื่องจากบางค่ายยังไม่มีความพร้อมเรื่องของการผลิต
ซึ่งนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ยังได้กล่าวย้ำว่า“โครงการเอสคาร์ไม่เกิดขึ้น ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการรถยนต์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ และย้ายฐานเข้ามาผลิตที่ไทยมากขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถในไทยมากกว่า”
นี่คงจะเป็นบทสรุปของโครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า อีโคคาร์ หรือเอสคาร์ (ACEs Car) ซึ่งคณะทำงานกำหนดยุทธ์ศาสตร์ยานยนต์ไทย ภายใต้การทำงานของสถาบันยานยนต์ ได้พยายามปลุกปั้นมาตลอดช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นโปรดักส์แชมป์เปี้ยนอีกตัวคู่กับปิกอัพ
ดังนั้นเมื่อเอสคาร์ถูกพับเก็บเข้าลิ้นชัก พร้อมกับลั่นดานกุญแจไว้ จึงน่าจับตามองว่า.....ทิศทางของตลาดรถยนต์นั่ง หรือเก๋งในเมืองไทยต่อไป จะเป็นรถประเภทไหน? ที่จะขึ้นมาเป็นธงนำของค่ายรถยนต์ในไทย

9. ภูมิใจอุตฯยานยนต์ไทยผลิตรถ 1 ล้านคัน
ในปี 2548 ถือเป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เนื่องจากในปีดังกล่าวเป็นปีที่การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยนั้นสามารถผลิตรถออกสู่ตลาดในประเทศและต่างประเทศครบ 1 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศและเป็นอีกก้าวหนึ่งของการที่ไทยจะก้าวสู่การเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเซีย” ตามเป้าหมายของรัฐบาล
อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยสร้างรายได้ 1 ใน 3 ของการส่งออกของประเทศ และที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการยานยนต์ไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีศักยภาพการผลิตเทียบเท่ากับต่างประเทศ เช่น การพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างภาษียานยนต์ทั้งระบบ และนับเป็นที่น่ายินดีว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจะสามารถผลิตรถยนต์เกิน 1 ล้านคัน
โดยในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดจำหน่ายในประเทศ 700,000 คัน และสามารถส่งออกได้ถึง 450,000 คัน โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 330,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสถิติสูงมากและถือเป็นอันดับ 14 ของประเทศผู้ผลิตและเป็นอันดับที่ 7 ของโลกที่สามารถส่งออกได้สูง ซึ่งในปี 2549 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ทุกยี่ห้อในประเทศไทยได้ถึง 1.2 ล้านคัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ถึง 550,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่าเกิน 500,000 ล้านบาท
นอกจากนั้นเป้าหมายในระยะยาวรัฐบาลและผู้ประกอบรถยนต์ต่างตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 5 ปี หรือในปี 2553ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะพุ่งสูงถึง 2 ล้านคัน เพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่คาดการณ์ไว้ 1.8 ล้านคัน และคาดว่าน่าจะเพิ่มมูลค่าส่งออกได้กว่า 700,000 ล้านบาท

10. น้ำมันพุ่งตลาดเก๋งหงอย กระบะโต
จากการปรับตัวของราคาน้ำมันเบนซินที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์นั่งอย่างชัดเจน โดยจะเห็นได้จากตัวเลขยอดการผลิตและยอดขายรถยนต์นั่ง นั้นมีอัตราเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สาเหตุมาจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นโดยไม่รู้ว่าจะทรงตัวเมื่อไหร่นั้น ส่งผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค ในการตัดสินใจที่จะซื้อรถใหม่ อีกทั้งในปี 2548 นั้นโปรดักส์ของรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆมีเพียงไม่กี่รุ่นที่เปิดจำหน่ายสู่ตลาด และส่วนใหญ่แผนการเปิดตัวนั้นจะอยู่ในช่วงปลายปี โดยเฉพาะ ฟอร์ด โฟกัส และฮอนด้า ซีวิคใหม่ ที่ผู้บริโภคต่างตั้งหน้าตั้งตารอยลโฉมตัวจริง เสียงจริง จึงเป็นเหตุให้การเติบโตของรถยนต์นั่งนั้นตกลงไป
