xs
xsm
sm
md
lg

มิติใหม่ SME Development Bank ยุคไทยแลนด์ 4.0

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ให้การต้อนรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเอสเอ็มอีแบงก์สนับสนุนลูกค้าขายของที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธพว. หรือ SME Development Bank เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนโยบายหลักในการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทย
มุ่งเน้นการพัฒนาด้านองค์ความรู้ควบคู่แหล่งเงินทุน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งและพร้อมเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน ภายใต้การบริหารงานที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) องค์กรดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดเป็นอันดับแรก
มงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. สนับสนุนลูกค้าขายของประชารัฐ
เอสเอ็มอีแบงก์อบรมตลาดออนไลน์
โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ประกาศหลักการบริหารกิจการและสังคมที่ดี 7 ประการ เพื่อเป็นแนวทางให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานได้ยึดถือและปฎิบัติ ประกอบด้วย
หนึ่ง - หลักนิติธรรม หมายถึง การดำเนินงานหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และเงื่อนไขที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม โดยเป็นที่ยอมรับและมีความเท่าเทียมกันในการยึดถือปฏิบัติ
สอง - หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม โดยรณรงค์ให้พนักงานธนาคารประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของธนาคาร และยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวอย่างแก่สังคมอย่างซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
สาม - หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของธนาคารให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา เพียงพอและมีกระบวนการให้ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
สี่ - หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนรับรู้ และร่วมเสนอความคิดเห็นในการตัดสินปัญหาสำคัญของธนาคาร ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การแสดงประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
ห้า - หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบ การใส่ใจ การกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของลูกค้า และการยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ และจากการดำเนินงาน รวมทั้งความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบและประเมินผล
หก - หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้พนักงานมีความประหยัด รักษาผลประโยชน์ของธนาคาร ใช้ปัจจัยในการผลิตอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์งานบริการที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เจ็ด - หลักการปกครอง หมายถึง การบริหารจัดการ พึงยึดถือความเสมอภาคและความเป็นหนึ่งขององค์กร ผู้บริหารและพนักงานพึงตระหนักว่าตนเป็นคนขององค์กรโดยไม่มีการแบ่งแยก
แถลงข่าวแสดงผลประเมินความโปร่งใส

