xs
xsm
sm
md
lg

(คลิป)นายอำเภอเมืองเลยไอเดียดีระดมชาวบ้านนำใบและต้อซังอ้อยทำฝายกั้นน้ำลดฝุ่นจิ๋วPm2.5

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เลย-พลิกวิกฤติเป็นโอกาส นายอำเภอเมืองเลยไอเดียดีระดมผู้นำชุมชนและชาวบ้านขนเศษใบอ้อยอัดแท่ง
ตอซังอ้อยเป็นวัสดุทำแนวกั้นสร้างฝายชะลอน้ำ กักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง ลดความเสี่ยงเกษตรกรเผาตอซังเพิ่มประมาณฝุ่นจิ๋ว PM.2.5 ในอากาศ ลดต้นทุนการทำฝายจากกระสอบทรายหลักหมื่นเหลือแค่หลักพัน



                         

เป็นเรื่องราวดีๆที่ใครเห็นก็ต้องชื่นชม เมื่อนายกิตติคุณ บุตรคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายพยุง เหล็กดี นายอำเภอเมืองเลย พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ น้อยศรี นายกเทศบาลตำบลนาดินดำ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ประชาชน จิตอาสา ช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำจากวัสดุใบอ้อยอัดแท่ง เพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง แก้ไขปัญหาภัยแล้ง กั้นลำน้ำคลองน้ำ ณ บริเวณบ้านห้วยลึก หมู่ที่ 8 ต.นาดินดำ อ.เมือง จ.เลย เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง

ที่สำคัญเป็นการแก้ปัญหาเกษตรกรเผาไร่อ้อย และเผาใบอ้อยสด ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศหรือหิมะดำ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ PM.2.5


นายกิตติคุณ บุตรคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเปิดเผยว่า วันนี้ได้มาร่วมกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำจากใบอ้อย หลังจากที่เกษตรกรได้ตัดอ้อยและนำอ้อยเข้าสู่โรงงาน สิ่งที่จะเหลือคือใบอ้อย ณ.วันนี้ใบอ้อยในจังหวัดเลย นอกจากนำไปม้วนขายและขายเป็นพลังงานชีวมวล ทำให้ลดการเผาใบอ้อยลงได้ระดับหนึ่ง ซึ่งล่าสุดทางนายอำเภอเมืองเลย นายพยุง มีแนวคิดที่นำใบอ้อยมาทำฝายชะลอน้ำ ทดแทนกระสอบทราย ทดแทนก้อนหิน กั้นน้ำ ซึ่งการนำใบอ้อยมาทำฝาย ข้อดีจะกลายเป็นอินทรีย์สาร เมื่ออยู่ในน้ำเมื่อเราอัดแน่นเกิดฝายชะลอน้ำ และเกิดความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินโดยรอบ ซึ่งเหมาะสำหรับในภาคของการเกษตร

เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก เมื่อใบอ้อยเน่าเสียกลายเป็นสารอินทรีย์ เกิดเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ไม่ว่ากุ้ง ปู ปลา หอย ใบอ้อยจะเกิดเป็นแพลงก์ตอน เป็นอาหารของสัตว์น้ำต่อไป และยังเป็นการลดต้นทุนของการทำฝาย ถ้าทำฝายใช้กระสอบทราย หิน ราคาต้นทุนสำหรับฝายที่ทำวันนี้ประมาณ 10,000 บาท


แต่เราเอาใบอ้อยมาทำ ต้นทุนลดลงเหลือแค่ 2,500 บาท ต่อ 1 ฝาย และยังเป็นนโยบายของทางจังหวัด คือไม่เผา การไม่เผาของจังหวัดเลย ไม่เผาป่า ไม่เผาพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะการเผาอ้อย และไม่เผาข้างทาง ซึ่งเป็นจึงเป็นการลด PM.2.5 ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนได้

“ถือเป็นเรื่องที่ดีมากในการนำของเหลือใช้ มาทำให้เป็นประโยชน์ ในการนำฟางอ้อย เศษอ้อย ที่เหลือจาก การทำไร่อ้อย โดยปกติจะมีคนนำไปเผาและจะเกิดมลพิษ PM 2.5 เต็มบ้านเต็มเมืองของจังหวัดเลย งานนี้ขอชื่นชมทางนายอำเภอเมืองเลย ที่ปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสจากการนำเศษฟางอ้อยจากการตัดไม่เผาแล้วนำมาอัดเป็นก้อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจากนั้นก็นำมาเรียบเรียงสลับกับ หินในลำธารวางเป็นชั้นๆ ทำเป็นฝายน้ำ”


นายกิตติคุณกล่าวอีกว่า ในช่วงที่มีการจัดเรียงหินพร้อมกับเศษฟางลงในฝ่ายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนมายืนอยู่บนแนวกั้นฝายแล้วออกแรงขย่มพร้อมกัน น้ำหนักตัวรวมกันแล้งมากกว่า 1,400 กิโลกรัม ทำหน้าที่เป็นปั้นจั่น กระแทกฟางและดินและหินให้แน่น เป็นกิจกรรมที่สร้างความรักความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันทำฝายและลดมลพิษ ลด pm 2.5 นำเศษฟางหรือเศษชานอ้อยที่เหลือ มาทำฝายเช่นนี้ งานนี้เป็นไอเดียและความคิดที่ดีมาก


กำลังโหลดความคิดเห็น