xs
xsm
sm
md
lg

ค่า PM 2.5 จ.กาญจน์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว แนะสวมหน้ากากอนามัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กาญจนบุรี - ค่า PM 2.5 จ.กาญจน์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ออกไปกลางแจ้งแนะสวมหน้ากากอนามัย สถานีตรวจวัดพบจุดความร้อนพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มี 24 จุด

วันนี้ (21 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของจังหวัดกาญจนบุรี ประจำวันที่ 21 ม.ค.67 เวลา 08.00 น.โดยสถานีตรวจวัด ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ว่า “ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่า 55.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ”

แนะนำให้เด็ก คนชรา สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ ส่วนประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ควรหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากอนามัย

สำหรับจุดความร้อน (Hotspot) ที่พบในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มี 24 จุด ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ 10 จุด ป่าสงวน 7 จุด เขต ส.ป.ก.1 จุด พื้นที่เกษตร 3 จุด และอื่นๆ 3 จุด ซึ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่มีแนวโน้มค่าฝุ่นเพิ่มขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ม.ค.2567 เส้นทางการเคลื่อนที่ของฝุ่นละอองมาจากแหล่งกำเนิดทั้งภายในและภายนอกจังหวัด

ส่วนพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านท่าทุ่งนา บริเวณป่าเขาหลังโรงเรียนบ้านช่องสะเดา (ไฟฟ้าฝ่ายผลิตอุปถัมภ์) นายพีร พวงมาลี หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสลักพระ-เอราวัณ ได้ร่วมมือกับ นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พร้อมทีมปกครองตำบลช่องสะเดา องค์กรภาคีเครือข่าย ผู้นำท้องที่ นำโดย น.ส.ปภัสร์ลภัส แดงกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะเดา กฟผ.เขื่อนท่าทุ่งนา โดยนายพลายงาม ชัชวาลย์ หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าสักพระ-เอราวัณ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านช่องสะเดา (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอุปถัมภ์) ตลอดจนจิตอาสา ร่วมกันขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานป้องกันไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ประจำปี พ.ศ.2567 ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่ตำบลช่องสะเดา

เนื่องจากไฟป่าอาจจะเริ่มในช่วงปลายเดือนมกราคม และเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน ตรงกับช่วงภาวะเอลนีโญที่มีอากาศแห้งแล้ง โดยเป็นภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดไฟป่ามากเป็นพิเศษ ถ้าไม่วางแผนกันตั้งแต่ตอนนี้ การป้องกันและควบคุมป่าในช่วงเวลานั้นคงไม่มีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่ปัญหาฝุ่น PM 2.5”

การชิงเผา (Early Burning) เป็นวิธีการหนึ่งของการเผาตามกำหนด (Prescribe Burning) อันเป็นการใช้ประโยชน์จากไฟ เพื่อการจัดการป่าไม้ การชิงเผามีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในป่าลง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดโอกาสในการเกิดไฟป่า หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้น ความรุนแรงและอันตรายของไฟนั้น (Fire Hazard) จะมีน้อยลงสามารถควบคุมไฟได้ง่ายและปลอดภัย










กำลังโหลดความคิดเห็น