ประจวบคีรีขันธ์ - "หมอล็อต" หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า และทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ติดตามการเฝ้าระวังโรคลัมปีสกินจากสัตว์เลี้ยงสู่สัตว์ป่าในพื้นที่
วันนี้ (17 ส.ค.) นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี พร้อมด้วยนางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า และทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดทำโป่งเทียม เพื่อเป็นการเสริมแร่ธาตุและวิตามินให้กับสัตว์ป่าในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโป่งเทียมที่สร้างขึ้น
เพื่อเสริมแร่ธาตุและวิตามิน A D3 E ให้กับสัตว์ป่า โดยมีเป้าหมายในการจัดทำโป่งเทียมทั้งสิ้นจำนวน 11 โป่ง โดยจัดทำแล้วเสร็จไป 5 โป่ง พร้อมกันนี้ยังได้มีการออกติดตามดูพฤติกรรมสัตว์ป่าตามแปลงพืชอาหารสัตว์ พบทั้งช้างป่า และกระทิง ออกหากินโดยเฉพาะกระทิงไม่พบมีลักษณะอาการป่วยด้วยโรคลัมปีสกินแต่อย่างใด
โดยนายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี กล่าวว่าตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ได้ประกาศปิดอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และการพักแรม การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าเป็นการชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-ประกอบกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่สีแดงควบคุมสูงสุด ส่งผลทำให้ผืนป่ามีความอุดมสมบูรณ์แปลงหญ้าตามจุดต่างๆที่ปลูกให้เป็นอาหารสัตว์ป่าทั้งช้าง กระทิง วัวแดง
จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่พบสัตว์ป่าต่างๆลงมาหากินทุกวัน จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ร่วมกับกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน จากสัตว์เลี้ยงสู่สัตว์ป่าอย่างใกล้ชิดซึ่งเราจะประมาทไม่ได้เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการระบาดของโรคลัมปีสกินในโคนม โคเนื้อรวมทั้งพื้นที่อำเภอกุยบุรี พร้อมวางแผนการดำเนินการเชิงรุกในแก้ไขปัญหาโรคลัมปีสกินในสัตว์ป่าพร้อมกันไปด้วยหากมีร่องรอยเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามผ่านมาเกือบ เดือนยังไม่พบมีกระทิงและวัวแดงที่มีอาการป่วยด้วยโรคลัมปี สกินแต่อย่างใดมีบางตัวเท่านั้นที่ใช้กล้องส่องดูพบมีเป้นตุ่มบ้างแต่ยังระบุไม่ได้เนื่องจากอยู่ในระยะไกล ดังนั้นการติดตามสัตว์ป่าในทุวันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากฝูงกระทิงในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีเป็นจำนวนมาก และมักกระจายอากินเป็นฝูงละประมาณ 10-30 ตัวขึ้นไป บางวันออกมาครั้งล่ะ 40-70 ตัวก็มี โดยเฉพาะรถยนต์เจ้าหน้าที่ทุกคันที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่จึงต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อและวิ่งผ่านบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อทุกคัน