ส่วนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็คือตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นอานิสงก์มาจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ในช่วงแรกทางภาครัฐยังไม่ประกาศปล่อยราคาลอยตัวเหมือนน้ำมันเบนซิน จึงทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อรถใหม่และไม่ได้เจาะจงต้องเป็นรถยนต์นั่งเท่านั้น หันมามองรถกระบะมากยิ่งขึ้นเพราะมีความประหยัดในเรื่องของการใช้งาน รวมถึงราคาน้ำมันดีเซลก็ต่ำกว่า จึงมีกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มเลือกที่จะใช้รถกระบะ อีกทั้งในปีที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ค่ายยักษ์ใหญ่ต่างทุ่มแคมเปญส่งเสริมการขายกันอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวรถกระบะใหม่ มิตซูบิชิ ไทรทัน จึงทำให้ตลาดกระบะยิ่งระอุมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาจึงส่งผลให้ปีนี้ ตลาดรถนั่งจึงค่อนข้างที่จะเงียบกว่าตลาดรถกระบะ โดยตลาดรถกระบะจะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 68 % ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งมีแค่ 32% ซึ่งในปัจจุบันนั้นราคาน้ำมันดีเซลทางภาครัฐได้ประกาศลอยตัวแล้ว และมีอัตราที่แพงสูงขึ้นใกล้เคียงกับรถยนต์นั่ง จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า ในปี 2549 นี้สัดส่วนตลาดจะเป็นอย่างไร เพราะรถใหม่ในปีหน้า ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะต่างมีแผนเปิดตัวโมเดลใหม่กันอีกหลายรุ่น
นอกจากนี้ปีไก่ก็ยังมีรถโมเดลใหม่ๆออกมาหลายแบรนด์ แต่ที่เด็ดสุดคงหนีไม่พ้น ฮอนด้า ซีวิค ที่ถือว่ากลับมากู้หน้าให้บริษัทอีกครั้งหลังโดนพายุครั้งใหญ่กระหน่ำไปตอนต้นปี ในปีนี้เช่นเดียวกันก็ยังข่าวเรื่องยอดส่งออกและยอดการผลิตที่สูงกว่าปีที่ผ่านๆมา สรุปแล้วปีนี้ถือว่าเป็นปีที่คึกคักของวงการรถยนต์บ้านเราทีเดียว ส่วนปีหน้าก็ต้องมารอดูว่าค่ายไหนจะทำคะแนนได้ดีกว่ากัน?
1. ย้อยรอยทุบรถ - เผารถ : เมื่อผู้บริโภคเอาจริง
เชื่อว่าถึงแม่จะผ่านไปกี่ปี คงไม่มีใครลืมเลือนข่าวนี้ไปได้ เพราะการเรียกร้องให้บริษัทรถแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีของคุณเดือนเพ็ญ ที่ออกมาทุบรถ "ฮอนด้า ซีอาร์-วี" ประจานความชุ่ยของการประกอบชิ้นส่วนที่ทำให้รถป้ายแดงของเธอต้องเข้าศูนย์ซ่อมไปหลายครั้งในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น โดยตอนแรกนั้นบริษัทยืนยันไม่ยอมเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ ทำให้วงการรถยนต์บ้านเราตื่นตัวต่อการเรียกร้องของผู้บริโภคกันเป็นแถว ออกโปรโมชั่นการดูแลหลังการขายกันถ้วนหน้า รวมถึงงานนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ได้แจ้งเกิดในเป็นกาวใจระหว่างสองฝ่าย แต่ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายไปมากกว่านี้ก็ได้ข้อสรุปออกมาโดยที่ฮอนด้ายอมซื้อรถเจ้าปัญหาคืนมา และสาวใจเด็ดเดือนเพ็ญก็ไปถอยรถคันใหม่ของเจ้าอื่นแทน
หลังจากนั้นก็ทำให้กระแสเรียกร้องของผู้บริโภคที่ "ผิดหวัง" กับปัญหาของรถตัวเองออกมา "ทุบรถ" และบางคนถึงกับ "เผารถ" กันเลยทีเดียว รวมทั้งยังมีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องขึ้นมากันมากมาย โดยเฉพาะงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาก็กลายเป็นเวทีให้ผู้บริโภคออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจากค่ายรถกันเป็นแถวไม่เว้นแต่ละวันของงาน นี่ยังไม่รวมถึงอีกสารพัดปัญหารถที่มีออกมาตลอดปี ทำให้หลายค่ายนั้นหนาวๆร้อนๆกันเป็นแถวเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ค่ายของตัวเองจะต้องขึ้นหน้าหนึ่งอีก
กระทั่งทางรัฐออกมาแก้ปัญหานี้โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพยานยนต์ ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) หลังเหตุการณ์ทุบรถต่อเนื่อง เพื่อเป็นสื่อกลางรับปัญหาลูกค้าแจ้งผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายรถและสถาบันยานยนต์ ก่อนนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพยานยนต์นี้ตั้งอยู่ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ Call Center. (02) 202-2301-4 หรือที่เว็บไซต์ WWW.TISI.GO.TH.
