ธนาคารกรุงเทพและกสิกรไทย 2 ผู้นำธุรกิจเครื่องรับบัตรที่มีส่วนแบ่งตลาดรวม 70% ภายใต้ความร่วมมือ “กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นต์” ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงการคลังให้ติดตั้งเครื่องอีดีซีตามร้านค้า หน่วยงานภาครัฐ มั่นใจภายในเดือน มี.ค. 61 ได้ 550,000 ราย ตามเป้าหมายของรัฐบาล หวังระยะยาวคนไทยชำระเงินผ่านบัตรมากขึ้น และภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับรัฐบาลที่มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศ
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ในฐานะพันธมิตรที่ดีและร่วมมือกันในหลายโครงการ จับมือร่วมกันในชื่อ “กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นต์” ได้รับการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงการคลัง เข้าร่วมดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ในการติดตั้งเครื่องรูดบัตร (EDC) จำนวน 550,000 รายทั่วประเทศ โดยมั่นใจว่าด้วยความแข็งแกร่งของฐานร้านค้ารับบัตรเครดิตเดิมของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยที่รวมกันแล้วมีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จะช่วยให้การดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาล และจะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในการชำระเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนไทย
โดยเฉพาะการรับบัตรที่มีโครงสร้างเครือข่ายระบบการชำระเงินของประเทศไทย (Local Card Scheme) หรือบัตรที่มีการประมวลผลในประเทศ (Local Switching) ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีแบรนด์ เทคโนโลยี และกฎข้อบังคับของตนเอง ที่จะทำให้ต้นทุนค่าธรรมเนียมต่ำลง สอดคล้องกับโครงการในครั้งนี้ที่ได้มีการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate) หรือ MDR สูงสุดไม่เกิน 0.55% ต่อครั้ง ดึงดูดให้ร้านค้าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ยินดีรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเดบิตมีจำนวนขยายตัวในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพจะเพิ่มความมั่นใจให้กับร้านค้าต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองธนาคารมีกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกัน สามารถจัดสรรเป้าหมายและแบ่งภาระความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีการวางแผนความร่วมมือในระยะยาว ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศให้ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศ
โครงการนี้ได้เปิดโอกาสให้ธนาคารซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการติดตั้งเครื่องอีดีซีกับหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าไปมีส่วนในการขยายบริการทางการเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับการเข้าติดต่อร้านค้านิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเป็นอีกช่องทางในการขยายฐานลูกค้า และเป็นการเปิดโอกาสให้ธนาคารได้นำเสนอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการตัดสินใจด้วย
ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย มีความยินดีและภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับรัฐบาลที่มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศ เพื่อลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน และส่งเสริมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และลดการใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ การกระจายติดตั้งเครื่องรูดบัตร (EDC) ทั่วประเทศให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และร้านค้าทั่วไป จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชน และภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึง และใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเดบิต ได้อย่างสะดวก และแพร่หลาย ด้วยต้นทุนการจัดการเงินสดที่ลดลง ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นผลดีในระยะยาวต่อประเทศ ภาคธุรกิจการค้า และประชาชน ทำให้โครงสร้างเครือข่ายระบบการชำระเงินของประเทศไทยเทียบเท่าระบบสากล ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลในเรื่อง National e-Payment ในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินเพื่อเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ในอนาคต
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ในฐานะพันธมิตรที่ดีและร่วมมือกันในหลายโครงการ จับมือร่วมกันในชื่อ “กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นต์” ได้รับการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงการคลัง เข้าร่วมดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ในการติดตั้งเครื่องรูดบัตร (EDC) จำนวน 550,000 รายทั่วประเทศ โดยมั่นใจว่าด้วยความแข็งแกร่งของฐานร้านค้ารับบัตรเครดิตเดิมของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยที่รวมกันแล้วมีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จะช่วยให้การดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาล และจะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในการชำระเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนไทย
โดยเฉพาะการรับบัตรที่มีโครงสร้างเครือข่ายระบบการชำระเงินของประเทศไทย (Local Card Scheme) หรือบัตรที่มีการประมวลผลในประเทศ (Local Switching) ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีแบรนด์ เทคโนโลยี และกฎข้อบังคับของตนเอง ที่จะทำให้ต้นทุนค่าธรรมเนียมต่ำลง สอดคล้องกับโครงการในครั้งนี้ที่ได้มีการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate) หรือ MDR สูงสุดไม่เกิน 0.55% ต่อครั้ง ดึงดูดให้ร้านค้าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ยินดีรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเดบิตมีจำนวนขยายตัวในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพจะเพิ่มความมั่นใจให้กับร้านค้าต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองธนาคารมีกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกัน สามารถจัดสรรเป้าหมายและแบ่งภาระความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีการวางแผนความร่วมมือในระยะยาว ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศให้ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศ
โครงการนี้ได้เปิดโอกาสให้ธนาคารซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการติดตั้งเครื่องอีดีซีกับหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าไปมีส่วนในการขยายบริการทางการเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับการเข้าติดต่อร้านค้านิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเป็นอีกช่องทางในการขยายฐานลูกค้า และเป็นการเปิดโอกาสให้ธนาคารได้นำเสนอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการตัดสินใจด้วย
ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย มีความยินดีและภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับรัฐบาลที่มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศ เพื่อลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน และส่งเสริมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และลดการใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ การกระจายติดตั้งเครื่องรูดบัตร (EDC) ทั่วประเทศให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และร้านค้าทั่วไป จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชน และภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึง และใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเดบิต ได้อย่างสะดวก และแพร่หลาย ด้วยต้นทุนการจัดการเงินสดที่ลดลง ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นผลดีในระยะยาวต่อประเทศ ภาคธุรกิจการค้า และประชาชน ทำให้โครงสร้างเครือข่ายระบบการชำระเงินของประเทศไทยเทียบเท่าระบบสากล ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลในเรื่อง National e-Payment ในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินเพื่อเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ในอนาคต