xs
xsm
sm
md
lg

ราชบัณฑิตยสภาเชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “ห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางพาราคุณภาพดี” ฉลองครบ 100 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ราชบัณฑิตยสภา กำหนดจัดกิจกรรมทางวิชาการต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2567-2569 เฉลิมฉลองวาระที่จะมีอายุครบ 100 ปี ในปี 2569 เตรียมจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางพาราคุณภาพดีที่ให้ผลทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน” วันที่ 5 ก.ค.67 พร้อมเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทั้งออนไซต์และออนไลน์


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยว่า ราชบัณฑิตยสภาเป็นสถานที่บำรุงสรรพวิชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าพระเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2469 มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นคว้าและวิจัยเพื่อเผยแพร่ ส่งเสริม แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนา อนุรักษ์ และให้ความรู้ทางวิชาการ ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2558 ซึ่งในวาระที่ราชบัณฑิตยสภาจะมีอายุครบ 100 ปี ใน พ.ศ.2569 จึงกำหนดที่จะจัดกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองตั้งแต่ พ.ศ.2567-2569 โดยกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การนำความรู้สู่ประชาชนและสังคม ซึ่งในปีนี้สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา กำหนดที่จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางพาราคุณภาพดีที่ให้ผลทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน” ในวันที่ 5 ก.ค.67 เวลา 08.00-16.30 น. ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ โดยสามารถเข้าร่วมการประชุมได้ทั้งที่โรงแรม และระบบอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวนี้มีสาระสำคัญประกอบด้วย ความรู้เรื่องยางพารา การพัฒนายางพาราให้ปลอดเชื้อโรค การนำยางพาราที่มีคุณภาพไปขายในตลาดโลก การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านการใช้น้ำยางพาราเป็นวัตถุดิบ เพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาง รวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย รวมถึงนักวิชาการและนักวิจัยของสำนักวิทยาศาสตร์ และคณะกรรมการการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ยางและเทคโนโลยียาง และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา อาจารย์ในมหาวิทยาลัย และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งประชาชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมรับฟังการประชุมครั้งนี้ ตามแผ่นโปสเตอร์ที่แนบมาด้วยหรือตามลิงก์แบบลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาhttps://forms.gle/Fa9G7PJhJ228ZdLk9 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ประสานงานกลาง 06-2891-4622 ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาศาสตร์ด้านยางพาราให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง


กำลังโหลดความคิดเห็น