2. "ซีวิค" ใหม่!! แรงตั้งแต่ยังไม่เปิดตัว
ปีที่ผ่านมาตลาดเก๋งขนาดกลาง หรือคอมแพ็กต์คาร์ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองในตลาดรถยนต์ไทย ยังนิ่งสนิทไม่มีอะไรออกมาสร้างสีสัน นอกจากมาสด้า 3 เป็นยี่ห้อเดียวที่เปิดตัวโมเดลใหม่ออกมา ทำให้การแข่งขันในปีที่แล้วขาดความร้อนแรง จนแทบไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นเลย แต่แล้วตลาดรถนั่งขนาดกลางกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อฮอนด้าประกาศว่าจะเปิดตัว ฮฮนด้า ซีวิค โฉมใหม่ซึ่งเป็นเจนเนเรชั่นที่ 8 ของตระกูล
กระแสความสนใจต่อฮอนด้า ซีวิคใหม่ โมเดลเชนจ์ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในบ้านเราเท่านั้น แต่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอีกตลาดหลักของคอมแพ็กต์ซีดานรุ่นนี้ คนที่นั่นก็ติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหว กันตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงนี้ซึ่งใกล้จะมีการเปิดตัวในเมืองลุงแซม
และแล้วซีวิคก็ได้กฤษ์เปิดตัวไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาด้วยราคาที่ผลิกโผหักปากกาบรรดาเซียนทั้งหลายที่เคาะไว้ก่อนหน้านี้ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 7.63 แสนบาท ซีวิค ใหม่ ได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์แข็งแกร่ง โฉบเฉี่ยวแบบรถสปอร์ต พร้อมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ระบบกันสะเทือนใหม่ เครื่องยนต์และระบบเกียร์พัฒนาใหม่ และห้องโดยสารกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ยังเพียบพร้อมด้วยระบบความปลอดภัยระดับแนวหน้า ซึ่งรวมถึงระบบช่วยควบคุมการทรงตัว VSA (Vehicle Stability Assist) ที่ช่วยยึดเกาะถนนให้การทรงตัวดีเยี่ยมในขณะเลี้ยวรถ
งานนี้ฮอนด้าเทหมดหน้าตักถึง 100 ล้านเตรียมดันซีวิคสุดตัว เพราะก่อนหน้านี้ถือว่าบอบช้ำมาเยอะตั้งแต่ช่วงต้นปี ฮิโรชิ โทดะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า "เราเชื่อว่าซีวิคใหม่นี้จะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของฮอนด้า ในกลุ่มรถขนาดคอมแพ็กต์เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 30% หรือช่วยผลักดันยอดขายของฮอนด้าโดยรวม เพิ่มขึ้นในปีหน้า 15% จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.0-6.5 หมื่นคัน”
งานนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า "ซีวิค" จะมาช่วยให้ฝันของฮอนด้าเป็นจริงได้ไหม?
