PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบ
บัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีและบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก เผยรายงานล่าสุด Global Entertainment and Media Outlook 2014-2018
PwC คาดการใช้จ่ายผ่านสื่อและบันเทิงของไทยในปี 2561 จะสูงกว่า 4.3 แสนล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง 5 ปีข้างหน้าเติบโตเฉลี่ย 7.3% ต่อปี แซงหน้าตลาดสหรัฐ-ยุโรปและอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วโลกหลังได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของธุรกิจโฆษณาออนไลน์ การใช้งานเคเบิ้ลทีวี และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น
หากมองเทคโนโลยี 4Gเป็นปัจจัยสำคัญช่วยกระตุ้นการใช้สื่อออนไลน์ มั่นใจหน่วยงานของรัฐเร่งเปิดประมูลเร็วที่สุดหลังเคลียร์ความโปร่งใส พร้อมมองอนาคตจีน จะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่มีอัตราการเติบโตด้านสื่อ-บันเทิงมากที่สุด
ผลจากบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ ได้แก่ แนวโน้มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงทั่วโลกระหว่างปี 2557-2561 (Global Entertainment and Media Outlook 2014-2018) ว่า มูลค่าการใช้จ่ายด้านสื่อและบันเทิงของประเทศไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มขยายตัวถึง 33% หรือมีมูลค่าประมาณ 1.33หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.3แสนล้านบาทภายในปี 2561 เนื่องจากประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Internetaccess) เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโฆษณาออนไลน์ (Online advertising) ขยายตัว รวมทั้งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจเคเบิ้ลทีวีในประเทศ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.3% ของอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงไทยถือเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย
ต่อปีสูงสุดเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย 10.3% และแซงหน้ามาเลเซีย 6.1% นอกจากนี้อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของไทยยังสูงกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยเพียง 4.8% และยุโรปที่ 2.7%
ตลาดโฆษณาออนไลน์ในไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561หรือราว 2.2 พัน
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 25 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ อัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์(Broadband penetration) ของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 31% จาก 24% ภายในช่วงเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) มากที่สุดในเอเชีย โดยมีผู้ใช้งาน
ทั่วประเทศถึง 18 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำเพียง 8 ล้านรายในปี 2552และ มีผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานครสูงถึง 8.5 ล้านรายจึงนับได้ว่าเฟซบุ๊คเป็นตัวเร่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้รายได้ตลาดโฆษณาออนไลน์เติบโตในระยะข้างหน้า
กลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงสุด 9 ประเทศ ได้แก่ จีน บราซิล รัสเซีย อินเดีย เม็กซิโก
แอฟริกาใต้ ตุรกี อาร์เจนตินา และอินโดนีเซีย จะเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 21.7% ของรายได้สื่อและบันเทิงทั่วโลกในปี 2561ปรับตัวสูงขึ้นจาก 12.4% ใน
ปี 2552
ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนผ่านการให้บริการสัญญาณ 3G เป็น4G เพราะเป็นปัจจัยที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของไทยเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตคาดว่ารายได้จากการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet access)ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2561
ธุรกิจเคเบิ้ลทีวี หรือการให้บริการโทรทัศน์ที่มีการเรียกเก็บค่าสมาชิกและค่าลิขสิทธิ์ (TV subscriptions and licence fees) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่กระตุ้นให้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะข้างหน้า แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมจะเผชิญกับอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ค่อนข้างสูงและการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ให้บริการฟรีทีวีผ่านสัญญาณดาวเทียม แนวโน้มการใช้บริการระบบโทรทัศน์ผ่านสัญญาณเคเบิ้ลจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังบริการที่มีราคาถูกลง ดึงดูดให้ลูกค้าหันมาให้ความสนใจ และไม่ใช้เคเบิ้ลที่ผิดกฎหมายมากขึ้น โดยคาดว่าการจำนวน สมาชิกเคเบิ้ลจะสูงถึง 4.8 ล้านรายภายในสิ้นปี 2561 เพิ่มขึ้นจากเพียง2.2 ล้านรายเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา
บัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีและบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก เผยรายงานล่าสุด Global Entertainment and Media Outlook 2014-2018
PwC คาดการใช้จ่ายผ่านสื่อและบันเทิงของไทยในปี 2561 จะสูงกว่า 4.3 แสนล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง 5 ปีข้างหน้าเติบโตเฉลี่ย 7.3% ต่อปี แซงหน้าตลาดสหรัฐ-ยุโรปและอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วโลกหลังได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของธุรกิจโฆษณาออนไลน์ การใช้งานเคเบิ้ลทีวี และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น
หากมองเทคโนโลยี 4Gเป็นปัจจัยสำคัญช่วยกระตุ้นการใช้สื่อออนไลน์ มั่นใจหน่วยงานของรัฐเร่งเปิดประมูลเร็วที่สุดหลังเคลียร์ความโปร่งใส พร้อมมองอนาคตจีน จะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่มีอัตราการเติบโตด้านสื่อ-บันเทิงมากที่สุด
ผลจากบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ ได้แก่ แนวโน้มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงทั่วโลกระหว่างปี 2557-2561 (Global Entertainment and Media Outlook 2014-2018) ว่า มูลค่าการใช้จ่ายด้านสื่อและบันเทิงของประเทศไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มขยายตัวถึง 33% หรือมีมูลค่าประมาณ 1.33หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.3แสนล้านบาทภายในปี 2561 เนื่องจากประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Internetaccess) เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโฆษณาออนไลน์ (Online advertising) ขยายตัว รวมทั้งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจเคเบิ้ลทีวีในประเทศ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.3% ของอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงไทยถือเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย
ต่อปีสูงสุดเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย 10.3% และแซงหน้ามาเลเซีย 6.1% นอกจากนี้อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของไทยยังสูงกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยเพียง 4.8% และยุโรปที่ 2.7%
ตลาดโฆษณาออนไลน์ในไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561หรือราว 2.2 พัน
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 25 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ อัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์(Broadband penetration) ของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 31% จาก 24% ภายในช่วงเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) มากที่สุดในเอเชีย โดยมีผู้ใช้งาน
ทั่วประเทศถึง 18 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำเพียง 8 ล้านรายในปี 2552และ มีผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานครสูงถึง 8.5 ล้านรายจึงนับได้ว่าเฟซบุ๊คเป็นตัวเร่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้รายได้ตลาดโฆษณาออนไลน์เติบโตในระยะข้างหน้า
กลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงสุด 9 ประเทศ ได้แก่ จีน บราซิล รัสเซีย อินเดีย เม็กซิโก
แอฟริกาใต้ ตุรกี อาร์เจนตินา และอินโดนีเซีย จะเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 21.7% ของรายได้สื่อและบันเทิงทั่วโลกในปี 2561ปรับตัวสูงขึ้นจาก 12.4% ใน
ปี 2552
ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนผ่านการให้บริการสัญญาณ 3G เป็น4G เพราะเป็นปัจจัยที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของไทยเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตคาดว่ารายได้จากการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet access)ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2561
ธุรกิจเคเบิ้ลทีวี หรือการให้บริการโทรทัศน์ที่มีการเรียกเก็บค่าสมาชิกและค่าลิขสิทธิ์ (TV subscriptions and licence fees) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่กระตุ้นให้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะข้างหน้า แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมจะเผชิญกับอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ค่อนข้างสูงและการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ให้บริการฟรีทีวีผ่านสัญญาณดาวเทียม แนวโน้มการใช้บริการระบบโทรทัศน์ผ่านสัญญาณเคเบิ้ลจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังบริการที่มีราคาถูกลง ดึงดูดให้ลูกค้าหันมาให้ความสนใจ และไม่ใช้เคเบิ้ลที่ผิดกฎหมายมากขึ้น โดยคาดว่าการจำนวน สมาชิกเคเบิ้ลจะสูงถึง 4.8 ล้านรายภายในสิ้นปี 2561 เพิ่มขึ้นจากเพียง2.2 ล้านรายเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา