แม่โจ้โพลล์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำรวจความคิดเห็นของคนไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,220 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18 - 30 มีนาคม 2560 ในหัวข้อ “พฤติกรรมการบริโภคข้าวของคนไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการบริโภคข้าวของคนไทย ผลการสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 65.43 หุงข้าวรับประทานเองที่บ้าน และร้อยละ 34.57 ใช้วิธีซื้อข้าวที่หุงแล้วรับประทาน หรือเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน
ปริมาณการบริโภคข้าวในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทย ร้อยละ 50.86 มีการบริโภคข้าวในปริมาณเท่าเดิมเมื่อเทียบกับในอดีต ร้อยละ 28.47 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 20.67 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่ลดลง ในส่วนของการเลือกซื้อข้าวเพื่อนำไปบริโภคนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.73 เลือกบริโภคข้าวขาว/ข้าวขัดสี ในขณะที่อีกร้อยละ 25.27 เลือกบริโภคข้าวแบบไม่ขัดสี/ข้าวกล้อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกบริโภคข้าวหอมมะลิ/ข้าวหอมต่าง ๆ มากที่สุด (ร้อยละ 83.00) รองลงมาคือข้าวขาว (ร้อยละ 13.00) และข้าวผสมอื่น ๆ (ร้อยละ 4.00) ส่วนลักษณะเด่นของข้าวที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุดคือ ความนุ่มของข้าว (ร้อยละ 45.33) รองลงมาคือ ความหอมของข้าว (ร้อยละ 17.30) ผลดีต่อสุขภาพจากการบริโภค (ร้อยละ 15.66) การหุงขึ้นหม้อ (ร้อยละ 10.57) รสชาติของข้าว (ร้อยละ 7.30) และความเหนียวความร่วนของข้าว (ร้อยละ 3.85)
ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อข้าว อันดับที่ 1 คือคุณภาพข้าว/พันธุ์ข้าว (ร้อยละ 51.89) อันดับที่ 2 คือราคา (ร้อยละ17.73) อันดับที่ 3 คือมาตรฐานความปลอดภัย (ร้อยละ 15.35) อันดับที่ 4 คือความสะดวกในการหาซื้อ (ร้อยละ 9.85) อันดับที่ 5 คือมีกิจกรรมหรือรายการการส่งเสริมการขาย (ร้อยละ 1.49) และมีเพียงร้อยละ 3.69 เท่านั้นที่ไม่ได้มีการพิจารณาปัจจัยใดเป็นพิเศษ
สำหรับการที่ชาวนาในปัจจุบันเริ่มมีการนำข้าวเปลือกมาแปรรูปและจำหน่ายด้วยตนเองนั้น เมื่อสอบถามผู้บริโภคว่าจะซื้อหรือไม่ พบว่า ผู้บริโภคถึงร้อยละ 93.60 จะให้การสนับสนุนโดยการซื้อแน่นอน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเพราะต้องการช่วยเหลือชาวนา มีเพียงร้อยละ 6.40 เท่านั้นที่จะไม่เลือกซื้อโดยตรงจากชาวนา โดยบางส่วนให้เหตุผลว่าไม่สะดวกในการเลือกซื้อ รวมถึงไม่มั่นใจในคุณภาพของข้าว ในส่วนของข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และการมีปริมาณผลผลิตที่มากเกิดความต้องการของตลาดนั้น ผู้บริโภคให้ข้อเสนอแนะว่า ควรให้ชาวนามุ่งเน้นการผลิตที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ หรือข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย มาตรการทางด้านราคาแก่เกษตรกร เช่นนโยบายการรับจำนำข้าว หรือการประกันราคาข้าว มาตรการที่ช่วยสนับสนุนให้มีการบริโภคข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการการขยายตลาดส่งออกข้าวให้มากขึ้น เป็นต้น
ปริมาณการบริโภคข้าวในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทย ร้อยละ 50.86 มีการบริโภคข้าวในปริมาณเท่าเดิมเมื่อเทียบกับในอดีต ร้อยละ 28.47 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 20.67 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่ลดลง ในส่วนของการเลือกซื้อข้าวเพื่อนำไปบริโภคนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.73 เลือกบริโภคข้าวขาว/ข้าวขัดสี ในขณะที่อีกร้อยละ 25.27 เลือกบริโภคข้าวแบบไม่ขัดสี/ข้าวกล้อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกบริโภคข้าวหอมมะลิ/ข้าวหอมต่าง ๆ มากที่สุด (ร้อยละ 83.00) รองลงมาคือข้าวขาว (ร้อยละ 13.00) และข้าวผสมอื่น ๆ (ร้อยละ 4.00) ส่วนลักษณะเด่นของข้าวที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุดคือ ความนุ่มของข้าว (ร้อยละ 45.33) รองลงมาคือ ความหอมของข้าว (ร้อยละ 17.30) ผลดีต่อสุขภาพจากการบริโภค (ร้อยละ 15.66) การหุงขึ้นหม้อ (ร้อยละ 10.57) รสชาติของข้าว (ร้อยละ 7.30) และความเหนียวความร่วนของข้าว (ร้อยละ 3.85)
ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อข้าว อันดับที่ 1 คือคุณภาพข้าว/พันธุ์ข้าว (ร้อยละ 51.89) อันดับที่ 2 คือราคา (ร้อยละ17.73) อันดับที่ 3 คือมาตรฐานความปลอดภัย (ร้อยละ 15.35) อันดับที่ 4 คือความสะดวกในการหาซื้อ (ร้อยละ 9.85) อันดับที่ 5 คือมีกิจกรรมหรือรายการการส่งเสริมการขาย (ร้อยละ 1.49) และมีเพียงร้อยละ 3.69 เท่านั้นที่ไม่ได้มีการพิจารณาปัจจัยใดเป็นพิเศษ
สำหรับการที่ชาวนาในปัจจุบันเริ่มมีการนำข้าวเปลือกมาแปรรูปและจำหน่ายด้วยตนเองนั้น เมื่อสอบถามผู้บริโภคว่าจะซื้อหรือไม่ พบว่า ผู้บริโภคถึงร้อยละ 93.60 จะให้การสนับสนุนโดยการซื้อแน่นอน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเพราะต้องการช่วยเหลือชาวนา มีเพียงร้อยละ 6.40 เท่านั้นที่จะไม่เลือกซื้อโดยตรงจากชาวนา โดยบางส่วนให้เหตุผลว่าไม่สะดวกในการเลือกซื้อ รวมถึงไม่มั่นใจในคุณภาพของข้าว ในส่วนของข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และการมีปริมาณผลผลิตที่มากเกิดความต้องการของตลาดนั้น ผู้บริโภคให้ข้อเสนอแนะว่า ควรให้ชาวนามุ่งเน้นการผลิตที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ หรือข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย มาตรการทางด้านราคาแก่เกษตรกร เช่นนโยบายการรับจำนำข้าว หรือการประกันราคาข้าว มาตรการที่ช่วยสนับสนุนให้มีการบริโภคข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการการขยายตลาดส่งออกข้าวให้มากขึ้น เป็นต้น