3. ไทรทันเปิดตัวอลังการแต่ยอดไม่พุ่ง
หลักจากตกอยู่ในกระแสตั้งแต่ต้นปี มีนักเลงรถต่างนับวันรอวันเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ของมิตซูบิชิ จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค่ายตราเพชรได้จัดการเปิดตัว ปิกอัพรุ่นล่าสุดครั้งแรกในโลกที่เมืองไทย นามว่า “ไทรทัน” โดยมาพร้อม สโลแกนสุดเท่ห์ “อารยธรรมใหม่แห่งรถกระบะ” ด้วยรูปทรงแปลกใหม่ รูปลักษณ์ที่กระฉากความเป็นปิกอัพสไตล์เดิมๆ รวมถึงการตกแต่งภายในแบบสปอร์ต ทั้งยังใส่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาให้อย่างครบครัน ซึ่งยังไม่เคยมีค่ายไหนให้มากขนาดนี้มาก่อน
ประกอบกับการวางขุมพลังใหม่ เครื่องยนต์ ไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ 3.2 ลิตร 165 แรงม้าซึ่งนับว่าเป็นเครื่องยนต์รถปิกอัพที่แรงสุดในตลาด นอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์เดิม ไดเรกอินเจกชัน 2.5 ลิตร 90 แรงม้า และไฮเปอร์คอมมอนเรล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ 2.5 ลิตร 140 แรงม้า ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้วย โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 548,000-898,000 บาท
ซึ่งอารยธรรมใหม่ของรถกระบะนี้เอง อาจจะเป็นปัจจัยที่ฉุดให้ยอดรถไทรทันไม่สวยงามเหมือนกับที่ถูกตั้งความหวังในตอนแรก ด้วยยอด 10,322 คันหลังจากการเปิดตัวได้เพียง 4 วัน แต่หลังจากนั้นต้องบอกว่าเงียบจนน่าใจหาย ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากการวางแผนการตลาดแบบแหวกแนว โดยกล้าเปิดตัวโมเดลใหม่ ในช่วงที่มีปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลถึงกำลังซื้อ และภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา
รวมถึงความกล้าที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือเป็นช่วงนอกฤดูการขายที่ชาวบ้านเขาไม่นิยมทำกัน แต่ด้วยความเชื่อมั่นในตัวโปรดักส์ ว่ามีความสดใหม่ ทั้งยังไม่มีคู่แข่งเปิดตัวรุ่นใหม่สู่ตลาด ทำให้ มิตซูบิชิ กล้าที่จะลองในจุดนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าบ้านเราที่ตลาดรถปิกอัพมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 60% โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังใช้รถปิกอัพเพื่อการใช้งานจริงอยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่าเพราะแผนการตลาดที่ไม่โดนใจกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาพลักษณ์ของตัวรถเองที่จะออกกระเดียดไปเป็นรถยนต์นั่งเสียแล้ว ก็ไม่เอื้ออีกเช่นกัน และต่อจากนี้ไปมิตซูบิชิคงต้องเหนื่อยหนักแน่นอน เพราะปีหน้าคู่แข่งเตรียมทยอยเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่อีกเพียบ ทั้ง นิสสัน, ฟอร์ด,มาสด้า ต้องมาดูกันว่าตลาดปราบเซียนอย่างเมืองไทย จะต้องทำให้ใครน้ำตาตกอีกบ้าง
4. เปิดตัว “ฟอร์ด โฟกัส” แต่ช้ำโดนพิษ อี20
ฟอร์ด จัดการเปิดตัวคอมแพกต์คาร์ ตัวทำตลาดรุ่นใหม่โดยใช้ชื่อว่า “โฟกัส” ซึ่งค่ายรถยักษ์ใหญ่จากเมืองลุงแซมได้ชูความเป็นนวตกรรมจากเยอรมัน เพื่อฉีกหนีภาพลักษณ์รถญี่ปุ่นที่ติดมากับมาสด้า ด้วยรูปโฉมดุดัน บึกบึนสไตล์อเมริกัน ทั้งยังคงกลิ่นไอของความเป็นฟอร์ดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยทำการเปิดตัวรุ่น 4 ประตูก่อนในเดือนตุลาคม จากนั้นในมอเตอร์ เอ็กซ์โป ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจึงทำการเปิดตัวรุ่น 5 ประตูตามมา โฟกัสมาพร้อมเครื่องยนต์ใหม่ รหัส DURATEC 1800 ซีซี 16 วาล์ว 125 แรงม้า กับ 2000 ซีซี 145 แรงม้า นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับน้ำมันเบนซินธรรมดา ไปจนถึงแก็สโซฮอล์ E10 และE20 ได้อีกด้วย ซึ่งตรงจุดนี้ฟอร์ดคาดหวังว่าการที่โฟกัส สามารถใช้ E20 ได้ จะทำให้ถูกเก็บภาษีสรรพสามิต ในอัตราพิเศษ ตามนโยบายพลังงานทางเลือกที่รัฐบาลประกาศเอาไว้
