ไนท์แฟรงค์ เผยรายงานแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หวังให้นักลงทุนรู้ข้อมูลก่อนลงทุน เผยค่าเช่าสำนักงานในฮ่องกงสูงกว่าในกรุงเทพฯเกือบ 10 เท่า ตามด้วยโตเกียว และ ซานฟรานซิสโกที่แซงหน้าลอนดอน
ไนท์แฟรงค์ เปิดตัว รายงานเมืองชั้นนำทั่วโลก ปี 2018 ฉบับที่ 4 รายงานเจาะลึกข้อมูลด้านแนวโน้มทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน 40 เมืองชั้นนำทั่วโลก เพื่อที่ผู้ครอบครองและนักลงทุนจะได้รับข้อมูลความรู้เชิงลึกก่อนการตัดสินใจลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึง ดัชนีตึกระฟ้า ที่ทำการตรวจสอบผลการดำเนินงานของอาคารเชิงพาณิชย์ที่สูงกว่า 30 ชั้น จาก 23 เมืองทั่วโลก
นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ถึงจะมีรายงานว่าอัตราค่าเช่าสำนักงานในเมืองไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่อัตราค่าเช่าในเมืองไทยยังคงจัดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของค่าเช่าสำนักงานในฮ่องกง และยังไม่ถึงครึ่งของสิงคโปร์ นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อัตราการเติบโตของค่าเช่าสำนักงานระดับไพรม์ในกรุงเทพฯมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในช่วงปลายปีเมื่ออุปทานใหม่ถูกครอบครอง
• ตึกระฟ้าในฮ่องกงยังคงครองอันดับอัตราค่าเช่าสูงที่สุดในโลกเป็นปีที่ 4 อยู่ที่ $304 ต่อตารางฟุต ส่วนอัตราค่าเช่าสำนักงานระหว่างอาคารที่สูงที่สุดในฮ่องกงกับตลาดอื่นๆ ก็ยังคงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นได้ว่าค่าเช่าสำนักงานบนตึกสูงในฮ่องกงสูงกว่าอันดับ 2 อย่างนิวยอร์กมากถึงร้อยละ 88 ในปีนี้ เปรียบเทียบกับร้อยละ 76 ในปีที่แล้ว
• อันดับต่อมา โตเกียว มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ $140 ต่อตารางฟุต และซานฟรานซิสโก ที่มีการปรับราคาสูงขึ้นไปอยู่ที่ $117 ต่อตารางฟุตแซงหน้าลอนดอนที่มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ $110 ต่อตารางฟุต โดยทั้งหมดนี้จัดอยู่ใน 5 อันดับแรก
• นอกจากนี้ดัชนียังแสดงให้เห็นว่า ค่าเช่าสำนักงานตึกระฟ้าในโตรอนโต เติบโตเพิ่มขึ้นสูงที่สุด โดยในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.9 เปอร์เซ็นต์ ราคาอยู่ที่ $58 ต่อตารางฟุต
• สำหรับในฝั่งแปซิฟิก อัตราความต้องการที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยและอัตราว่างที่มีจำกัดส่งผลให้ค่าเช่าสำนักงานตึกระฟ้าในออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 โดยเมลเบิร์น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และซิดนีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จัดอยู่อันดับที่ 3 และ 5 ในการเติบโตของอัตราค่าเช่าสำนักงาน อย่างไรก็ตามค่าเช่าในเมลเบิร์น ($56 ต่อตารางฟุต) เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของค่าเช่าในซิดนีย์ ($107 ต่อตารางฟุต)
• การเติบโตของอัตราค่าเช่านี้ยังเห็นได้ในฝั่งอเมริกาเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและอัตราการว่างงานที่ต่ำส่งผลให้มีความมั่นคงทางธุรกิจและความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น คิดเป็น นิวยอร์ก ร้อยละ 1.8, ซานฟรานซิสโก ร้อยละ 3.5 และชิคาโก ร้อยละ 1.6
นายนิโคลัส โฮลท์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำไนท์แฟรงค์เอเชียแปชิฟิค กล่าวว่า องค์กรจากประเทศจีนเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าเช่าสำนักงานบนตึกสูงในเกาะฮ่องกงเพิ่มสูงขึ้น โดยในฝั่งเอเชียอย่าง โตเกียว ที่มีค่าเช่าพื้นสำนักงานอยู่อันดับที่ 3 ของโลก ก็ยังไม่ถึงครึ่งของค่าเช่าพื้นที่สำนักงานใน ฮ่องกง ในขณะที่สิงคโปร์ มีค่าเช่าน้อยกว่านั้นอีกครึ่งหนึ่ง
"หากมองไปในอนาคต ว่าหากได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากกลุ่มที่ต้องการทำงานบนตึกสูงที่มีวิวที่ดีที่สุด เราก็คาดว่าความต้องการพื้นที่สำนักงานบนตึกสูงในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะยังคงมีความมั่นคงต่อไป"
ด้านนายวิลเลี่ยม เบรียดมอร์-เกรย์ หัวหน้าฝ่ายบริการผู้ครอบครองและตัวแทนนายหน้าไนท์แฟรงค์ กล่าวว่า หลายบริษัทยอมจ่ายเงินเพื่ออยู่บนตึกสูงที่รายล้อมไปด้วยวิวทิวทัศน์ที่ประทับใจ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่เมืองใน 5 อันดับแรกนี้เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลก นอกจากนี้ยังมีเมืองที่มีตึกสูงและมีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าลอนดอนหรือฮ่องกงมากมายที่ถูกจัดอยู่ในอันดับต่ำกว่า ระบุในตารางดัชนี
ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเตือน และแสดงให้เห็นถึงความต้องการของพื้นที่และค่าเช่าในอาคารที่มีชื่อเสียงในลอนดอนที่จะยังคงที่หากลอนดอนคงความเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรก
