xs
xsm
sm
md
lg

AIS ดึงศักยภาพเทคโนโลยี 5G ประสานงานสาธารณสุขสู้โควิด-19 ระลอก 3

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวศรีราชา - AIS สู้ภัยโควิด-19 ระลอก 3 ดึงศักยภาพเทคโนโลยี 5G ประสานงานสาธารณสุขไทยฝ่าวิกฤตในโครงการ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย”

เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS เผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันว่า ยังคงส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน รวมทั้งภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศที่ยังน่าเป็นห่วง

ในวันนี้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรใหญ่ที่พอมีกำลังจึงต้องระดมสรรพกำลังสนับสนุนเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กรที่เล็กกว่า รวมถึงประชาชนให้สามารถรับมือและเดินหน้าต่อไปได้

AIS ซึ่งมีปณิธานแรงกล้าที่จะนำความแข็งแกร่งของการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เข้าร่วมฟื้นฟูประเทศผ่าน โครงการ AIS 5G สู้ภัย COVID-19 นับตั้งแต่การแพร่ระบาดครั้งแรกในปี 2563 และยังเป็นภาคเอกชนกลุ่มแรกที่นำขุมพลังของ 5G เข้าสนับสนุนการทำงานด้านสาธารณสุข

ทั้งขยายเครือข่าย 5G นวัตกรรมหุ่นยนต์ Robot for Care ที่สร้างวิถีใหม่ของ Social Distancing พร้อมเสริมศักยภาพ ช่วยแบ่งเบาภาระและช่วยลดความเสี่ยงของทีมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ

หรือแม้แต่การนำร่องกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ รวมทั้งเคียงข้างชาว อสม. ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดผ่านแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ จนกระทั่งการแพร่ระบาดในรอบแรกเริ่มคลี่คลาย


และเมื่อเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดในระลอก 2 ช่วงปลายปี 63 ที่ AIS ยังเป็นผู้ให้บริการสื่อสารรายแรกที่สามารถลงพื้นที่ติดตั้งเครือข่ายสื่อสารสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามแห่งแรก ณ จ.สมุทรสาคร ได้สำเร็จ

ขณะที่การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในปัจจุบัน AIS ก็ยังสามารถส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีผ่านกระบวนการทรานสฟอร์มทักษะ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รับมือกับโลกยุคโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ภายใต้ชื่อโครงการ “AIS 5G สู้ภัย COVID-19”

พร้อมจัดทัพสนับสนุนการทำงานภาคสาธารณสุขที่เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการรับมือโควิด-19 แบบเต็มสรรพกำลัง ผ่านการทำงานด้วยเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลเซอร์วิสใน 4 มิติ คือ โรงพยาบาลสนาม ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G, 4G, Free Wifi


โครงการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาลในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยที่ช่วยลดการสัมผัส และลดความแออัด

โครงการ 5G AI อัจฉริยะที่เดินหน้าร่วมมือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยการนำ AI CT Scan ปอดเข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง

โครงการ อสม. AIS ที่ยังคงเสริมขีดความสามารถของ อสม. มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งานแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ในการรายงาน การคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมถึงติดตามผลในกลุ่มเสี่ยง








กำลังโหลดความคิดเห็น