แต่พอเอาเข้าจริงๆรัฐบาลกลับทำลายฝันหวานของฟอร์ดดดยบอกว่ารัฐฯจะขาดทุนและแก๊สโซฮอล์ E20 ก็ยังไม่มีจำหน่ายในตลาด ทำให้ต้องเลื่อนโครงการนี้ไปอีก 4 ปี เป็น ปี 2552 เมื่อเจอมุขนี้เข้าไปทำเอาฟอร์ดหน้าหงาย เพราะได้ประกาศราคา และเปิดให้จองก่อนที่จะเปิดตัวเสียอีก โดยเคาะราคาเริ่มต้นเพียง 747,000 - 898,000 บาท เท่านั้น และหวังว่าการบีบราคาขนาดนี้จะสร้างยอดขายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาการที่ต้องรีบทำตลาดก่อนคู่แข่งอย่างฮอนด้า ซีวิค ที่กำลังจะเปิดตัว ปลายเดือนพฤศจิกายน
หลังจากทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ฟอร์ดจึงต้องปรับราคาขึ้นอีกประมาณ 20,000 บาท นอกจากนี้ โฟกัส ใหม่ยังต้องเจอกับกระแสเปรียบเทียบกับ ฮอนด้า ซีวิค มาโดยตลอด เมื่อต้องชนทั้งศึกหน้า-หลังขนาดนี้ต้องรอดูกันต่อไปว่าค่ายรถจากแดนมะกันจะงัดกลยุทธ์แบบใดมาสู้ศึกปีหน้า ซึ่งคาดว่าน่าจะหนักหนาสาหัสกว่านี้แน่นอน
5. อุตฯยานยนต์ชื่นมื่นFTAไทย-ญี่ปุ่นลงตัว
หลังจากเป็นประเด็นร้อน และยืดเยื้อกันมานาน ในที่รัฐบาลก็ได้ข้อยุติสำหรับข้อตกลง FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในประเด็นอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา คือไทยจะยอมลดภาษีรถยนต์สำเร็จรูปขนาด 3,000 ซีซี ขึ้นไป แต่จะเป็นไปในลักษณะขั้นบันได โดยจากเดิมที่เรียกเก็บ 80% ให้ลดเหลือ 75% จากนั้นลดเป็น 70% และ 60% ในช่วง 3 ปีแรกคือระหว่างปี 2550-2552 ตามลำดับ และจะคงภาษีไว้ที่ 60% ต่อไปในปี 2553 แล้วเมื่อถึงตอนนั้นค่อยมาเจรจากันใหม่อีกรอบ ส่วนรถยนต์สำเร็จรูปที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซี.ซี. ไทยจะยังไม่ลดภาษีให้ในตอนนี้ เพราะจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศเป็นอย่างมาก แต่จะให้มีการเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี
นอกจากนี้ด้านชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ปัจจุบันมีอัตราภาษีเกิน 20% จะลดเหลือ 20% ทันที และจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2554 สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ที่ปัจจุบันมีอัตราภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ให้คงอัตราเดิมไว้ก่อนจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2554
เมื่อได้ข้อยุติลงเช่นนี้ทำให้ในส่วนของภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่างยินดีทั่วหน้า ซึ่งในตอนแรก ทางญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีโดยยกเลิกภาษีนำเข้าทันที เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะส่งผลให้อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศ (CKD) ตายสนิท แต่เมื่อหวยออกมาแบบนี้ ก็จะทำให้มีเวลาปรับตัวรับมือกันได้ทัน รวมถึงเตรียมศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
จากข้อสรุปดังกล่าวส่งผลให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูว่าในอนาคตผลลัพธ์จริงๆ ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะที่นี่ “ดีทรอยด์ เอเชีย” ใครเข้าออกผิดประตู(นักการเมือง)ก็เตรียมพับกระเป๋ากลับบ้านได้เลย
