xs
xsm
sm
md
lg

การ์ดอย่าตก! โคราชพบผู้ป่วยโควิดในรอบสัปดาห์สูงกว่า 1,300 คน เฉลี่ยวันละ 265 คน ดับ 1 ศพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - การ์ดอย่าตก! สสจ.นครราชสีมาเผยโคราชพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในรอบสัปดาห์สูงกว่า 1,300 คน เฉลี่ย 265 คน/วัน เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยรักษาหาย 426 ราย กำลังรักษาอยู่ 47 ราย เร่งรัดรณรงค์ประชาชนฉีดวัคซีนโควิดให้ได้ตามเป้า

วันนี้ (30 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า ณ วันที่ 29 พ.ย. 2565 พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จำนวน 358 ราย รักษาในโรงพยาบาล 4 ราย เสียชีวิต 0 ราย ผู้ป่วยสะสม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึง 29 พฤศจิกายน 2565 จำนวน 239,595 ราย รักษาหาย 239,146 ราย ยังรักษาอยู่ จำนวน 47 ราย เสียชีวิตสะสมทั้งหมด จำนวน 402 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.13

ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ จ.นครราชสีมาในรอบสัปดาห์ จำนวนผู้มีผลตรวจ RT-PCR เป็นบวก และจำนวนผู้มีผลตรวจ ATK เป็นบวกที่รับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 1,323 ราย เฉลี่ย 265 คน/วัน นอนโรงพยาบาล 29 ราย อัตราอุบัติการณ์ 49.97 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยรักษาหาย 426 ราย กำลังรักษาอยู่ 47 ราย


การประเมินความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ของจังหวัดนครราชสีมา

1. จำนวนเตียงผู้ป่วยใน จำนวน 1,476 เตียง, เตียงว่าง จำนวน 1,233 เตียง อัตราการครองเตียงระดับ 2 จำนวน 216 เตียง อัตราการครองเตียงระดับ 3 จำนวน 27 เตียง, 2 .จำนวนหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) 636 คน จำนวนทีมปฏิบัติการเชิงรุก Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) 98 ทีม

3. จำนวนหน่วยบริการ รัฐและเอกชนที่มียาต้านไวรัส จำนวน 51 แห่ง และ 4. จำนวนยาต้านไวรัส (ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565) ยาเม็ด Favipiravir 200 mg จำนวนคงเหลือ 30,204 เม็ด (คงเหลือใช้ได้ 44 วัน) ยาฉีด Remdesivir 100 mg/ขวด จำนวนคงเหลือ 0 ขวด (คงเหลือใช้ได้ 0 วัน) ยาเม็ด Molnupiravir 200 mg จำนวนคงเหลือ 148,200 เม็ด (คงเหลือใช้ได้ 17 วัน)


สรุปผลการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จังหวัดนครราชสีมา เป้าหมายประชากรที่ต้องได้รับวัคซีน 2,633,207 คน ผลการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 2,091,738 ราย (79.44%) ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1,960,057 ราย (74.44%) ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จำนวน 871,922 ราย (33.11%)

1. กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย 7 โรค, หญิงตั้งครรภ์ เป้าหมาย 678,583 คน เข็มที่ 1 จำนวน 509,609 (75.10%) เข็มที่ 2 จำนวน 494,076 คน (72.81%) เข็มกระตุ้น จำนวน 265,174 คน (39.08%)
2. กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน อายุ 18-59 ปี เป้าหมาย 1,473,798 คน เข็มที่ 1 จำนวน 1,252,666 คน (85.00%) เข็มที่ 2 จำนวน 1,181,061 คน (80.14%), เข้มกระตุ้น จำนวน 571,283 คน (38.76%)

3. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เป้าหมาย 176,246 คน เข็มที่ 1 จำนวน 176,246 คน (100.0%) เข็มที่ 2 จำนวน 168,128 คน (95.39%) เข้มกระตุ้น จำนวน 32,098 คน (18.21%)
4. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน/เด็ก อายุ 5-11 ขวบ เป้าหมาย 156,766 คน เข็มที่ 1 จำนวน 151,382 คน (96.57%) เข็มที่ 2 จำนวน 116,151 คน (74.09%) เข็มกระตุ้น จำนวน 3,361 คน (2.14%)

5. กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 6 เดือน ถึง ต่ำกว่า 5 ขวบ เป้าหมาย 52,070 คน เข็มที่ 1 จำนวน 1,903 คน (3.65%) เข็มที่ 2 จำนวน 641 คน (1.23) เข็มกระตุ้น จำนวน 6 คน (0.01)

ข้อสั่งการเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 จังหวัดนครราชสีมา

1. ให้ทุกอำเภอจัดตั้งหน่วยฉีดวัคซีนหลักในทุกอำเภอที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวกและทั่วถึง, 2. ให้อำเภอจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับอำเภอ และดำเนินการจัดทำแผนเร่งรัด/รณรงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วงสัปดาห์รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2565 และจัดให้มีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 กรณีประชาชนประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีน เช่น Walk-in สามารถรับวัคซีนได้ทันที

3. ให้โรงพยาบาล/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ออกแบบระบบการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสถานบริการ/นอกสถานบริการ (สถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยงาน เป็นต้น) ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน/แนวทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข

4. ให้อำเภอรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ MOPH IC และตามแบบฟอร์มที่กำหนดผ่าน Google Form ทุกวัน, 5. ให้นายอำเภอและศูนย์ปฏิบัติการระดับอำเภอ ติดตามผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกวัน, 6. ให้นายอำเภอรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์

7. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวัคซีนโควิด-19 ระดับจังหวัด เป็นจุดประสานงานหลักในการสนับสนุนวัคซีนให้กับหน่วยฉีดวัคซีนทุกสังกัด ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา และเป็นจุดสำรองวัคซีนให้เพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชน และ 8. ให้ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ทำหน้าที่ติดตาม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย สนับสนุน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย (ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบสัปดาห์ที่ 47 (วันที่ 20 พ.ย.-26 พ.ย. 65) จำนวน 4,914 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึง 26 พฤศจิกายน 2565) จำนวน 2,483,809 ราย ผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ 319 ราย เสียชีวิตรายใหม่ในสัปดาห์ 74 ราย เสียชีวิตสะสม 11,482 ราย


กำลังโหลดความคิดเห็น