“ทนสุด แรงสุด ประหยัดสุด” คือคำนิยามของเครื่องยนต์ใหม่ที่จะวางใน มิตซูบิชิ ไทรทัน ปิคอัพรุ่นล่าสุดที่จะมาทำตลาดแทน เอล 200 สตราด้า ด้วยแนวคิด “อารยธรรมใหม่แห่งพลัง” มิตซูบิชิจึงพัฒนารถยนต์เพื่อให้รองรับกับความต้องการของคนทั้งโลก ซึ่งต้องการเครื่องยนต์ที่ทนทานและเหมาะกับการใช้งานในทุกสภาพถนน รวมไปถึงความแรงและความประหยัดน้ำมัน จึงกลายเป็นคำตอบสุดท้ายกับ เครื่องยนต์ ไฮเปอร์ คอมมอนเรล

เครื่องยนต์ดีเซล DI-D Hyper Common Rail เป็นเจนเนอเรชั่นล่าสุดจากมิตซูบิชิ ที่ถูกพัฒนามาจากเครื่องยนต์ใน มิตซูบิชิ ปาเจ-โร และถ่ายทอดมาเป็นเครื่องยนต์ 4M41 รุ่นที่วางลงในมิตซูบิชิ แรลลี่ ทรัค อีโวลูชั่น ( Mitsubishi RTE) ซึ่งได้ส่งไปแข่งใน แรลลี่ ดาการ์ รายการที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหดอยู่แล้ว เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ จึงนำมาสู่การพัฒนาในขั้นสุดท้าย คือการผสานการทำงานของเครื่องยนต์ร่วมกับระบบหัวฉีดน้ำมันแรงดันสูง ไฮเปอร์ คอมมอน เรล (Hyper Common rail)
เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ ไฮเปอร์ คอมมอนเรล
ไฮเปอร์ คอมมอน เรล ต้นแบบระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงแบบใหม่ โดยในปั๊มน้ำมันแรงดันสูง (Supply Pump) ออกแบบให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันที่ความแรงสูงสุดถึง 180 เมกะปาสคาล (MPa) พร้อมยังควบคุมการทำงานของหัวฉีดด้วยคอมพิวเตอร์ขนาด 32 บิท เพิ่มกำลังเครื่องยนต์สู่การเผาไหม้ที่หมดจดเต็มประสิทธิภาพ

หัวลูกสูบใหม่ (Deep Ball Type) การออกแบบหัวลูกสูบ โดยพัฒนาโครงสร้างของลูกสูบจากรุ่นเดิมเป็นลักษณะห้องเผาไหม้บนหัวลูกสูบ ออกแบบให้มีลักษณะโค้งมนภายใน เพื่อให้อากาศและน้ำมันผสมกันได้ดีที่สุด และผิวด้านนอกของลูกสูบยังเคลือบด้วยกราไฟท์ (Graphite Coating) ป้องกันการขยายตัวของลูกสูบซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องยนต์มิตซูบิชิ
กระเดื่องวาล์วอัจฉริยะ (Roller Rocker Arms) เอกสิทธิ์เฉพาะของมิตซูบิชิที่มีการทำงานด้วยระบบลูกปืนหมุนวนซึ่งช่วยลดการเสียดสี ลดการสึกหรอและความร้อนระหว่างเพลาลูกเบี้ยวกับวาล์ว ช่วยให้เครื่องยนต์ลื่น มีอัตราเร่งของเครื่องยนต์ดีกว่า

กำลังอัดสูงสุด ครั้งแรกในวงการกระบะ Twin Manifold (DOHC 16 วาล์ว) ระบบหมุนเวียนอากาศ 2 ทิศทาง ระบบการควบคุมการปิดวาล์วแบบ DOHC (Double Overhead) 4 วาล์ว ต่อ 1 สูบ คือมีวาล์วไอดี 2 ตัว และวาล์วไอเสีย 2 ตัว ช่วยให้ไอดีไหลเข้าห้องเผาไหม้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มวลอากาศมากกว่า เพื่อการจุดระเบิดที่ทรงพลังกำลังอัดสูงสุด รวมทั้งคายไอเสียออกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้เครื่องยนต์มีกำลังต่อเนื่อง ทั้งในความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำ และรอบเครื่องยนต์สูง