6. มอเตอร์โชว์(สุดป่วน)
ถือว่าเป็นงานใหญ่ 1 ใน 2 งานของปี สำหรับ “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ครั้งที่ 26 ซึ่งเป็นงานโชว์รถยิ่งใหญ่ระดับประเทศ ที่มีรถยนต์จากหลากหลายค่ายใหญ่ขนรถมาร่วมโชว์กันมากมายรวมถึงรถต้นแบบด้วย โดยงานนี้ได้จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 3 เมษายน 2548 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา – ตราด
และสำหรับไฮไลต์ของงานคราวนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นรถเศรษฐีราคาแพงที่สุดอย่าง “มายบัค” ที่มีมูลค่าเกือบ 127 ล้านบาทมาพร้อมออฟชั่นรอบคัน รวมถึงรถสปอร์ตในฝันของใครหลายๆคนก็มาอวดโฉมในงานนี้เช่นเดียวกัน อาทิ ฟอร์ด มัสแตง , มิตซูบิชิ อีโวลูชั่น นอกจากนี้ก็ยังมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่มากมายไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 3 . เล็กซัส , นิสสัน เอ็กซ์-เทรล , มินิ รุ่นเปิดประทุน แลนด์โรเวอร์ ดิสคัพเวอร์รี่3
แต่ที่ทำให้งานในปีนี้แตกต่างจากปีที่ผ่านๆมานั่นก็คือ ในแต่ละวันนั้นจะมีลูกค้ามาประท้วงทุบรถ เผารถ กันแทบทุกวันของงาน โดยเฉพาะวันแรกนั้นมีมาถึง 7 รายที่มาปั่นป่วนงาน จนทั้งผู้มาชมงานและสื่อมวลชนหันไปให้ความสนใจมากกว่าตัวงานเสียอีก
แต่เมื่อรวมเวลาจัดงานแล้วยอดจองรถภายในงานก็ยังสูงถึง 10,000 กว่าคัน โดยมีเจ้าตลาดอย่างโตโยต้าครองแชมป์ ตามมาด้วย อีซูซุ และฮอนด้า แสดงถึงกำลังซื้อของคนไทยที่ยังมีมากอยู่สวนทางกับราคาน้ำมันที่ขึ้นๆลงๆกันไม่เว้นแต่ละวันทีเดียว ส่วนใครที่รอดูรถใหม่ๆนั้น บอกได้เลยว่างานปีหน้านั้นมาแน่นอน โดยเฉพาะโตโยต้า ยาริส ที่หลายคนตั้งตาคอย..
7. "มอเตอร์ เอ็กซ์โป" ไร้แม่เหล็ก ยอดจองหด
ต่อจากงานต้นปีก็คงหนีไม่พ้นงานปลายปีอย่าง มอเตอร์ เอ็กซ์โป ครั้งที่ 22 ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี งานนี้มีรถน่าสนใจอยู่หลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ฮอนด้า ซีวิค รุ่นใหม่ หรือรถต้นแบบจากสองค่ายพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” โดยเฉพาะรถปิกอัพต้นแบบ 4-TRAC ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลกในไทย ขณะที่รถหรูหรามีมาให้เลือกเพียบเฉกเช่นทุกครั้ง แม้ปีนี้สองค่ายยักษ์ใหญ่เมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู จะไม่ได้เข้าร่วมงานก็ตาม แต่หากใครนิยมรถใหม่ทำตลาดอยู่ในปัจจุบัน ก็มีแคมเปญพิเศษจูงใจให้ถอยกันสุดๆ
ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปก็มีหลายรุ่นมาแสดง แม้จะไม่มีการขายก็ตาม โดยเฉพาะค่ายเชฟโรเลตที่นำรหัสแรง 500 แรงม้า ควอเว็ต แซด06 มาให้สัมผัสอย่างใกล้ชิด รวมถึงเชฟโรเลต เอสเอสอาร์ ปิกอัพสปอร์ตเปิดประทุน 400 แรงม้า ที่เคยนำมาโชว์เมื่อปีที่แล้ว แต่คราวนี้เป็นรุ่นไมเนอร์เชนจ์ล่าสุด ขณะที่ฟอร์ดไม่น้อยหน้าส่ง จีที ซูเปอร์คาร์ มาประชันความแรงเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้นงานนี้ก็มีรถใหม่ที่น่าสนใจเพียงไม่กี่คันที่มาแรงสุดน่าจะเป็นซีวิคนั่นเอง จึงทำให้งานในปีนี้ดูเหงาหงอยกว่าปีที่ผ่านๆมา นอกจากนี้ก่อนเปิดงานยังมีข่าวออกมาว่าโตโยต้าจะมีการเปิดตัว "ยาริส" โมเดลใหม่ที่งานนี้เป็นครั้งแรก พอเอาเข้าจริงก็ไม่มีตามข่าวจึงทำให้หลายคนผิดหวัง อีกสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการที่ค่ายรถหรูยุโรปทั้งหลายพร้อมใจกันไม่มาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นเมอร์เซเดส-เบนซ์ , บีเอ็มดับเบิลยู , เฟอร์รารี่ , ลัมบอกินี ทำให้ขาดสีสันไปพอสมควร เมื่อสิ้นสุดงานจำนวนยอดจองรถจึงอยู่ที่ 17,000 กว่าคัน แน่นอนว่าโตโยต้ายังคงเข้าวินมาที่ 1 ตามด้วยอีซูซุ และฮอนด้า ทำให้ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ หัวเรือใหญ่ต้องกุมขมับอีกครั้งกับโจทย์ในปีหน้าที่ต้องดึงคนกลับมาอีกครั้ง
