xs
xsm
sm
md
lg

วว.ร่วมอินฟอร์มาฯ พัฒนาทักษะกลุ่ม SMEs อาหารอีสาน แข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศ-ตลาดโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวขอนแก่น - วว.ผนึกอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ จัดสัมมนา Food Technology Events by informa Markets มุ่งพัฒนาทักษะคุณภาพการผลิต เตรียมพร้อมผู้ประกอบการอาหารภาคอีสาน ร่วมออกบูทงานแสดงสินค้าอาหารระดับโลก ทั้งงานโพรแพ็ค เอเชีย 2023 และฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องออคิด บอลรูม โรงแรมพูลแมน อ.เมือง จ.ขอนแก่น บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประ เทศไทย ผู้นำธุรกิจการจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติ จัดสัมมนา Food Technology Events by informa Markets โดยมี ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์, ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมสัมมนา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ของการจัดงานตามโครงการดังกล่าว หลังจากประสบความสําเร็จในการนำสื่อมวลชนทั่วอาเซียนเยี่ยมชมศักยภาพของผู้ประกอบการทางภาคเหนือ โดยครั้งนี้มุ่งเน้นไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME ให้ได้มองเห็นโอกาสและความสำคัญของกลุ่มธุรกิจนี้ ถือว่ามีคุณค่ายิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ และสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

ภายใต้บริบทการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว SME ซึ่งถือว่ามีอยู่จํานวนมาก จะต้องมีความรู้ มีทักษะการประกอบธุรกิจสามารถสรรค์สร้างสินค้า/บริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีมูลค่าสูง แข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก เพื่อให้ SME ภาคอีสานก้าวขึ้นเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้อย่างแท้จริง

“ปักหมุดความสำเร็จครั้งใหม่ของโครงการ “Food Technology Events by Iriforta Markets” ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ประกอบในภาคอีสานใต้สัมผัสกับเทรนด์ของอุตสาหกรรม จากเหล่านักวิชาการ และตัวแทนจากรัฐพร้อมเป็นแรงผลักดันให้แก่กลุ่มธุรกิจนี้” น.ส.รุ้งเพชรกล่าว และว่า

อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการภาคอีสานสู่งานที่กำลังจะจัดมหกรรมแห่งปีถึง 2 งาน ได้แก่ “Propak Asia 2023” (โพรแพ็ค เอเชีย 2023) จะจัดขึ้นวันที่ 14 -17 มิถุนายน 2566 และ “Fi Asia Thailand 2023” (ฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023) จะจัดขึ้นวันที่ 20-22 กันยายน 2566 ภายใต้การผนึกความร่วมมือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมร่วมเป็นหนึ่งในการกระตุ้น เพื่อยกระดับขีดความสามารถการประกอบธุรกิจของ SME ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมเข้าสู่การแข่งขันอย่างมืออาชีพ เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของ SME เพื่อสร้างมูลค่าตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย

น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์


ด้าน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งาน Fi Asia Thailand 2023 ทาง วว.มีสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ที่ร่วมจัดงาน มีงานด้านวิจัย เกี่ยวกับงานด้าน food อินกรีเดียนส์ ร่วมจัดแสดงให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ จะทำให้ผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรม โดย วว.มุ่งสร้างพื้นฐานโรงงานให้มีนวัตกรรมช่วยรับความเสี่ยงด้านการลงทุน เพื่อผลิตสินค้า ซึ่ง วว.มีเครื่องมือ เครื่องจักร และมีนักวิจัยเข้ามาช่วยและสนับสนุนสินค้าผู้ประกอบการให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม และสามารถขายในตลาดได้ และมีบริการรับรองคุณภาพต่างๆ

หากผู้ประกอบการต้องการยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ วว.มีบริการให้คำปรึกษา และทำสินค้าให้มีนวัตกรรม และนำไปสู่การค้าขายไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถขายตลาดต่างประเทศด้วย เพราะงาน Fi Asia Thailand กลุ่มที่มาดูงานส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งสินค้าอาหารไทยมีจุดแข็งด้านความหลากหลาย และมีคุณภาพที่ดีมากอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการจะยกระดับสินค้า หรือต้องการหาตลาดต่างประเทศ และต้องการให้ วว.ช่วยสนับสนุน เช่น ยกระดับการผลิต ให้การรับรองตามมาตรฐานสากล ทาง วว.มีบริการในงาน Fi Asia Thailand




ด้าน ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การส่งเสริมต่อยอดด้วยเกษตรอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นเรามีความยินดี มีเครือข่ายด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นต้น และผู้เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรม มีความหวังยกสินค้าด้านการเกษตรที่มีอยู่แล้วของภาคอีสานให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง และขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วย

ส่วนเรื่องกรีน คืออุตสาหกรรมสีเขียว ขับเคลื่อนด้วย BTG แต่คนส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลับมีรายได้จากภาคการเกษตรเพียง 10% ของรายได้ทั้งจังหวัด คนส่วนมากเป็นคนจน ซึ่งจะทำเกษตรอย่างไรถึงจะเป็นเกษตรมูลค่าสูงได้ และต่อยอดได้บ้าง ส่วนพืชหลักของขอนแก่น มีอ้อย ข้าว และปศุสัตว์ เราต้องกลับมามองจุดเด่นจังหวัดขอนแก่น ควรปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ซึ่งจะเป็นพืชเศรษฐกิจมีมูลค่าสูง ส่วนที่ 2 สิ่งที่มีอยู่แล้วควรจะยกระดับอย่างไร จะแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง


กำลังโหลดความคิดเห็น