"What are your strengths and weaknesses?"
"คุณมีจุดอ่อนและจุดแข็งอะไร?"
คำถามสำคัญในการเข้า Interview ทราบมั้ยคะว่าผู้สัมภาษณ์ถามคำถามนี้มาเพื่ออะไร
คำถามนี้ต้องการวัดว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นคนแบบไหน เป็นคนที่รู้จักตัวเองมากน้อยแค่ไหน (self-awareness) และสิ่งที่สำคัญการสัมภาษณ์ลักษณะนี้ไม่ได้ต้องการแค่ข้อมูล แต่มีรายละเอียดที่ลงลึกไปกว่าภาษาหรือคำตอบ
นั่นคือนิสัย ใจคอ และทัศนคติ
ช่วงเวลาสำคัญในการได้รับโอกาสเข้าเรียนต่อ หรือทำงาน เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผ่านด่านการสัมภาษณ์ การพูดอาจเป็นประโยชน์ช่วยการสัมภาษณ์ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าพูดเก่งคือคำตอบสุดท้ายของทุกสายงาน
หลายคนตกม้าตายเพราะไปตอบคล้ายกันว่า
"My strong point is hardworking, persistent, and patient." หรือบรรยายสรรพคุณอีกมากมาย
เราลองมาดูกันนะคะว่าคำตอบสัมภาษษณ์ที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง
1. มีจุดแข็งที่ตรงกับเนื้องาน (Relevant Strength) เช่น สายบริหาร ต้องการคนวิเคราะห์แก้ปัญหาเก่ง สายจิตวิทยาต้องการคนวิเคราะห์และรับฟัง
2. ดูจริงใจโดยมีตัวอย่างเล่าประกอบ (storytelling)
3. ผลลัพธุ์ที่ดีจากจุดแข็งนั้น (Result)
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสมัครเรียนทางสายงานบริหาร (Business Administration) สามารถตอบจุดแข็งได้ดังนี้
I consider my leadership skills to be one of my greatest strengths. (เล่าตัวอย่างประกอบ) During my time as a department head, I successfully merged diversity of members and organized training programs for all team members to ensure that everyone was confident in their new role. (ผลที่ได้) As a result, we were able to increase sponsorship by 5% within our first month as a new team.
หรือหากเป็นสาขาที่ต้องเกี่ยงข้องกับผู้คน เช่น การสื่อสาร ก็สามารถตอบได้ว่า
My people skills are my greatest strength. I find it easy to connect with almost anyone, and I often know how to empathize with others in an appropriate way.
ส่วนการตอบในสิ่งที่เป็นจุดอ่อน เป็นการแสดงให้รู้ว่าเรารู้ถึงข้อเสียของตัวเอง และเราพยายามหาทางแก้ เช่น
Shyness is something that I struggle with in large groups. I find it intimidating to ask questions or raise points, so I have often remained quiet in the past. I have been trying to be more vocal in smaller groups to become more confident.
ในการตอบจุดอ่อน ข้อเสีย สามารถเปลี่ยนจากคำว่า weakness เป็นคำว่า challenge ได้ เช่น
My challenge is the situation I have to speak in front of large audience.
ข้อเสียของผมคือ ผมประหม่าเวลาต้องพูดต่อหน้าคนหมู่มาก
ตัวอย่างที่ 2 เมื่อพูดข้อเสียแล้ววควรบอกไปด้วยว่าเราได้หาทางแก้ไขอย่างไรบ้าง เช่น
I used to struggle with sharing my ideas in group settings and speaking up during team meetings due to my introverted nature. However, I have since known the importance of improving in this area. After that time, I realized that I needed to make changes to contribute more effectively.
ทั้งนี้ในการตอบสัมภาษณ์ในยุคปัจจุบัน ควรเลี่ยงการใช้คำที่เป็นคำตอบที่เป็นคำซ้ำซาก (cliché) เช่น ข้อเสียของผมคือ ผมบอกโลกในแง่ดีเกินไป (optimism) หรือ เป็น perfectionism (ยึดความสมบูรณ์แบบ) เพราะคำเหล่านี้ได้ยินบ่อยจนแทบไม่มีผลในการเพิ่มคะแนนของคุณอีกต่อไป
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์ คุณไม่จำเป็นต้องถ่อมตนมากจนจม แต่ก็ไม่ควรโอ้อวดถึงในระดับที่คำตอบดูไม่น่าเชื่อถือ
คำตอบแต่ละคนแตกต่างกันในการสัมภาษณ์ รูปแบบที่ถูกต้องคือการปรับใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย และสถานการณ์ ดังนั้นผู้เข้าสัมภาษณ์ต้องหมั่นสังเกตวัฒณธรรมองค์กรที่เรากำลังจะไปเข้ารับการสัมภาษณ์ เตรียมตัวให้พร้อม ตอบให้ชัดเจนด้วยบุคลิกที่สุภาพและมั่นใจ การสัมภาษณ์ในครั้งนั้นย่อมเป็นของคุณแน่นอน
"No matter what happens, use it as an experience to grow from. Best of luck!"
ครูฮ้วง
--------------------------
ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