8. เอสคาร์รถประหยัด ความฝันที่(ไม่)เป็นจริง
เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่คนไทยได้ยินชื่อ อีโคคาร์ หรือ เอสคาร์ ซึ่งเป็นโครงการรถยนต์ขนาดเล็ก ที่จะให้ความประหยัดทั้งทางด้านราคาและการประหยัดน้ำมัน และคนไทยต่างรอคอยว่าเมื่อไหร่ทางรัฐบาลจะเร่งสนับสนุนโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อจะมีรถที่ราคาไม่แพงสามารถจับจองเป็นเจ้าของได้โดยไม่ลำบากนัก แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายจะเป็นเพียงนโยบายกระดาษเพราะไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรีอุตสาหกรรมท่านใดมาดูแล ก็เหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีการรื้อสเปกรถในโครงการดังกล่าวอีกหลายครั้งเพื่อให้ตรงสเปกของโปรดักท์ค่ายรถยักษ์ใหญ่ จนหลายฝ่ายมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับค่ายรถบางค่ายหรือเปล่า เนื่องจากบางค่ายยังไม่มีความพร้อมเรื่องของการผลิต
ซึ่งนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ยังได้กล่าวย้ำว่า“โครงการเอสคาร์ไม่เกิดขึ้น ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการรถยนต์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ และย้ายฐานเข้ามาผลิตที่ไทยมากขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถในไทยมากกว่า”
นี่คงจะเป็นบทสรุปของโครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า อีโคคาร์ หรือเอสคาร์ (ACEs Car) ซึ่งคณะทำงานกำหนดยุทธ์ศาสตร์ยานยนต์ไทย ภายใต้การทำงานของสถาบันยานยนต์ ได้พยายามปลุกปั้นมาตลอดช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นโปรดักส์แชมป์เปี้ยนอีกตัวคู่กับปิกอัพ
ดังนั้นเมื่อเอสคาร์ถูกพับเก็บเข้าลิ้นชัก พร้อมกับลั่นดานกุญแจไว้ จึงน่าจับตามองว่า.....ทิศทางของตลาดรถยนต์นั่ง หรือเก๋งในเมืองไทยต่อไป จะเป็นรถประเภทไหน? ที่จะขึ้นมาเป็นธงนำของค่ายรถยนต์ในไทย
9. ภูมิใจอุตฯยานยนต์ไทยผลิตรถ 1 ล้านคัน
ในปี 2548 ถือเป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เนื่องจากในปีดังกล่าวเป็นปีที่การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยนั้นสามารถผลิตรถออกสู่ตลาดในประเทศและต่างประเทศครบ 1 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศและเป็นอีกก้าวหนึ่งของการที่ไทยจะก้าวสู่การเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเซีย” ตามเป้าหมายของรัฐบาล
อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยสร้างรายได้ 1 ใน 3 ของการส่งออกของประเทศ และที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการยานยนต์ไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีศักยภาพการผลิตเทียบเท่ากับต่างประเทศ เช่น การพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างภาษียานยนต์ทั้งระบบ และนับเป็นที่น่ายินดีว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจะสามารถผลิตรถยนต์เกิน 1 ล้านคัน
โดยในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นยอดจำหน่ายในประเทศ 700,000 คัน และสามารถส่งออกได้ถึง 450,000 คัน โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 330,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสถิติสูงมากและถือเป็นอันดับ 14 ของประเทศผู้ผลิตและเป็นอันดับที่ 7 ของโลกที่สามารถส่งออกได้สูง ซึ่งในปี 2549 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ทุกยี่ห้อในประเทศไทยได้ถึง 1.2 ล้านคัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ถึง 550,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่าเกิน 500,000 ล้านบาท
นอกจากนั้นเป้าหมายในระยะยาวรัฐบาลและผู้ประกอบรถยนต์ต่างตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 5 ปี หรือในปี 2553ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะพุ่งสูงถึง 2 ล้านคัน เพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่คาดการณ์ไว้ 1.8 ล้านคัน และคาดว่าน่าจะเพิ่มมูลค่าส่งออกได้กว่า 700,000 ล้านบาท
10. น้ำมันพุ่งตลาดเก๋งหงอย กระบะโต
จากการปรับตัวของราคาน้ำมันเบนซินที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์นั่งอย่างชัดเจน โดยจะเห็นได้จากตัวเลขยอดการผลิตและยอดขายรถยนต์นั่ง นั้นมีอัตราเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สาเหตุมาจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นโดยไม่รู้ว่าจะทรงตัวเมื่อไหร่นั้น ส่งผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค ในการตัดสินใจที่จะซื้อรถใหม่ อีกทั้งในปี 2548 นั้นโปรดักส์ของรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆมีเพียงไม่กี่รุ่นที่เปิดจำหน่ายสู่ตลาด และส่วนใหญ่แผนการเปิดตัวนั้นจะอยู่ในช่วงปลายปี โดยเฉพาะ ฟอร์ด โฟกัส และฮอนด้า ซีวิคใหม่ ที่ผู้บริโภคต่างตั้งหน้าตั้งตารอยลโฉมตัวจริง เสียงจริง จึงเป็นเหตุให้การเติบโตของรถยนต์นั่งนั้นตกลงไป
ส่วนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็คือตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นอานิสงก์มาจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ในช่วงแรกทางภาครัฐยังไม่ประกาศปล่อยราคาลอยตัวเหมือนน้ำมันเบนซิน จึงทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อรถใหม่และไม่ได้เจาะจงต้องเป็นรถยนต์นั่งเท่านั้น หันมามองรถกระบะมากยิ่งขึ้นเพราะมีความประหยัดในเรื่องของการใช้งาน รวมถึงราคาน้ำมันดีเซลก็ต่ำกว่า จึงมีกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มเลือกที่จะใช้รถกระบะ อีกทั้งในปีที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ค่ายยักษ์ใหญ่ต่างทุ่มแคมเปญส่งเสริมการขายกันอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวรถกระบะใหม่ มิตซูบิชิ ไทรทัน จึงทำให้ตลาดกระบะยิ่งระอุมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาจึงส่งผลให้ปีนี้ ตลาดรถนั่งจึงค่อนข้างที่จะเงียบกว่าตลาดรถกระบะ โดยตลาดรถกระบะจะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 68 % ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งมีแค่ 32% ซึ่งในปัจจุบันนั้นราคาน้ำมันดีเซลทางภาครัฐได้ประกาศลอยตัวแล้ว และมีอัตราที่แพงสูงขึ้นใกล้เคียงกับรถยนต์นั่ง จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า ในปี 2549 นี้สัดส่วนตลาดจะเป็นอย่างไร เพราะรถใหม่ในปีหน้า ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะต่างมีแผนเปิดตัวโมเดลใหม่กันอีกหลายรุ่น