โดย - รศ.ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน, T.D.R.I
มีประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าการว่างงานของประเทศไทยไม่สูงและไม่เป็นปัญหา แต่ระยะหลังเมื่อได้ฟังหรือได้อ่านเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนและอัตราการว่างงาน เช่น ในไตรมาส 1 ปี 2560 ที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่ามีคนว่างงาน 463,319 คน หรือร้อยละ 1.21 ของกำลังแรงงาน 38.21 ล้านคน ดูเหมือนจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนหรือในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ถือว่าประเทศไทยมีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) จึงไม่น่าห่วงแต่อย่างใดในภาพรวม
แต่ถ้าจะวิเคราะห์ลึกลงไปสักนิดโดยนำตัวลขการว่างงานของปี 2560 ไปเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปี 2557 (ก่อนมี คสช.) จะพบว่า มีสิ่งที่เหมือนกันคือ อัตราการว่างงานสูงสุดเมื่อแรงงานมีอายุ 35-39 ปี ทั้งในปี 2557 และปี 2560 โดยปี 2560 มีจำนวนคนว่างงาน 463,379 คน ซึ่งสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 (จำนวน 341,117 คน) หรือเพิ่ม 122,162 คน เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานในปี 2560 สูงกว่าปี 2557 ในไตรมาสเดียวกัน และถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีกพบว่าอัตราการว่างงานในช่วงอายุ 15-39 ปีของไตรมาสแรกปี 2560 สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ในทุกกลุ่มอายุและถ้าดูอัตราการว่างงานจากทุกช่วงอายุจะพบว่าปี 2560 นั้นสูงกว่าปี 2557 เกือบทุกช่วงอายุ
อัตราและจำนวนการว่างงานในปีปัจจุบันที่สูงกว่าปี 2557 เป็นผลมาจากความสามารถในการดูดซับแรงงาน(ทั้งเก่าและใหม่)ในตลาดแรงงานอันเนื่องมาจากความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากความตกต่ำอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเทียบกับตัวเลขของ เอ ดี บี ประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) ของประเทศไทยใน ปี 2560 ต่ำกว่าทุกประเทศในอาเซียน จากการพิจารณาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ 4 ตัวคือ การบริโภคภาคประชาชน (C) การลงทุนของภาคเอกชน (I) การใช้จ่ายของภาครัฐ (G) และการส่งออกสุทธิ (X-M) ซึ่งเครื่องยนต์ตัวสุดท้ายนี้ถูกมรสุมของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์จากซีกประเทศตะวันตกเล่นงานตลอดจนปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกตกต่ำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การส่งออกสุทธินี้เคยมีสัดส่วนมากกว่า 65% ของ GDP จริงอยู่การขยายตัวของ GDP ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2559 ถึงจะเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ไม่ถึง 1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนมาถึงประมาณ 2.3% ในปี 2558 และคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 3.5%ในปี 2560 คงจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP น่าจะมากกว่า 3.5% จากการพยากรณ์ของหลายสำนักทางเศรษฐกิจ
การเติบโตดังกล่าวส่งผลในเรื่องของขีดความสามารถในการดูดซับแรงงานได้ดีในระดับล่างซึ่งมีภูมิหลังไม่เกินระดับประถมศึกษา จากตัวเลขเดือนกรกฎาคม 2560 มีอัตราการว่างงานไม่เกิน 1% ซึ่งเรามีสถานประกอบการประเภทต้องใช้แรงงานจำนวนมาก (labor intensive) และเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อมมากกว่า 95% ซึ่งใช้แรงงานระดับล่างมากเกินไป (over-employed) จนต้องนำแรงงานต่างด้าวมากกว่า 3 ล้านคนเข้ามาทำงานเสริมกับคนไทยเพื่อลดปัญหาขาดแรงงานระดับล่างเรื้อรังมามากกว่า 15 ปี
