แม้ดีเอ็มจีจะประสบความสำเร็จกับชื่อทางการค้า แต่ยังไม่สามารถหารูปแบบเครื่องหมายการค้าได้ พอลและอดอล์ฟ (Paul and Adolf Daimler) บุตรชายทั้งสองของเดมเลอร์ ซึ่งดูแลธุรกิจในขณะนั้น ระลึกขึ้นได้ว่าบิดาเคยใช้ดวงดาวเป็นสัญลักษณ์มาก่อน
กอตต์ลีบ เดมเลอร์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของโรงงานผลิตเครื่องจักรกลแห่งเมืองด้อยซ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1872-1881 เมื่อแรกเริ่มทำงานที่นั่น เขาเคยนำรูปดาวไปติดเหนือหลังคาบ้านตรงจุดที่มองเห็นวิวของเมืองโคโลญจน์ และด้อยซ์ และได้เขียนจดหมายบอกภรรยาว่า สักวันหนึ่งดาวดวงนี้จะเปล่งประกายเหนือโรงงานของเขาเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์

กรรมการบริษัทดีเอ็มจีรับข้อเสนอความคิดดังกล่าวในทันที และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปดาวสามแฉก และสี่แฉกขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1909 ถึงแม้ทั้งสองรูปแบบจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ก็มีการใช้เพียงรูปดาวสามแฉก ซึ่งได้ติดตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นเหนือกระจังหม้อน้ำหน้ารถ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 เป็นต้นมา
ดาวสามแฉก ซึ่งมุ่งหมายว่าจะเป็นสัญลักษณ์อันมุ่งมั่นของเดมเลอร์ในการเป็นเจ้ายานยนต์ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้นได้มีการปรับเปลี่ยนรูปโฉมนิดๆหน่อยๆ ในปี ค.ศ.1916 ดาวสามแฉกหรือชื่อโรงงานของดีเอ็มจีที่อุนเตอร์ทูร์ไคม์ (Untertuerkheim) หรือที่เบอร์ลิน-มาเรียน เฟลเด (Berlin-Marienfelde)

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1921 ดีเอ็มจียื่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าในรูปดาวสามแฉกในวงแหวนแบบสามมิติ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ที่ตั้งใจให้นำไปใช้บนกระจังหม้อน้ำหน้ารถด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลคุ้มครองทางกฎหมายไม่ให้มีการนำตราสัญลักษณ์ไปแต่งเติม โดยต่อมาในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1923 การจดลิขสิทธิ์ก็ได้รับอนุมัติให้มีผลสมบูรณ์

ดวงดาวที่ส่องนำทางนักขับทั่วโลก
ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ และการค้าตกต่ำ โดยเฉพาะการขายสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ จึงทรุดตัวลงไปด้วย เหลือเพียงบริษัทที่มีพื้นฐานการเงินดี และมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะมีโอกาสอยู่รอด บางบริษัทจึงจำเป็นต้องรวมกิจการกับที่อื่น หรือไม่ก็ต้องร่วมเป็นพันธมิตรการค้ากัน ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทซึ่งเคยเป็นคู่แข่งกันมาก่อนอย่างดีเอ็มจี และเบนซ์ & ซี จึงได้รวมกิจการกันในปี ค.ศ.1924 ด้วยวัตถุประสงค์ในการปรับมาตรฐานการออกแบบและการผลิต รวมทั้งร่วมมือจัดซื้อ จัดจำหน่าย และโฆษณา เพื่อให้ยังคงแข่งขันและยืนหยัดอยู่ในสถานการณ์นั้นได้
อย่างไรก็ดี ทั้งสองบริษัทยังคงใช้เครื่องหมายการค้าคนละแบบ แม้จะมีความร่วมมือในการด้านการตลาดสองปี ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1926 บริษัทรถยนต์เก่าแก่ทั้งสองรายจึงได้รวมเป็นบริษัทเดียวกันภายใต้ชื่อ เดมเลอร์-เบนซ์ เอจี ด้วยเหตุนี้จึงมีการออกแบบเครื่องหมายการค้าใหม่ขึ้นมา โดยนำเอาลักษณะเด่นในสัญลักษณ์ของทั้งสองมาใช้ ดาวสามแฉกอันเลื่องชื่อของดีเอ็มจีจึงถูกล้อมรอบด้วยชื่อ เมอร์เซเดส และเบนซ์ ซึ่งลือลั่นไม่แพ้กัน โดยมีช่อชัยพฤกษ์เป็นตัวเชื่อม

เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ ยังคงประทับอยู่บนรถยนต์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นสัญลักษณ์แทนคุณภาพและความปลอดภัยบนท้องถนนทุกหนแห่ง อีกทั้งชื่อ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ก็ยังกลายเป็นสามัญที่ทั่วโลกหมายถึงแบบฉบับนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งมีความเป็นมาอันยาวนาน
กอตต์ลีบ เดมเลอร์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของโรงงานผลิตเครื่องจักรกลแห่งเมืองด้อยซ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1872-1881 เมื่อแรกเริ่มทำงานที่นั่น เขาเคยนำรูปดาวไปติดเหนือหลังคาบ้านตรงจุดที่มองเห็นวิวของเมืองโคโลญจน์ และด้อยซ์ และได้เขียนจดหมายบอกภรรยาว่า สักวันหนึ่งดาวดวงนี้จะเปล่งประกายเหนือโรงงานของเขาเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์
กรรมการบริษัทดีเอ็มจีรับข้อเสนอความคิดดังกล่าวในทันที และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปดาวสามแฉก และสี่แฉกขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1909 ถึงแม้ทั้งสองรูปแบบจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ก็มีการใช้เพียงรูปดาวสามแฉก ซึ่งได้ติดตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นเหนือกระจังหม้อน้ำหน้ารถ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 เป็นต้นมา
ดาวสามแฉก ซึ่งมุ่งหมายว่าจะเป็นสัญลักษณ์อันมุ่งมั่นของเดมเลอร์ในการเป็นเจ้ายานยนต์ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้นได้มีการปรับเปลี่ยนรูปโฉมนิดๆหน่อยๆ ในปี ค.ศ.1916 ดาวสามแฉกหรือชื่อโรงงานของดีเอ็มจีที่อุนเตอร์ทูร์ไคม์ (Untertuerkheim) หรือที่เบอร์ลิน-มาเรียน เฟลเด (Berlin-Marienfelde)
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1921 ดีเอ็มจียื่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าในรูปดาวสามแฉกในวงแหวนแบบสามมิติ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ที่ตั้งใจให้นำไปใช้บนกระจังหม้อน้ำหน้ารถด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลคุ้มครองทางกฎหมายไม่ให้มีการนำตราสัญลักษณ์ไปแต่งเติม โดยต่อมาในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1923 การจดลิขสิทธิ์ก็ได้รับอนุมัติให้มีผลสมบูรณ์
ดวงดาวที่ส่องนำทางนักขับทั่วโลก
ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ และการค้าตกต่ำ โดยเฉพาะการขายสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ จึงทรุดตัวลงไปด้วย เหลือเพียงบริษัทที่มีพื้นฐานการเงินดี และมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะมีโอกาสอยู่รอด บางบริษัทจึงจำเป็นต้องรวมกิจการกับที่อื่น หรือไม่ก็ต้องร่วมเป็นพันธมิตรการค้ากัน ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทซึ่งเคยเป็นคู่แข่งกันมาก่อนอย่างดีเอ็มจี และเบนซ์ & ซี จึงได้รวมกิจการกันในปี ค.ศ.1924 ด้วยวัตถุประสงค์ในการปรับมาตรฐานการออกแบบและการผลิต รวมทั้งร่วมมือจัดซื้อ จัดจำหน่าย และโฆษณา เพื่อให้ยังคงแข่งขันและยืนหยัดอยู่ในสถานการณ์นั้นได้
อย่างไรก็ดี ทั้งสองบริษัทยังคงใช้เครื่องหมายการค้าคนละแบบ แม้จะมีความร่วมมือในการด้านการตลาดสองปี ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1926 บริษัทรถยนต์เก่าแก่ทั้งสองรายจึงได้รวมเป็นบริษัทเดียวกันภายใต้ชื่อ เดมเลอร์-เบนซ์ เอจี ด้วยเหตุนี้จึงมีการออกแบบเครื่องหมายการค้าใหม่ขึ้นมา โดยนำเอาลักษณะเด่นในสัญลักษณ์ของทั้งสองมาใช้ ดาวสามแฉกอันเลื่องชื่อของดีเอ็มจีจึงถูกล้อมรอบด้วยชื่อ เมอร์เซเดส และเบนซ์ ซึ่งลือลั่นไม่แพ้กัน โดยมีช่อชัยพฤกษ์เป็นตัวเชื่อม
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ ยังคงประทับอยู่บนรถยนต์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นสัญลักษณ์แทนคุณภาพและความปลอดภัยบนท้องถนนทุกหนแห่ง อีกทั้งชื่อ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ก็ยังกลายเป็นสามัญที่ทั่วโลกหมายถึงแบบฉบับนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งมีความเป็นมาอันยาวนาน