ในการทำงานแต่ละวัน แทบปฎิเสธไม่ได้ว่าเราจะต้องมีความคิดไม่สอดคล้องกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้องในหลาย ๆ ครั้ง แต่ปัญหาในการทำงานจริง ๆ แล้วไม่ได้อยู่ที่ความคิดต่าง
เพราะความคิดที่แตกต่าง หากรู้จักวิธีการแสดงออก หรือหาคำพูดสื่อที่ถูกต้อง ความคิดต่างหลายๆครั้งก็ก่อเกิดเป็นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ให้กับองค์กรได้
ดังนั้นประเด็นของการนำเสนอความคิดต่างๆ ไม่ใช่การเงียบแต่อย่างเดียว หากแต่ต้องฝึกฝนวิธีการสื่อออกมาเป็นถ้อยคำที่เหมาะสม
"I understand what you're saying, but I think…"
ประโยคนี้มองเผินๆเหมือนจะใช้ได้ แต่จริงๆแล้วมันก็ก่อให้เกิดความรู้สึกย้อนแย้ง ว่าไหนบอกว่าเข้าใจในสิ่งที่พูดแล้วจะ "แต่…" ทำไม
วันนี้เรามีเทคนิควิธีที่จะช่วยคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน สามารถเสนอความคิดที่ต่างให้ที่ทำงานเข้าใจ โดยไม่เกิดความบาดหมางกัน ขั้นตอนมีดังนี้ค่ะ
1.คุณควรเริ่มต้นโดยการเปิดใจรับฟังความคิดที่ต่างให้จบและเข้าใจก่อน จับใจความให้ได้ แล้วจึงพูดว่า
I see what you're saying.
2. แสดงสีหน้า ท่าทาง ของการเคารพความคิดผู้อื่นในที่ประชุม แม้จะฝืนแค่ไหน คุณควรฝึก เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเปิดใจรับฟังคุณด้วย และตามด้วยคำพูดว่า
I always trust your judgement.
3. จากนั้นแสดงความคิดของคุณที่แตกต่าง
• ขั้นตอนนี้สำคัญมาก คุณควรหมั่นสังเกตก่อนว่าองค์กรของคุณนั้นทำงานในวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน เช่น High assertiveness คือ เป็นลักษณะองค์กรที่เปิดใจรับฟัง ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท เยอรมัน หรือ ออสเตรีย และอิสราเอล
• ส่วน Low assertiveness คือ เป็นบริษัทที่มีสภาพแวดล้อมที่มีการแสดงออกแบบอ้อมๆ ต้องหมั่นศึกษาสังเกตมากเป็นพิเศษ ระมัดระวังการหัวเราะ การพูด เน้นการอ่อนน้อม ถ่อมตน มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทต่างชาติในแถบ ญี่ปุ่น ไทย นิวซีแลนด์
หากในองค์กรนั้น สามารถแสดงออกแบบชัดเจน ตรงไปตรงมา ต้องการความรวดเร็วในที่ประชุม การแสดงคำพูดขัดแย้งสามารถพูดออกไปได้เลยว่า
"I don't think I can agree with your ideas completely."
การแสดงออกซึ่งความคิดขัดแย้งนั้น ให้เถียงกันที่ความคิด ระมัดระวังที่จะไม่จู่โจมที่ตัวบุคคล
และคำพูดที่ไม่ควรพูดในการแสดงความคิดต่าง ส่วนใหญ่จะเป็นคำพูดในลักษณะมุ่งโจมตีไปที่ตัวบุคคล เช่น
You are wrong.
No true.
I disagree with you completely.
โดยที่เราสามารถเปลี่ยนคำพูดให้เป็น positive tone โดยการพูดว่า
"I see what you are saying. I respectfully appreciate your view. To be fair, I'm not sure whether I completely agree with you. Right now we don't have enough resourcefulness for the project." I 'd like to propose a few options to consider. (เสนอทางแก้ปัญหา)
"ผมเข้าใจในสิ่งที่คุณเสนอนะครับ และผมก็ชื่นชมความคิดของคุณเสมอมาเลย อย่างไรก็ตามนะครับ หากจะว่าไป ตอนนี้บริษัทเรางบประมาณในส่วนนี้ยังไม่พอสำหรับโครงการขนาดนี้นะครับ ผมเลยอยากขอเสนอความคิดาสักสามอย่างดังนี้ครับ..."
การเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับกาลเทศะ จะช่วยทำให้การแสดงความคิดต่างของคุณฟังขึ้น และเริ่มมีการเปิดใจรับฟัง หากเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อหน้าคนหมู่มาก เช่นในที่ประชุม การพูดเริ่มต้นควรรักษาน้ำใจ และไม่พูดโพล่งขึ้นมาให้อีกฝ่ายต้องอับอาย เช่นการใช้คำพูดที่ไม่สมควรพูด เช่น
No way! ไม่มีทางน่ะ
You must be joking! ขำมั้ยน่ะ
You can’t be serious! พูดเล่นปะ
Not a chance. ฝันไปเหอะ ไม่มีทาง
คำพูดเหล่านี้นอกจากแสดงความไม่มืออาชีพ ยังเป็นการดูหมิ่นความคิดของเพื่อนร่วมงานและไม่ควรพูดอย่างยิ่งค่ะ
การพูดเสนอความคิดขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้ายและสามารถพลิกสถานการณ์ให้สร้างสรรค์ ได้ทางเลือกแก้ปัญหาที่ล้ำหน้า ดังนั้นหากฝึกใช้ให้ถูกต้อง การทำงานในองค์กรที่มีพนักงาน หรือบุคลากรที่อาจมีความคิดต่างแต่เลือกที่จะพูดออกมาแบบให้เกียรติกันได้
องค์กรนั้นก็จะดำเนินกิจการแบบมีประสิทธิภาพ
"Everyone wins." ได้แบบสบายๆค่ะ
สนใจ Corporate Business English หรือ Indeed Career Guide
ติดต่อ คุณสนชัย ลิ้มทองกุล 065-961-9694
รับจัดคอร์สสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนทำงานในองค์กร
ครูฮ้วง
---------------------------
ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