ในทางกลับกัน อัตราการว่างงานของแรงงานที่มีภูมิหลังทางการศึกษามากกว่ามัธยมต้นขึ้นไปกลับตรงกันข้ามคือ อัตราการว่างงานของผู้มีภูมิหลังการศึกษากลุ่มนี้ เช่น ในเดือนกรกฎาคม 2560 สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ย (1.2%) จนถึง 3.3% โดยเฉพาะตัวเลขของการว่างงานของภูมิหลังการศึกษาอนุปริญญาตรีสูงถึง 3.2% และ 3.3% เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ยกตัวอย่าง ข้อมูลการมีงานทำของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรกฎาคม ปี 2560 จากจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด 4.76 แสนคน มีผู้ว่างงานตั้งแต่ ม.ต้น ถึงป.ตรี ถึง 426,000 คน หรือ 87% ของผู้ว่างงานทั้งหมด ภาพที่มองเห็นก็คือ สถานประกอบการนับตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้านั้นจนถึงรัฐบาลปัจจุบันเข้ามาบริหารยังไม่สามารถปรับโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศไทยให้สามารถจ้างแรงงานที่มีความรู้ความสามารถมีการศึกษาดีเข้ามาทำงานได้หมด ถ้าสังเกตตัวเลขการว่างงานของผู้จบมัธยมปลายซึ่งรวมเอาผู้จบสายอาชีพเข้าไว้ด้วยพบว่า สามารถจ้างงานได้ดีแต่ยังไม่เพียงพอเนื่องจากยังมีผู้ว่างงานในระดับเดียวกันค่าเฉลี่ยคือ ร้อยละ 1.2 (ดูตารางประกอบ)
สถิติผู้ว่างงานเดือนกรกฎาคม 2560 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนตนว่างงานแบ่งตามระดับการศึกษา มัธยมต้น 99,400 คน มัธยมปลายและอาชี 73,600 คน ปริญญาตรี 253,000 คน รวม 426,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน (%)
1,5%, 1,2%, 3,2-3,3% และ1,2% ตามลำดับ
ที่หนักหนาสาหัสเห็นจะเป็นเรื่องผู้จบปริญญาตรีที่ว่างงานมากกว่า 2.5 แสนคน โดยมีสัดส่วนผู้จบสายวิชาการตกงานมากกว่าสายอาชีพมากกว่า 2 เท่า นับเป็นความสูญเปล่าทั้งผู้จบ ครอบครัว และทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในยุคที่เรามีกำลังแรงงานใหม่เริ่มจะลดลง แต่ภาคเศรษฐกิจยังไม่สามารถที่จะพัฒนาปรับตัวมากพอที่จะดูดซับผู้มีการศึกษาและความรู้สูงได้หมด
ที่จริงจะไปโทษทางฝ่ายผู้พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องหันมา (โทษ) มองฝ่ายที่ผลิตกำลังคนบ้างที่ไม่ได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ปกครองและเด็กได้เข้าใจความต้องการ (อุปสงค์) ในตลาดแรงงานว่ามีการปรับตัวในทิศทางใด การผลิตตามศักยภาพของตัวเอง ตามใจผู้ปกครอง ตามใจนักเรียน (ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่ทราบว่าจะเรียนอะไรดี) โดยมีการสนับสนุนของภาครัฐที่สนับสนุนเงินทองทั้งอุดหนุนค่าหัวไม่พอก็มีเงินกู้ กยศ. มาเพิ่มเติมให้อีกเพื่อให้เป้าหมายของผู้ปกครองได้ชื่นใจที่เห็นลูกจบปริญญา (ถือว่า “เป็นวันชื่นคืนสุข” ของครอบครัวมาถ่ายรูปฉลองกันอย่างเต็มที่) แล้วในที่สุดก็หนีไม่พ้นกรรมคือผู้ที่จบปริญญาเป็นจำนวนถึง 2.53 แสนคนไม่มีงานทำกลายเป็นภาระของพ่อแม่ เงินออม ทรัพย์สินของพ่อแม่ที่หวังจะเอาไปใช้ยามแก่ต้องเอามาดูแลลูกที่จบปริญญาต่อไป เป็นภาระของรัฐและเยาวชนรุ่นต่อไปที่ส่วนใหญ่ของผู้ว่างงานเหล่านี้ไม่สามารถคืนเงินกู้ให้กับรัฐเพื่อหมุนเวียนให้เยาวชนรุ่นต่อไปกู้ได้ บางคนอาจจะเป็นมหากาพย์ขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งเรื่องนี้ไม่รู้ว่าใครจะป็นผู้รับผิดชอบ
มีประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าการว่างงานของประเทศไทยไม่สูงและไม่เป็นปัญหา แต่ระยะหลังเมื่อได้ฟังหรือได้อ่านเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนและอัตราการว่างงาน เช่น ในไตรมาส 1 ปี 2560 ที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่ามีคนว่างงาน 463,319 คน หรือร้อยละ 1.21 ของกำลังแรงงาน 38.21 ล้านคน ดูเหมือนจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนหรือในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ถือว่าประเทศไทยมีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) จึงไม่น่าห่วงแต่อย่างใดในภาพรวม
แต่ถ้าจะวิเคราะห์ลึกลงไปสักนิดโดยนำตัวลขการว่างงานของปี 2560 ไปเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปี 2557 (ก่อนมี คสช.) จะพบว่า มีสิ่งที่เหมือนกันคือ อัตราการว่างงานสูงสุดเมื่อแรงงานมีอายุ 35-39 ปี ทั้งในปี 2557 และปี 2560 โดยปี 2560 มีจำนวนคนว่างงาน 463,379 คน ซึ่งสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 (จำนวน 341,117 คน) หรือเพิ่ม 122,162 คน เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานในปี 2560 สูงกว่าปี 2557 ในไตรมาสเดียวกัน และถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีกพบว่าอัตราการว่างงานในช่วงอายุ 15-39 ปีของไตรมาสแรกปี 2560 สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ในทุกกลุ่มอายุและถ้าดูอัตราการว่างงานจากทุกช่วงอายุจะพบว่าปี 2560 นั้นสูงกว่าปี 2557 เกือบทุกช่วงอายุ
อัตราและจำนวนการว่างงานในปีปัจจุบันที่สูงกว่าปี 2557 เป็นผลมาจากความสามารถในการดูดซับแรงงาน(ทั้งเก่าและใหม่)ในตลาดแรงงานอันเนื่องมาจากความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากความตกต่ำอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเทียบกับตัวเลขของ เอ ดี บี ประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) ของประเทศไทยใน ปี 2560 ต่ำกว่าทุกประเทศในอาเซียน จากการพิจารณาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ 4 ตัวคือ การบริโภคภาคประชาชน (C) การลงทุนของภาคเอกชน (I) การใช้จ่ายของภาครัฐ (G) และการส่งออกสุทธิ (X-M) ซึ่งเครื่องยนต์ตัวสุดท้ายนี้ถูกมรสุมของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์จากซีกประเทศตะวันตกเล่นงานตลอดจนปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกตกต่ำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การส่งออกสุทธินี้เคยมีสัดส่วนมากกว่า 65% ของ GDP จริงอยู่การขยายตัวของ GDP ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2559 ถึงจะเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ไม่ถึง 1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนมาถึงประมาณ 2.3% ในปี 2558 และคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 3.5%ในปี 2560 คงจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP น่าจะมากกว่า 3.5% จากการพยากรณ์ของหลายสำนักทางเศรษฐกิจ
การเติบโตดังกล่าวส่งผลในเรื่องของขีดความสามารถในการดูดซับแรงงานได้ดีในระดับล่างซึ่งมีภูมิหลังไม่เกินระดับประถมศึกษา จากตัวเลขเดือนกรกฎาคม 2560 มีอัตราการว่างงานไม่เกิน 1% ซึ่งเรามีสถานประกอบการประเภทต้องใช้แรงงานจำนวนมาก (labor intensive) และเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อมมากกว่า 95% ซึ่งใช้แรงงานระดับล่างมากเกินไป (over-employed) จนต้องนำแรงงานต่างด้าวมากกว่า 3 ล้านคนเข้ามาทำงานเสริมกับคนไทยเพื่อลดปัญหาขาดแรงงานระดับล่างเรื้อรังมามากกว่า 15 ปี