เทอร์โบชาร์จ อินเตอร์คูลเลอร์ด้านหน้า ระบบการไหลเวียนอากาศที่ดีในทุกจังหวะเครื่องยนต์ จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะช่วยให้เครื่องยนต์รีดพลังออกมาให้ได้มากที่สุด ระบบเทอร์โบ-ชาร์จแบบใบพัดคู่ช่วยให้การอัดไอดีมีปริมาณมากและเร็วขึ้น สามารถอัดอากาศได้เร็วกว่าในรอบต่ำ ทำงานร่วมกับระบบอินเตอร์คูลเลอร์ด้านหน้า ช่วยให้การไหลเวียนอากาศเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์ง่ายดายกว่าอินเตอร์คูลเลอร์ด้านบน และการระบายความร้อนของอากาศ ส่งผลให้มวลอากาศก่อนเข้าสู่กระบอกสูบมีความหนาแน่นของไอดีมากขึ้น เป็นผลให้เครื่องยนต์มีกำลังขึ้น

เครื่องยนต์ใน มิตซูบิชิ ไทรทัน มี 4 รุ่น
เครื่องยนต์ รหัส 4M41 DI-D Hyper Common Rail Turbo Inter Cooler ขนาด 3,200 ซีซี 165 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 351 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D Hyper Common Rail Turbo Inter Cooler ขนาด 2,500 ซีซี 140 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 321 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D Hyper Common Rail Turbo 2,500 ซีซี 116 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 247 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
รุ่นที่ไม่ใช่คอมมอนเรล เครื่องยนต์ รหัส 4D56 Indirect Turbo 2,500 ซีซี 90 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุดที่ 196 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที

