โดย - ดร. ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง Thailand Appreciative Inquiry Network (AI Thailand)
อยากหา IKIGAI ต้องใช้เวลาและความพยายามครับ แต่คุ้มค่า เพราะมันคือความสุข ความสุขจากการที่เราได้เอา Passion ( รักแบบเจาะลึก เช่นชอบศึกษาภาษาอังกฤษแบบชนิดไม่ต้องมีใครบังคับ ) เอาช่วยผู้อื่นในสังคม ช่วยคนเป็นจำนวนมากให้พูดภาษาอังกฤษได้เก่งขึ้น เพราะคุณอาจจะเป็นค้นคว้าอะไรบางอย่างจนเจอวิธีปลดล๊อก ให้คนพูดภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น เช่นคุณครูภาษาอังกฤษที่เป็นฝรั่งของผม ทำให้ผมมั่นใจพูดภาษาอังกฤษได้ ผมไปถามท่านว่าผมไม่พูด .. ท่านปลดล๊อกง่ายๆ เลยว่า ... “ ฝรั่งรู้อยู่แล้วว่าคนเอเชียไม่เก่งภาษาอังกฤษ ... พูดไปเถอะ เขาไม่ได้คาดหวังคาดคั้นอะไรจากคุณ เขาเข้าใจ ” ... เท่านี้เอง ผมไปข้างหน้าเลย เพราะรู้แล้ว พูดอังกฤษได้ แต่เจอฝรั่งทีไรก็ไปไม่ค่อยถูก มาเจอคำพูดปลดล๊อกจากอาจารย์ท่านนี้ ชีวิตผมก้าวไปอีกขั้น ... อาจารย์ท่านนี้มีความสามารถในการปลดล๊อกคน .. ท่านมีอาชีพเป็นครู ดูมีความสุข และทุ่มเทในวิ่งที่ท่านชอบ ... นี่ IKIGAI เลยครับ
IKIGAI คือการมีความสุขทุกวัน มันเกิดจากการที่เราเอาพรสวรรค์ของเราไปแก้ปัญหาให้คนในวงกว้างแล้วทำเป็นอาชีพ
ผมพูดเรื่อง IKIGAI มาสักพัก ท่านที่สนใจสามารถไปย้อนอ่านได้ในบทความก่อนหน้าที่ Link ข้างล่างนี้
https://www.gotoknow.org/posts...
วันนี้ผมจะมาเจาะลึกเรื่องการสร้าง Mission ... ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อาจทำยังไม่ถูก ... บทความนี้สำหรับ คนที่ค้นหบ Passion คือสิ่งที่ตนเองหลงใหลแล้ว และก็รู้ว่าจะไปช่วยใคร ที่สำคัญรู้ว่าจะทำอาชีพอะไร ... แต่พัฒนาพันธกิจ หรือ Mission ไม่ถูก นี่เลย
Mission เป็นการตอบคำถามว่าจะเอาสิ่งที่เรารักไปช่วยโลกได้อย่างไร ...
ทำอย่างไรครับ ... ผมแนะนำว่าให้หาต้นแบบในชีวิต หาคนที่ดูมี IKIGAI ที่สามารถทำเป็นอาชีพได้ ท่านทำอะไร ท่านมีความเป็นมาอย่างไร จะมองออกมากยิ่งขึ้น ... พูดง่ายๆ คุณไปถอดรหัสมาเลยครับ ...
ต้นแบบของผมคือท่านอาจารย์ดร . วรภัทร์ ภู่เจริญ ท่านเป็นไอดอลของผมทั้งทางโลกทางธรรม
ผมมองท่านเป็นแบบอย่าง ...
ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ NASA เคยสอนวิศวะจุฬา แล้วออกมาเป็นวิทยากรสอนศาสตร์ด้านการบริหาร กระบวนกร โค้ช ไปถึงธรรมะ .
น่าทึ่งครับ .. อาจารย์ท่านนี้ ถ้าคุณดูบทความผม 800 กว่าตอนที่ผ่านมา คนจำนวนมากจะลงความเห็นว่าผมอ่านเยอะ รู้เยอะ ... ใช่ครับ .. ผมยังเรียนศาสตร์ที่ผมสอนมากับกูรูระดับโลกโดยตรงหลายคน ... เคยกินข้าวเย็นกับ Peter Senge คนที่คิดค้น Learning Organisation ... ผมอยู่ในแวดวง OD ที่ล้ำหน้า ล้ำยุคมากๆ ..
แน่นอนครับผมประเมินจากความรู้ที่มี ผมว่าท่านไปไกลมากๆ ... ถ้าเป็นฝรั่งผมว่ามีสิทธิดังระดับโลก และมีอิทธิพลมากๆ ...