ในทางกลับกัน อัตราการว่างงานของแรงงานที่มีภูมิหลังทางการศึกษามากกว่ามัธยมต้นขึ้นไปกลับตรงกันข้ามคือ อัตราการว่างงานของผู้มีภูมิหลังการศึกษากลุ่มนี้ เช่น ในเดือนกรกฎาคม 2560 สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ย (1.2%) จนถึง 3.3% โดยเฉพาะตัวเลขของการว่างงานของภูมิหลังการศึกษาอนุปริญญาตรีสูงถึง 3.2% และ 3.3% เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ยกตัวอย่าง ข้อมูลการมีงานทำของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรกฎาคม ปี 2560 จากจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด 4.76 แสนคน มีผู้ว่างงานตั้งแต่ ม.ต้น ถึงป.ตรี ถึง 426,000 คน หรือ 87% ของผู้ว่างงานทั้งหมด ภาพที่มองเห็นก็คือ สถานประกอบการนับตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้านั้นจนถึงรัฐบาลปัจจุบันเข้ามาบริหารยังไม่สามารถปรับโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศไทยให้สามารถจ้างแรงงานที่มีความรู้ความสามารถมีการศึกษาดีเข้ามาทำงานได้หมด ถ้าสังเกตตัวเลขการว่างงานของผู้จบมัธยมปลายซึ่งรวมเอาผู้จบสายอาชีพเข้าไว้ด้วยพบว่า สามารถจ้างงานได้ดีแต่ยังไม่เพียงพอเนื่องจากยังมีผู้ว่างงานในระดับเดียวกันค่าเฉลี่ยคือ ร้อยละ 1.2 (ดูตารางประกอบ)
สถิติผู้ว่างงานเดือนกรกฎาคม 2560 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนตนว่างงานแบ่งตามระดับการศึกษา มัธยมต้น 99,400 คน มัธยมปลายและอาชี 73,600 คน ปริญญาตรี 253,000 คน รวม 426,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน (%)
1,5%, 1,2%, 3,2-3,3% และ1,2% ตามลำดับ
ที่หนักหนาสาหัสเห็นจะเป็นเรื่องผู้จบปริญญาตรีที่ว่างงานมากกว่า 2.5 แสนคน โดยมีสัดส่วนผู้จบสายวิชาการตกงานมากกว่าสายอาชีพมากกว่า 2 เท่า นับเป็นความสูญเปล่าทั้งผู้จบ ครอบครัว และทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในยุคที่เรามีกำลังแรงงานใหม่เริ่มจะลดลง แต่ภาคเศรษฐกิจยังไม่สามารถที่จะพัฒนาปรับตัวมากพอที่จะดูดซับผู้มีการศึกษาและความรู้สูงได้หมด
ที่จริงจะไปโทษทางฝ่ายผู้พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องหันมา (โทษ) มองฝ่ายที่ผลิตกำลังคนบ้างที่ไม่ได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ปกครองและเด็กได้เข้าใจความต้องการ (อุปสงค์) ในตลาดแรงงานว่ามีการปรับตัวในทิศทางใด การผลิตตามศักยภาพของตัวเอง ตามใจผู้ปกครอง ตามใจนักเรียน (ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่ทราบว่าจะเรียนอะไรดี) โดยมีการสนับสนุนของภาครัฐที่สนับสนุนเงินทองทั้งอุดหนุนค่าหัวไม่พอก็มีเงินกู้ กยศ. มาเพิ่มเติมให้อีกเพื่อให้เป้าหมายของผู้ปกครองได้ชื่นใจที่เห็นลูกจบปริญญา (ถือว่า “เป็นวันชื่นคืนสุข” ของครอบครัวมาถ่ายรูปฉลองกันอย่างเต็มที่) แล้วในที่สุดก็หนีไม่พ้นกรรมคือผู้ที่จบปริญญาเป็นจำนวนถึง 2.53 แสนคนไม่มีงานทำกลายเป็นภาระของพ่อแม่ เงินออม ทรัพย์สินของพ่อแม่ที่หวังจะเอาไปใช้ยามแก่ต้องเอามาดูแลลูกที่จบปริญญาต่อไป เป็นภาระของรัฐและเยาวชนรุ่นต่อไปที่ส่วนใหญ่ของผู้ว่างงานเหล่านี้ไม่สามารถคืนเงินกู้ให้กับรัฐเพื่อหมุนเวียนให้เยาวชนรุ่นต่อไปกู้ได้ บางคนอาจจะเป็นมหากาพย์ขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งเรื่องนี้ไม่รู้ว่าใครจะป็นผู้รับผิดชอบ