ด้วยการทำงานของเครื่องยนต์ใหม่ ไฮเปอร์ คอมมอนเรล มิตซูบิชิยังคุยว่า สามารถช่วยลดมลพิษและประหยัดน้ำมันได้สูงสุด สำหรับในเครื่องยนต์ 3,200 ซีซี จะมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำกว่า เครื่องยนต์ 2,800 ซีซี ในรุ่นสตราด้าถึง 17.9% และในเครื่องยนต์ 2,500 ซีซี ก็จะกินน้ำมันน้อยกว่าเครื่องยนต์เดิมถึง 20-25%
สำหรับเครื่องยนต์ Hyper Common Rail ที่จะวางใน มิตซูบิชิ ไทรทัน ปิคอัพรุ่นใหม่ กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทย ในวันที่ 25 สิงหาคม นี้ โดยไทยจะเป็นประเทศแรกที่ได้ใช้ก่อนเพราะเราเป็นฐานการผลิต จากนั้นก็จะทำการเปิดตัว และส่งออกไป 140 กว่าประเทศทั่วโลก ส่วนเรื่องราคาอดใจรอกันอีกนิดเพราะทางมิตซูบิชิยังปิดเงียบอยู่
เครื่องยนต์ดีเซล DI-D Hyper Common Rail เป็นเจนเนอเรชั่นล่าสุดจากมิตซูบิชิ ที่ถูกพัฒนามาจากเครื่องยนต์ใน มิตซูบิชิ ปาเจ-โร และถ่ายทอดมาเป็นเครื่องยนต์ 4M41 รุ่นที่วางลงในมิตซูบิชิ แรลลี่ ทรัค อีโวลูชั่น ( Mitsubishi RTE) ซึ่งได้ส่งไปแข่งใน แรลลี่ ดาการ์ รายการที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหดอยู่แล้ว เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ จึงนำมาสู่การพัฒนาในขั้นสุดท้าย คือการผสานการทำงานของเครื่องยนต์ร่วมกับระบบหัวฉีดน้ำมันแรงดันสูง ไฮเปอร์ คอมมอน เรล (Hyper Common rail)
เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ ไฮเปอร์ คอมมอนเรล
ไฮเปอร์ คอมมอน เรล ต้นแบบระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงแบบใหม่ โดยในปั๊มน้ำมันแรงดันสูง (Supply Pump) ออกแบบให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันที่ความแรงสูงสุดถึง 180 เมกะปาสคาล (MPa) พร้อมยังควบคุมการทำงานของหัวฉีดด้วยคอมพิวเตอร์ขนาด 32 บิท เพิ่มกำลังเครื่องยนต์สู่การเผาไหม้ที่หมดจดเต็มประสิทธิภาพ
หัวลูกสูบใหม่ (Deep Ball Type) การออกแบบหัวลูกสูบ โดยพัฒนาโครงสร้างของลูกสูบจากรุ่นเดิมเป็นลักษณะห้องเผาไหม้บนหัวลูกสูบ ออกแบบให้มีลักษณะโค้งมนภายใน เพื่อให้อากาศและน้ำมันผสมกันได้ดีที่สุด และผิวด้านนอกของลูกสูบยังเคลือบด้วยกราไฟท์ (Graphite Coating) ป้องกันการขยายตัวของลูกสูบซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องยนต์มิตซูบิชิ
กระเดื่องวาล์วอัจฉริยะ (Roller Rocker Arms) เอกสิทธิ์เฉพาะของมิตซูบิชิที่มีการทำงานด้วยระบบลูกปืนหมุนวนซึ่งช่วยลดการเสียดสี ลดการสึกหรอและความร้อนระหว่างเพลาลูกเบี้ยวกับวาล์ว ช่วยให้เครื่องยนต์ลื่น มีอัตราเร่งของเครื่องยนต์ดีกว่า
กำลังอัดสูงสุด ครั้งแรกในวงการกระบะ Twin Manifold (DOHC 16 วาล์ว) ระบบหมุนเวียนอากาศ 2 ทิศทาง ระบบการควบคุมการปิดวาล์วแบบ DOHC (Double Overhead) 4 วาล์ว ต่อ 1 สูบ คือมีวาล์วไอดี 2 ตัว และวาล์วไอเสีย 2 ตัว ช่วยให้ไอดีไหลเข้าห้องเผาไหม้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มวลอากาศมากกว่า เพื่อการจุดระเบิดที่ทรงพลังกำลังอัดสูงสุด รวมทั้งคายไอเสียออกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้เครื่องยนต์มีกำลังต่อเนื่อง ทั้งในความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำ และรอบเครื่องยนต์สูง
เทอร์โบชาร์จ อินเตอร์คูลเลอร์ด้านหน้า ระบบการไหลเวียนอากาศที่ดีในทุกจังหวะเครื่องยนต์ จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะช่วยให้เครื่องยนต์รีดพลังออกมาให้ได้มากที่สุด ระบบเทอร์โบ-ชาร์จแบบใบพัดคู่ช่วยให้การอัดไอดีมีปริมาณมากและเร็วขึ้น สามารถอัดอากาศได้เร็วกว่าในรอบต่ำ ทำงานร่วมกับระบบอินเตอร์คูลเลอร์ด้านหน้า ช่วยให้การไหลเวียนอากาศเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์ง่ายดายกว่าอินเตอร์คูลเลอร์ด้านบน และการระบายความร้อนของอากาศ ส่งผลให้มวลอากาศก่อนเข้าสู่กระบอกสูบมีความหนาแน่นของไอดีมากขึ้น เป็นผลให้เครื่องยนต์มีกำลังขึ้น
เครื่องยนต์ใน มิตซูบิชิ ไทรทัน มี 4 รุ่น
เครื่องยนต์ รหัส 4M41 DI-D Hyper Common Rail Turbo Inter Cooler ขนาด 3,200 ซีซี 165 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 351 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D Hyper Common Rail Turbo Inter Cooler ขนาด 2,500 ซีซี 140 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 321 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ รหัส 4D56 DI-D Hyper Common Rail Turbo 2,500 ซีซี 116 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 247 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
รุ่นที่ไม่ใช่คอมมอนเรล เครื่องยนต์ รหัส 4D56 Indirect Turbo 2,500 ซีซี 90 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุดที่ 196 นิวตัน-เมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
ด้วยการทำงานของเครื่องยนต์ใหม่ ไฮเปอร์ คอมมอนเรล มิตซูบิชิยังคุยว่า สามารถช่วยลดมลพิษและประหยัดน้ำมันได้สูงสุด สำหรับในเครื่องยนต์ 3,200 ซีซี จะมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำกว่า เครื่องยนต์ 2,800 ซีซี ในรุ่นสตราด้าถึง 17.9% และในเครื่องยนต์ 2,500 ซีซี ก็จะกินน้ำมันน้อยกว่าเครื่องยนต์เดิมถึง 20-25%
สำหรับเครื่องยนต์ Hyper Common Rail ที่จะวางใน มิตซูบิชิ ไทรทัน ปิคอัพรุ่นใหม่ กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทย ในวันที่ 25 สิงหาคม นี้ โดยไทยจะเป็นประเทศแรกที่ได้ใช้ก่อนเพราะเราเป็นฐานการผลิต จากนั้นก็จะทำการเปิดตัว และส่งออกไป 140 กว่าประเทศทั่วโลก ส่วนเรื่องราคาอดใจรอกันอีกนิดเพราะทางมิตซูบิชิยังปิดเงียบอยู่