xs
xsm
sm
md
lg

กรมสุขภาพจิตจัดทำคู่มือแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะทางจิตเวชเล่มแรกของประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เชียงใหม่ - กรมสุขภาพจิตเดินหน้าขับเคลื่อนงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะทางจิตเวช เพื่อจัดทำคู่มือเล่มแรกของประเทศ นำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ รับมือผู้ป่วยจิตเวชในสภาวะคลุ้มคลั่ง


วันนี้ (24 มิ.ย. 67) นายแพทย์ กิตต์กรี โพธิ์โน ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง เป็นประธานเปิดอบรมโครงการพัฒนาแนวทางจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะทางจิตเวช เขตสุขภาพที่ 1 โดยมีผู้รับผิดชอบงานด้านจิตเวช และงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนแกนนำชุมชน ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมกว่า 100 คน

ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่า แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดในเขตสุขภาพที่ 1 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในห้วง 8 เดือนที่ผ่านมา (1 ต.ค. 66-5 มิ.ย. 67) มีจำนวน 12,102 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย สีแดงที่มีอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาดจำนวน 864 คน, กลุ่มสีส้ม ซึ่งมี 5 สัญญาณเตือน ประกอบด้วย ไม่หลับไม่นอน, เดินไปเดินมา, พูดจาคนเดียว, หงุดหงิดฉุนเฉียว และหวาดระแวง มีจำนวน 274 คน, กลุ่มสีเหลือง อาการทางจิตไม่รุนแรง 178 คน และกลุ่มสีเขียว ไม่แสดงอาการทางจิต 10,756 คน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีสภาวะคลุ้มคลั่ง อาละวาด กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้บูรณาการความร่วมมือเพื่อนำร่องจัดทำแนวทางการบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะทางจิตเวช เล่มแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ และซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับหน่วยงานเพื่อรับมือกับผู้ป่วยจิตเวช นำสู่การบำบัดรักษาในสถานพยาบาล ตลอดจนติดตาม และฟื้นฟูพร้อมกลับคืนสู่สังคม ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 84 หรือประมาณ 5,681 คน












กำลังโหลดความคิดเห็น