แถมท่านไปทางธรรม ความรู้ของท่านเอาไปใช้ได้ดีทั้งทางโลกทางธรรม ...
แน่ละครับ ท่านดูมี IKIGAI ในการเจาะลึกความรู้ทางโลกไปผสมผสานทางธรรม แล้วเอาไปยกระดับปัญญาของคนในทุกระดับของสังคม ... ท่านเป็นทั้งครู ที่ปรึกษา วิทยากร ... ท่านมหัศจรรย์มากๆ ... เป็นคนที่มี IKIGAI ชัดเจนที่สุด ... เอาหล่ะ ผมจะมาถอดรหัส Mission ของท่าน ...
ผมเห็นท่านทำอยู่สี่เรื่อง ...
1. ท่านดูมี Passion ในการพัฒนาคน ท่านสร้างคนอย่างเป็นระบบ ชัดที่สุดกรณีธนูโพชฌงค์ ที่มีหลายขั้น เห็นชัดๆ ว่าส่ิงที่ท่านสร้างคือสร้างคน ... ผมเลยสรุปสั้นๆว่า Mission แรกของท่านคือ “ สร้าง ”
2. ทั้งมักสานคนให้มาเจอกัน พัฒนาเป็น Community of Practice เช่นโพรงกระต่าย ธนูโพชฌงค์ เพื่อต่อยอดความรู้ และสร้างคนรุ่นใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ สรุปได้ว่า Mission ที่สองของท่านคือ “ สาน ”
3. ท่านมักบุกเบิกศาสตร์ใหม่ๆ เอาตะวันตกมาผสมผสานตะวันออกเช่นโค้ช COACH DOJO หรือ Zen Management ... ผมเองก็ได้ความรู้จากท่านทางสื่อต่างๆมากมาย ... รู้เลยว่ามีคุณค่า เข้มข้นทั้งทางโลกทางธรรม ดีกว่าศาสตร์ฝรั่งที่หวงนักหวงหนา ตรงนี้ผมสรุปว่า .. และผสมผสานให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เรื่องนี้ผมทำให้นึกถึงศิลปินยุคโบราณเช่นมิคาเอล แอลเจลโล่ .. ที่ผสมผสานความรู้จากยุคโบราณ ความรู้ในยุคสมัย และจินตนาการ สร้างสรรค์งานแกะสลักสวยๆ ที่มีความงดงามเป็นอมตะ และจุดประกายให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ . เกิดการต่อยอด จุดประกายคนจำนวนมหาศาลยกระดับปัญญาของโลก ... ผมเลยมองว่าท่านมี Mission หนึ่งคือ “ สลัก ”
4. ท่านให้ความรู้เป็นทาน ไม่ได้ชักไว้ส่วนหนึ่ง พูดนิดอยากรู้ไปลงเรียนต่อ ... อันนี้ต่างมากๆ และเป็นต้นแบบของโลกจริงๆ ... ทำให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงความรู้ดีๆได้ ท่านไม่หวง คนทุกเศรษฐฐานะเข้าถึงความรู้ดีๆจากท่านได้ ... Mission นี้เรียกว่า “ สละ ”
สรุปเมื่อถอดแบบมาได้ ..Mission สี่อย่างคือ “ สร้าง สาน สลัก สละ ”
นี่ครับ ... Mission ที่ท่านทำ
ผมนับถือท่านขนาดตามหาว่าใครเป็นครูของท่าน ... หลวงพ่อกล้วยจังหวัดขอนแก่นนั่นเอง ... ผมตามไปบวชที่นั่น และก็ได้อะไรดีๆกลับมา
ส่วน Mission ของผม
ก็จากที่ถอดแบบจากอาจารย์วรภัทร์ ...
ผมก็เอามั่งครับ
ผมมี Mission
สร้าง สาน สลัก สละ มา 10 ปีแล้วครับ ...
และแม้ผมจะทำได้ไม่ถึง 1 ใน 10 ของท่าน เพราะภูมิธรรมผมยังน้อย ... สติยังน้อย .. ผมก็ค้นพบว่ามันสบายใจจริงๆ .. มีความสุขครับ ..
นี่ครับ การต่อจิ๊กซอว์ของ IKIGAI โดยการหาคนต้นแบบ มาถอดแบบเพื่อสร้าง Mission
แล้วต้นแบบในชีวิตของท่านคือใคร ... iKIGAI ของท่านเหล่านั้นคืออะไร .. ลองถอดเป็น Mission มาสิครับ จะเห็นทางเลยว่าแต่ละวันคุณจะทำอะไรบ้าง ... มีทิศทางกว่าครับ
วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูกันนะครับ
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
Appreciative Inquiry
โดย - ดร. ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง Thailand Appreciative Inquiry Network (AI Thailand)
Appreciative Inquiry (AI) เป็นศาสตร์การพัฒนาองค์กรศาสตร์ใหม่ ผมสอนเรื่องนี้มาสิบปีแล้ว ก็ยังรู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ เนื่องจากมีคนถามมากว่ามันคืออะไร วันนี้จะมาอธิบายอีกครั้งครับ ผมขออธิบายผ่านหนังโฆษณาของ TMB เรื่องปันหยี FC นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=2pesjdAry8I#action=share
ถ้าคุณดูจนจบ คุณจะเห็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นของเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เนื่องจากอยู่บนเกาะพื้นที่แคบ ทั้งหมดเลยได้แต่ดูอลทาง TV ซึ่งก็เหมือนผู้ใหญ่ที่ได้แต่เชียร์ บนเกาะเล็กๆ ไม่มีอะไรมากกว่าการโม้ว่าใครจับปลาได้มากกว่า กับการแข่งเรือหางยาว วันหนึ่งเด็กๆ เล็กๆ กลุ่มนี้ก็อยากเล่นบอล อยากเป็นแชมป์โลก แต่ไม่มีสนาม ก็เลยถามว่าทำไงกันดี ทั้งหมดเลยลงความเห็นว่า ต้องสร้างสนามบอล ทั้งหมดถูกผู้ใหญ่แซวว่าบ้าไปแล้ว เกาะนี้ไม่มีสนามจะไปเป็นแชมป์ได้อย่างไร
ไม่มีใครบ่น ทุกคนพยายามหาทางออก ทั้งหมดเลยไปหาวัสดุเหลือใช้ที่ทิ้งอยู่รอบเกาะ แล้วเอามาผูกกับแพปลาที่มีอยู่แล้ว จากนั้นก็ซ้อมกัน ไม่มีรองเท้า สนามลื่น ต้องเลี้ยงหลบตะปู ทั้งหมดเล่นบอลอย่างสนุกสนาน จนกระทั่งมีโอกาสไปลงแข่ง ก็สามารฝ่าฟันจนเข้ารอบชิง แต่แพ้ แต่ก็ได้ใจชาวบ้านที่สุด ชาวบ้านก็สร้างสนามบอล และหันมาสนับสนุน ปัจจุบันปันหยี FC ถือเป็นทีมบอลชั้นนำของภาคใต้
ชัดไหมครับ ไม่มีใครบ่น คุณจะเห็นเด็กอยากเล่นบอล อยากไปแชมป์โลก ไม่มีสนามก็สร้างสนามเอง ไม่มัวมาแคร์อุปสรรค เพราะอุปสรรค หรือจุดอ่อน กลับกลายทำให้เด็กกลุ่มนี้แกร่งขึ้น
ครับถ้าถามว่าอะไรจะอธิบายเรื่อง Appreciative Inquiry ได้ดีที่สุดก็เรื่องปันหยี FC นี่แหละครับ มาเจาะกันต่อครับ
Appreciative Inquiry คือ การพัฒนาองค์กรด้วยการตั้งคำถามเชิงบวก โดยมีสมมติฐานคือ “ในทุกระบบ ทุกตัวคน ทุกองค์กร มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้น รอการค้นพบอยู่” เราสามารถดึงเอาเรื่องดีๆ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่จบสิ้น
AI เกี่ยวข้องการการเลือกที่จะ Focus ครับ
คุณจะเห็นว่าทั้งเรื่อง...
