ก.อุตเตรียมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ หวังยกระดับยานยนต์ไฟฟ้า
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปี 2560 ว่า ปีนี้คาดการณ์ว่าจะมียอดการผลิตรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคัน เป็นการจำหน่ายในประเทศ 8 แสนคันและส่งออก 1.2 ล้านคัน แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ของประเทศไทยจะสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โลก ที่ผ่านมาได้ผูกโยงกับโครงสร้ างภาษีสรรพสามิต เช่น รถอีโคคาร์ รถที่ปล่อย CO2 น้อยและมีอุปกรณ์สำหรับความปลอด ภัยสูงจะมีภาระภาษีลดลง โดยรถยนต์ในอนาคตจะมีคุณสมบัติ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย”
การออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศ จะทำให้ไทยมุ่งสู่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการส่งเสริมฯ รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท เพื่อให้ครอบคลุมเทคโนโลยี ของแต่ละค่ายที่มีทิศทางที่ แตกต่างกัน เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รวมถึงชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ เวลาอีกพอสมควร ถ้าไม่เริ่มวันนี้จะช้าทั้งนี้ เพื่อรักษาขี ดความสามารถในการเป็นผู้ นำการผลิตรถยนต์ของไทย
“ปัจจุบัน กระทรวงฯมี 2 โครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ 1.การจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ และยางล้อแห่งชาติ ณ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์ กลางการผลิตยางล้อและยานยนต์ ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ จากยางพารา ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ท็อบเทนของโลก ได้มีฐานการผลิตในไทยแล้ว 5 ราย และมีโอกาสที่ขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น หรือดึงดูดรายใหม่ให้เข้ามา
2.โครงการศูนย์การเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และส่งเสริมผู้ประกอบการรถยนต์ เทคโนโลยีไฟฟ้า เพื่อให้เกิดอุปสงค์และอุปทานเพิ่มขึ้น ขณะนี้ประเทศที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากมี จีน สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และเนเธอร์แลนด์” นายสมชาย กล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าวมี 3 กิจกรรมหลัก คือ 1การเรียนรู้เทคโนโลยียานยนต์ ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมถึงสถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบ 2 การจัดทำข้อมูลรายงานการศึกษาที่ เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และ 3 การประชาสัมพันธ์ โดยส่วนของการเรียนรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุ ตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะจัดเป็ นนิทรรศการในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมปี 2560 และจะมีพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ อย่างเป็นทางการช่วงไตรมาส 3
ทั้งนี้ การสร้างฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศ จะต้องมีการดำเนินงานอย่างบูรณาการครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการสร้างอุปทานด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่น เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่น่ าสนใจ การให้สิทธินำเข้ารถไฟฟ้ามาทดสอบตลาด แผนการพัฒนาห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) แผนจัดการแบตเตอรี่ที่หมดอายุ ฯลฯ และมาตรการกระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น การมาตรฐานเต้ารับเต้าเสียบ การสนับสนุนการจัดซื้อรถไฟฟ้าของภาครัฐ
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปี 2560 ว่า ปีนี้คาดการณ์ว่าจะมียอดการผลิตรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคัน เป็นการจำหน่ายในประเทศ 8 แสนคันและส่งออก 1.2 ล้านคัน แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ของประเทศไทยจะสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โลก ที่ผ่านมาได้ผูกโยงกับโครงสร้ างภาษีสรรพสามิต เช่น รถอีโคคาร์ รถที่ปล่อย CO2 น้อยและมีอุปกรณ์สำหรับความปลอด ภัยสูงจะมีภาระภาษีลดลง โดยรถยนต์ในอนาคตจะมีคุณสมบัติ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย”
การออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศ จะทำให้ไทยมุ่งสู่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการส่งเสริมฯ รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท เพื่อให้ครอบคลุมเทคโนโลยี ของแต่ละค่ายที่มีทิศทางที่ แตกต่างกัน เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รวมถึงชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ เวลาอีกพอสมควร ถ้าไม่เริ่มวันนี้จะช้าทั้งนี้ เพื่อรักษาขี ดความสามารถในการเป็นผู้ นำการผลิตรถยนต์ของไทย
“ปัจจุบัน กระทรวงฯมี 2 โครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ 1.การจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ และยางล้อแห่งชาติ ณ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์ กลางการผลิตยางล้อและยานยนต์ ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ จากยางพารา ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ท็อบเทนของโลก ได้มีฐานการผลิตในไทยแล้ว 5 ราย และมีโอกาสที่ขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น หรือดึงดูดรายใหม่ให้เข้ามา
2.โครงการศูนย์การเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และส่งเสริมผู้ประกอบการรถยนต์ เทคโนโลยีไฟฟ้า เพื่อให้เกิดอุปสงค์และอุปทานเพิ่มขึ้น ขณะนี้ประเทศที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากมี จีน สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และเนเธอร์แลนด์” นายสมชาย กล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าวมี 3 กิจกรรมหลัก คือ 1การเรียนรู้เทคโนโลยียานยนต์ ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมถึงสถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบ 2 การจัดทำข้อมูลรายงานการศึกษาที่ เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และ 3 การประชาสัมพันธ์ โดยส่วนของการเรียนรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุ ตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะจัดเป็ นนิทรรศการในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมปี 2560 และจะมีพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ อย่างเป็นทางการช่วงไตรมาส 3
ทั้งนี้ การสร้างฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศ จะต้องมีการดำเนินงานอย่างบูรณาการครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการสร้างอุปทานด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่น เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่น่ าสนใจ การให้สิทธินำเข้ารถไฟฟ้ามาทดสอบตลาด แผนการพัฒนาห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) แผนจัดการแบตเตอรี่ที่หมดอายุ ฯลฯ และมาตรการกระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น การมาตรฐานเต้ารับเต้าเสียบ การสนับสนุนการจัดซื้อรถไฟฟ้าของภาครัฐ