ผลลัพธ์จากทัศนคติที่ดีของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ต่อองค์กร สะท้อนความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ล่าสุดในปี 2559 ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างมากเนื่องจากธนาคารฯ ได้รับคะแนนสูงถึงร้อยละ 89.55 อยู่ในลำดับที่ 13 ซึ่งถือเป็นลำดับสูงสุดของเกณฑ์การให้คะแนนหน่วยงานภาครัฐของ ป.ป.ช. และคะแนนสูงกว่าปี 2558 ปีแรกที่ธนาคารเข้าร่วมในการประเมิน ได้รับคะแนนเพียงร้อยละ 79.44 อยู่ในลำดับที่ 73
โดยปี 2557 ธนาคารฯ ได้ลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับป.ป.ช. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ยึดหลักการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1.แบบสำรวจการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Integrity and Transparency Assessment : EBIT)
2.ข้อมูลบุคลากรภายในหน่วยงาน ตามแบบสำรวจความคิดเห็นภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT)
3.ข้อมูลผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน ตามแบบสำรวจความคิดเห็น (External Integrity and Transparency Assessment : EIT)
จึงเป็นการยืนยันได้อย่างดีถึงความมุ่งมั่นและความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร โดยยึดหลักธรรมาภิบาล รวมถึง ความพร้อมในการดำเนินภารกิจอันสำคัญตามวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้คือ การเป็นสถาบันการเงินหลักของรัฐที่มั่นคงยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ไทย
มงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวว่า ในฐานะที่ ธพว .เป็นธนาคารของรัฐ จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างรากฐานของผู้ประกอบการและธุรกิจเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง มุ่ง”พัฒนา”ศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเอสเอ็มอี ด้วยองค์ความรู้แบบรอบด้านครบทุกมิติ ควบคู่กับเป็นแหล่งเงินทุนให้บริการสินเชื่อธุรกิจ ผู้ประกอบการคือต้นน้ำ ธพว.จึงมีบทบาทภารกิจหลักเป็นกลางน้ำ เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่สะดุด เพื่อส่งต่อสู่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นปลายน้ำ เข้ามารับช่วงในการขยายธุรกิจ ด้วยรากฐานที่ผ่านการบ่มเพาะที่ดี จึงสามารถต่อยอดให้เติบโตเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และเติบโตเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้อย่างยั่งยืน
เอสเอ็มอีแบงก์ มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา
การที่เอสเอ็มอีจะอยู่รอดได้ต้องมีการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด และด้านการผลิต ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป ปกติเอสเอ็มอีมีภูมิคุ้มกันน้อยเปรียบเหมือนต้นกล้าที่ยังไม่แข็งแรง เมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ก็ยากที่จะยืนต้นอยู่ได้ การพัฒนา 3 ด้านหลักดังกล่าวจึงเป็นเหมือนไม้ค้ำยัน โดยต้องลงลึกไปในเรื่องต่างๆ เช่น การพัฒนาเทคนิคการผลิตที่นำไปสู่คุณภาพและมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับ การใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้บริโภคฯลฯ เพื่อให้เอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่า“จิ๋วแต่แจ๋ว”
โดยเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีจุดอ่อนที่น่าเป็นห่วง 5 เรื่องสำคัญ คือ 1.ความล้าสมัย ไม่ปรับตัว ไม่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจไม่ตรงกับความต้องการของตลาดยุคปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยี นวัตกรรม ฯลฯ 2.ไม่มีความพร้อมหรือไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ ทำให้การสร้างตลาดที่แข็งแกร่งเป็นไปได้ยาก 3.สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไม่มีการออกแบบหรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้โดดเด่นแตกต่าง 4.ไม่มีคุณภาพหรือมาตรฐานที่สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และ5.ไม่ได้ให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจยุค 4.0
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องสร้างจุดแข็ง 5 ส่วนสำคัญเป็นกระบวนการ เพื่อปิดจุดอ่อนและก้าวไปสู่ความสำเร็จ
ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจ นั่นคือ 1.ความทันสมัย (Modern) เปิดรับทุกการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 2.มีแบรนด์หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ (Story) เพื่อสร้างจุดเด่นหรือความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำ 3.มีการออกแบบสินค้าหรือธุรกิจ (Design) ที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4.มีคุณภาพมาตรฐานที่ผ่านการรับรอง (Certify) จากสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และ5.ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสร้างตลาดบนโลกออนไลน์ (Online) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ออกบูธสินเชื่อ
ทั้งนี้ เพื่อผลักดันเอสเอ็มอียุคไทยแลนด์ 4.0 ไปสู่เป้าหมาย ธพว.ได้นำแนวทาง “ประชารัฐ” มาใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการผ่านโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พร้อมกับการเดินหน้าโครงการต่างๆ เช่น สินเชื่อ SMEs Transformation Loan และสินเชื่อ SMART SMEs บัญชีเดียว ฯลฯ รวมถึง การติดปีกอาวุธความรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านกิจกรรมต่างๆ สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวสู่ตลาดกลุ่ม AEC หรือกลุ่ม CLMV เช่น งานสัมมนา “โอกาสรวย SMEs บุกตลาด CLMV” งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“เจาะตลาดออนไลน์ LAZADA เว็บขายสินค้าใหญ่สุดของไทย” งานสัมมนา“คิดต่างสร้างเงินล้าน ผนวกอาหารผสานนวัตกรรม” และงานสัมมนา“พลิกแนวคิดพิชิตความสำเร็จธุรกิจโรงแรม และบริการยุคประเทศไทย 4.0” ฯลฯ เพื่อระดมความช่วยเหลือและการส่งเสริมที่หลากหลายต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่ สอดรับกับบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่พร้อมสานต่อนโยบายจากภาครัฐ
ธพว. ทำบุญใส่บาตร ถวายเป็นพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน)
กำลังโหลดความคิดเห็น