“เราจะเป็นแชมป์โลก”
“แล้วเราจะทำไงกันดี”
แทนที่จะ Focus ว่าใครๆก็ไม่เล่นบอล ไม่มีสนาม ผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน นั่นคือ Focus แต่สิ่งที่เป็นจุดออ่อน หรือสิ่งที่ไม่มี ก็มา Focus ที่ความรักในฟุตบอล ไม่มีสนามก็มา Focus ที่สนาม มา Focus ที่การฝึกตัวเอง ลุย ติดปัญหาก็แก้เป็นจุดๆ ไป
นี่คือ AI เลย
AI เช่นกันครับ
AI เริ่มจากการตั้งโจทย์ Affirmative Choice ซึ่งคือการตั้งเป้าหมายหรือทิศทางการพัฒนาผ่านประโยคที่มีผลลัพธ์เชิงบวกผูกอยู่ .... AI เริ่มกันตั้งแต่ Choice คือการเลือกเลย เลือกว่าเราจะสร้างสรรค์อะไร ไม่แคร์ว่าไม่มีอะไร ไม่สนใจเสียงนกเสียงกา
Affirmative Choice ของเด็กกลุ่มนี้คือ “เราตั้งทีมบอล เราจะเป็นแชมป์โลก”
จากนั้นก็เขาสู่วงจร 4 D ดังนี้
Discovery คือ การถามว่าเรามีอะไรดีๆ อยู่
Dream เราจะเอาสิ่งดีๆที่มีอยู่ไปทำอะไร
Design มีฝันแล้วจะทำให้ฝันเป็นจริงอย่างไร
Destiny แบ่งหน้าที่ ลงมือทำตามความฝัน ทำไปประเมินผลไป เรียนรู้ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานไป หมุนวงจรไปเรื่อยๆ จนความฝันกลายเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับเด็กปันหยี ความรักฟุตบอล ทำให้เราได้ Affirmative Choice คือ “เราจะเป็นแชมป์โลก”
Discovery สิ่งที่เรามีอยู่คือความรักฟุตบอล ทักษะการเล่นบอล ฝีมือช่างไม้แบบตามมีตามเกิด เศษไม้ วัสดุเหลือใช้ที่อยู่รอบเกาะ แพปลา
Dream เราจะเป็นแชมป์โลก
Design ต้องมีสนามเล่น ไม่มีก็ทำเอาเอง หาเศษไม้มาผูกแพปลาก็ได้
Destiny ได้สนามแล้ว แบ่งหน้าที่กันตามตำแหน่งต่างๆในสนามบอล แล้วเล่นทุกวัน ฝึกไป เจออุปสรรคคือตะปู ก็หลบเอา มีที่ไหนแข่งก็ไป ระหว่างเล่นฝนตกก็ถอดรองเท้าเล่น ไม่แคร์อะไรมาก ที่สุดก็เริ่มได้แชมป์
AI คือ The Power of Positive Focus
เราจะ Focus ไปที่อะไรก็ได้ แล้วแต่คุณจะเลือกสร้างสรรค์อะไร Affirmative Choice
Affirmative Choice อาจมีที่มาได้จากหลายทาง เช่น ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งชื่อบูมชอบบอร์ดเกมส์มากๆ พอเรียน MBA ป.โทจะจบ เกิดงงชีวิต จะทำไงดีครับอาจารย์ Board game จะทำอะไรได้ ตอนนี้คงต้องหางานแล้ว คิดว่าคงต้องเล่นเป็นงานอดิเรกไปเรื่อยๆ
ผมก็เลยคุยกับเขาว่าอาจเปลี่ยนเป็นอาขีพได้นะ ลอง “เลือก” สิ
“ผมไม่มีเงินนะอาจารย์ ไม่มีทุนทำร้าน”
“เลือก” เลย
เอาหล่ะลองทำดู เลยถามว่าชาวโลกกำลังเดือดร้อนอะไร
เพราะถ้าคุณจะทำเป็นธุรกิจ คุณต้องเอาความสามารถของคุณไปแก้ปัญหาที่ชาวโลกต้องการ
“อาจารย์ครับ ตอนนี้โลกเป็นสังคมก้มหน้า ผมพบว่า ถ้าคนในครอบครัวเล่น Borad Game จะทำให้คนเลิกเล่นมือถือไปอย่างน้อยสองชั่วโมง”
Affirmative Choice ของบูมคือ “สร้างธุรกิจสอนเล่น Boardgame เพื่อทำให้คนหันมาสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน”
มาเข้าวงจร 4 D
Discovery ความภาคภูมิใจของบูมคือ บูมสามารถสอนคนเล่นเกมส์ได้หลากหลาย เอาเป็นว่าถ้าปู่จะเล่นกับหลานอาจารย์ 6-7 ขวบ บูมก็มีความสามารถในการแนะนำได้
Dream สร้างธุรกิจ Board Game แก้ปัญหาสังคม
Design ออกแบบชื่อร้าน Logo Khon Kaen Board Game Society (KKBS) ไปขอใช้พื้นที่คนอื่น
Destiny ทำคนเเดียว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ไปๆมา เลยได้หุ้นส่วนที่เป็นลูกศิษย์ AI อีกกลุ่มไปตั้งร้านใหม่ ตอนนี้ขยายไปทำกาแฟต่อ
นี่ครับ AI Focus ในสิ่งที่มี เอามาขยายผล สร้างความฝัน ทำไปเรื่อย เดี๋ยวมีคนสนับสนุนเอง เด็กปันหยี กับบูมเจอปรากฏการณ์เดียวกัน
และนี่คือวิชา Appreciative Inquiry ครับ
ค้นหาของดี เอาไปขยายผล สร้างความฝัน อย่างไร้ขีดจำกัด
วันนี้อะไรที่คุณกำลัง Focus ไปเป็นแชมป์โลกกันไหมครับ?
คุณล่ะ...คิดอย่างไร
วันนี้พอเท่านี้นะครับ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