กระทรวงอุตสาหกรรม แนะบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สร้างภูมิคุ้มกันให้สถานประกอบการและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการป้องกันและการบริหารจัดการปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสถานประกอบการอุตสาหกรรมมาตลอด ซึ่งมาตรการเชิงรุกสำคัญที่ได้นำมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ไปพร้อมกับส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมมีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ และผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมถึง 1,508 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.04 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวอย่างของการทำงานแบบบูรณาการอย่างแท้จริงระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
“ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม” เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้สถานประกอบการและชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยการกำกับ ดูแล สนับสนุนรณรงค์ให้สถานประกอบใช้หลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมไปใช้ให้อย่างแพร่หลาย
ดร.วิฑูรย์ กล่าวว่า ผลจากการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้ประกอบการทั้ง 262 ราย พบว่า มีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมจำนวน 258 ราย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย กับกระทรวงอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดที่ให้ความร่วมมือ ผนึกกำลังให้การดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
โดยมีผลงานดีเด่นภายใต้นโยบาย 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง และ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ประจำปี 2557 และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณโครงการคัดเลือกผลงานดีเด่นของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง และ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ 14 รางวัล รวม 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร พิษณุโลก ระยอง สุรินทร์ นนทบุรี ปทุมธานี กระบี่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และสมุทรสาคร
นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกิจกรรม 1 จังหวัด 1 รายงาน ซึ่งเป็นการประกวดแข่งขันด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ผ่านระบบ I plan ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช นนทบุรี ตรัง ลพบุรี บุรีรัมย์ และยะลา
สำหรับโครงการ 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง เป็นการประกวดการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานในทุกมิติ ภายในสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สอจ. ยโสธร รับโล่และเงินสด 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สอจ. พิษณุโลก รับโล่และเงินสด 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สอจ. ระยอง รับโล่และเงินสด 2,000 บาท รางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ. สุรินทร์ (2 รางวัล) สอจ.นนทบุรี และสอจ.ปทุมธานี รับโล่อย่างเดียว
ส่วนโครงการ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ เป็นการประกวดประสิทธิภาพของการบูรณาการ การทำงานกับหน่วยงานภายนอกสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดิรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สอจ. ยโสธร รับโล่และเงินสด 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สอจ. ปทุมธานี รับโล่และเงินสด 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สอจ. กระบี่ รับโล่และเงินสด 2,000 บาท และรางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ. แม่ฮ่องสอน สอจ. ลำพูน สอจ. ลำปาง และสอจ. สมุทรสาคร รับโล่อย่างเดียว
สำหรับกิจกรรม 1 จังหวัด 1 รายงาน ประจำปีงบประมาณ 2557 เป็นการแข่งขันเรื่องการรายงานผลการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ รางวัลที่ 1 ได้แก่ สอจ.นครศรีธรรมราช รางวัลที่ 2 ได้แก่ สอจ.นนทบุรี รางวัลที่ 3 ได้แก่ สอจ.ตรัง และรางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ.ลพบุรี
สอจ.บุรีรัมย์ และสอจ.ยะลา
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการป้องกันและการบริหารจัดการปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสถานประกอบการอุตสาหกรรมมาตลอด ซึ่งมาตรการเชิงรุกสำคัญที่ได้นำมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ไปพร้อมกับส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมมีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ และผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมถึง 1,508 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.04 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวอย่างของการทำงานแบบบูรณาการอย่างแท้จริงระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
“ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม” เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้สถานประกอบการและชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยการกำกับ ดูแล สนับสนุนรณรงค์ให้สถานประกอบใช้หลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมไปใช้ให้อย่างแพร่หลาย
ดร.วิฑูรย์ กล่าวว่า ผลจากการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้ประกอบการทั้ง 262 ราย พบว่า มีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมจำนวน 258 ราย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย กับกระทรวงอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดที่ให้ความร่วมมือ ผนึกกำลังให้การดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
โดยมีผลงานดีเด่นภายใต้นโยบาย 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง และ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ประจำปี 2557 และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณโครงการคัดเลือกผลงานดีเด่นของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง และ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ 14 รางวัล รวม 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร พิษณุโลก ระยอง สุรินทร์ นนทบุรี ปทุมธานี กระบี่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และสมุทรสาคร
นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกิจกรรม 1 จังหวัด 1 รายงาน ซึ่งเป็นการประกวดแข่งขันด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ผ่านระบบ I plan ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช นนทบุรี ตรัง ลพบุรี บุรีรัมย์ และยะลา
สำหรับโครงการ 1 จังหวัด 1 การปรับปรุง เป็นการประกวดการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานในทุกมิติ ภายในสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สอจ. ยโสธร รับโล่และเงินสด 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สอจ. พิษณุโลก รับโล่และเงินสด 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สอจ. ระยอง รับโล่และเงินสด 2,000 บาท รางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ. สุรินทร์ (2 รางวัล) สอจ.นนทบุรี และสอจ.ปทุมธานี รับโล่อย่างเดียว
ส่วนโครงการ 1 จังหวัด 1 บูรณาการ เป็นการประกวดประสิทธิภาพของการบูรณาการ การทำงานกับหน่วยงานภายนอกสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดิรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สอจ. ยโสธร รับโล่และเงินสด 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สอจ. ปทุมธานี รับโล่และเงินสด 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ สอจ. กระบี่ รับโล่และเงินสด 2,000 บาท และรางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ. แม่ฮ่องสอน สอจ. ลำพูน สอจ. ลำปาง และสอจ. สมุทรสาคร รับโล่อย่างเดียว
สำหรับกิจกรรม 1 จังหวัด 1 รายงาน ประจำปีงบประมาณ 2557 เป็นการแข่งขันเรื่องการรายงานผลการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ รางวัลที่ 1 ได้แก่ สอจ.นครศรีธรรมราช รางวัลที่ 2 ได้แก่ สอจ.นนทบุรี รางวัลที่ 3 ได้แก่ สอจ.ตรัง และรางวัลชมเชย ได้แก่ สอจ.ลพบุรี
สอจ.บุรีรัมย์ และสอจ.ยะลา