xs
xsm
sm
md
lg

“อุตตม” ย้ำนักลงทุนแห่สนใจลงทุนใน EEC

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กนอ.เผยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 3 โปรเจค 2.6 หมื่นล้านรองรับ EEC

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 12/2560 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม โดยก่อนการประชุมนายกรัฐมนตรี และคณะได้เยี่ยมชมพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกภายในสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้เป็นทางวิ่งหมายเลข 2 ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ และศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินและอวกาศ และประชุมร่วมกับผู้นำนักธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

จากนั้นเป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ระหว่างกองทัพเรือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันการบินพลเรือน รวมทั้งสิ้น 3 ฉบับ โดยสาระสำคัญของความตกลงทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ระยะที่ 1 ระหว่างกองทัพเรือ และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาศูนย์ ขนส่งสินค้าทางอากาศและ โลจิสติกส์ ระยะที่ 1 ระหว่างกองทัพเรือ และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ 3.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาศูนย์ ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศ ระหว่างกองทัพเรือและสถาบันการบินพลเรือน โดยขอบเขตของความร่วมมือยังครอบคลุมถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการบินและโลจิสติกส์ของไทย การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบิน รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ระบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอย่างเต็มที่ โดยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน โดยที่ผู้นำธุรกิจเห็นด้วยที่จะช่วยเผยแพร่ความตั้งใจของรัฐบาลให้กับนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ ระดับสูงเทียบกับประเทศในภูมิภาค

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงการใน EEC โดยเฉพาะโครงการหลักๆ ในปี 2560 ที่จะเริ่มเดินหน้าอย่างจริงจัง มีการทำ PPP การดำเนินการทางศุลกากรในเรื่องของ Free Tread Zone หรือการเชิญชวนให้นักลงทุน ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น BMW ก็ได้ให้ความมั่นใจว่าจะเข้าไปร่วมลงทุนใน EEC แน่นอน เช่นเดียวกับทาง Toyota ที่ยืนยันว่าจะเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ และใช้ฐานการผลิตใน EEC

ขณะเดียวกันในส่วนของอุตสาหกรรม E- Commerce Digital โดยเฉพาะอาลีบาบา/Lazada ที่ยืนยันว่าจะมาร่วมลงทุนใน E- Commerce Park อย่างแน่นอน รวมทั้ง Google และ Microsoft นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยางพารา ที่ทางบริษัท บริดจสโตน กำลังจะเริ่มผลิตยางล้อเครื่องบิน ซึ่งสอดรับกับอุตสาหกรรมอากาศยานที่จะเกิดขึ้นใน EEC ด้วย

“แต่ทั้งหมดที่ได้ชี้แจงนั้น ก็ต้องเริ่มจากการพัฒนาบุคลากรของประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษา ทรัพยากรที่เพียงพอ งานวิจัยต่างๆ ซึ่งได้เชิญให้สถาบันการศึกษาในต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมด้วย” นายอุตตม กล่าว

ด้าน ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพั ฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า ในปี 2560 สิ่งที่จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนก็คือ 1.การประกาศนโยบายเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City ) ณ สนามบินอู่ตะเภา เพื่อรองรับประชากร 60 ล้านคนในอนาคต รวมทั้งการก่อสร้างทางวิ่งที่2 และระบบสาธารณูปโภค 2.การลงทุนรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกโดยได้วางแผนให้รถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออกเชื่อมต่อได้ทั้ง 3 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ 3.เป็นประตูตะวันออกสู่เอเชีย

โดยทั้ง3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง มาบตาพุด สัตหีบ) เป็นส่วนหนึ่งของEastern Sea Gateway) 4. เป็นผู้นำอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีบริษัทชั้นนำลงทุนในพื้นที่ และ5.การพัฒนา3เมืองใหม่ ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยองให้เป็นศูนย์ กลางการพัฒนาและเป็นมหานครแห่งอนาคต

ขณะที่นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในส่วนของโครงการที่ กนอ.ดูแล ว่า ขณะนี้ กนอ.ตั้งงบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีรวม 26,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาแล้ว คาดจะแล้วเสร็จภายใน 3-6 เดือนนับจากนี้ 2.โครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมอตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอลในอี อีซี (Digital Park Thailand: EECd) บนพื้นที่ 700 ไร่ งบลงทุน 1,000 ล้านบาท รองรับอุตสาหกรรมที่ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง ปิโตรเคมี ศูนย์ซ่อมอากาศยาน แอร์บัส คาดการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2564 และ 3.การเตรียมพื้นที่ใหม่รองรับนิ คมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี จำนวน 10,000 ไร่ วงเงิน 15,000 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น