ไนท์แฟรงค์ เปิดตัว รายงานเมืองชั้นนำทั่วโลก ปี 2018 ฉบับที่ 4 รายงานเจาะลึกข้อมูลด้านแนวโน้มทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน 40 เมืองชั้นนำทั่วโลก เพื่อที่ผู้ครอบครองและนักลงทุนจะได้รับข้อมูลความรู้เชิงลึกก่อนการตัดสินใจลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึง ดัชนีตึกระฟ้า ที่ทำการตรวจสอบผลการดำเนินงานของอาคารเชิงพาณิชย์ที่สูงกว่า 30 ชั้น จาก 23 เมืองทั่วโลก
นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ถึงจะมีรายงานว่าอัตราค่าเช่าสำนักงานในเมืองไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่อัตราค่าเช่าในเมืองไทยยังคงจัดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของค่าเช่าสำนักงานในฮ่องกง และยังไม่ถึงครึ่งของสิงคโปร์ นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อัตราการเติบโตของค่าเช่าสำนักงานระดับไพรม์ในกรุงเทพฯมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในช่วงปลายปีเมื่ออุปทานใหม่ถูกครอบครอง
• ตึกระฟ้าในฮ่องกงยังคงครองอันดับอัตราค่าเช่าสูงที่สุดในโลกเป็นปีที่ 4 อยู่ที่ $304 ต่อตารางฟุต ส่วนอัตราค่าเช่าสำนักงานระหว่างอาคารที่สูงที่สุดในฮ่องกงกับตลาดอื่นๆ ก็ยังคงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นได้ว่าค่าเช่าสำนักงานบนตึกสูงในฮ่องกงสูงกว่าอันดับ 2 อย่างนิวยอร์กมากถึงร้อยละ 88 ในปีนี้ เปรียบเทียบกับร้อยละ 76 ในปีที่แล้ว
• อันดับต่อมา โตเกียว มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ $140 ต่อตารางฟุต และซานฟรานซิสโก ที่มีการปรับราคาสูงขึ้นไปอยู่ที่ $117 ต่อตารางฟุตแซงหน้าลอนดอนที่มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ $110 ต่อตารางฟุต โดยทั้งหมดนี้จัดอยู่ใน 5 อันดับแรก
• นอกจากนี้ดัชนียังแสดงให้เห็นว่า ค่าเช่าสำนักงานตึกระฟ้าในโตรอนโต เติบโตเพิ่มขึ้นสูงที่สุด โดยในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.9 เปอร์เซ็นต์ ราคาอยู่ที่ $58 ต่อตารางฟุต
• สำหรับในฝั่งแปซิฟิก อัตราความต้องการที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยและอัตราว่างที่มีจำกัดส่งผลให้ค่าเช่าสำนักงานตึกระฟ้าในออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 โดยเมลเบิร์น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และซิดนีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จัดอยู่อันดับที่ 3 และ 5 ในการเติบโตของอัตราค่าเช่าสำนักงาน อย่างไรก็ตามค่าเช่าในเมลเบิร์น ($56 ต่อตารางฟุต) เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของค่าเช่าในซิดนีย์ ($107 ต่อตารางฟุต)
• การเติบโตของอัตราค่าเช่านี้ยังเห็นได้ในฝั่งอเมริกาเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและอัตราการว่างงานที่ต่ำส่งผลให้มีความมั่นคงทางธุรกิจและความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น คิดเป็น นิวยอร์ก ร้อยละ 1.8, ซานฟรานซิสโก ร้อยละ 3.5 และชิคาโก ร้อยละ 1.6
นายนิโคลัส โฮลท์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำไนท์แฟรงค์เอเชียแปชิฟิค กล่าวว่า องค์กรจากประเทศจีนเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าเช่าสำนักงานบนตึกสูงในเกาะฮ่องกงเพิ่มสูงขึ้น โดยในฝั่งเอเชียอย่าง โตเกียว ที่มีค่าเช่าพื้นสำนักงานอยู่อันดับที่ 3 ของโลก ก็ยังไม่ถึงครึ่งของค่าเช่าพื้นที่สำนักงานใน ฮ่องกง ในขณะที่สิงคโปร์ มีค่าเช่าน้อยกว่านั้นอีกครึ่งหนึ่ง
"หากมองไปในอนาคต ว่าหากได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากกลุ่มที่ต้องการทำงานบนตึกสูงที่มีวิวที่ดีที่สุด เราก็คาดว่าความต้องการพื้นที่สำนักงานบนตึกสูงในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะยังคงมีความมั่นคงต่อไป"
ด้านนายวิลเลี่ยม เบรียดมอร์-เกรย์ หัวหน้าฝ่ายบริการผู้ครอบครองและตัวแทนนายหน้าไนท์แฟรงค์ กล่าวว่า หลายบริษัทยอมจ่ายเงินเพื่ออยู่บนตึกสูงที่รายล้อมไปด้วยวิวทิวทัศน์ที่ประทับใจ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่เมืองใน 5 อันดับแรกนี้เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลก นอกจากนี้ยังมีเมืองที่มีตึกสูงและมีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าลอนดอนหรือฮ่องกงมากมายที่ถูกจัดอยู่ในอันดับต่ำกว่า ระบุในตารางดัชนี
ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเตือน และแสดงให้เห็นถึงความต้องการของพื้นที่และค่าเช่าในอาคารที่มีชื่อเสียงในลอนดอนที่จะยังคงที่หากลอนดอนคงความเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรก