xs
xsm
sm
md
lg

เครือซีพี-ทรูจับมือสมาคมคนตาบอดฯ เดินหน้าโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมคนตาบอดและคนพิการ ประเดิมที่ จ.กาฬสินธุ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





ในโอกาสนี้ นายนพปฎล เป็นประธานมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้พิการที่จบหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการเกษตรให้มีทักษะด้านการปลูกพืชผักที่ได้มาตรฐาน พร้อมชมการทำงานของโรงคัดแยก โรงทำก้อนเชื้อเห็ด ผักไฮโดรโปนิกส์ แปลงสาธิต และบ่อปลาภายในโครงการ

จากนั้นคณะทั้งหมดยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรของเกษตรกรผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการด้วย คือ แปลงพริกซูเปอร์ฮอตของคุณยาย บุณทัน นันอภัย อายุ 69 ปี เกษตรกรผู้พิการทางสายตา และแปลงพริก กระเทียม รวมทั้งเกษตรผสมผสานที่ ต.นาจารย์ ของนางอัชรา นัยวัตร์ อายุ 41 ปี เกษตรกรผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งเพิ่งเข้าร่วมโครงการนี้เป็นปีแรก


นายนพปฎลกล่าวว่า วัตถุดิบจากโครงการนี้มีคุณภาพมาก เครือฯ ภูมิใจในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรผู้พิการให้มีอาชีพและสร้างรายได้พึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ในอนาคตมองเห็นถึงศักยภาพของผลผลิตจากเกษตรกรผู้พิการที่จะสามารถต่อยอดสร้างแบรนด์ของตัวเองที่มีคุณค่าวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เกตในเมืองเพื่อส่งต่อคุณค่าให้กลุ่มผู้บริโภคที่ตระหนักในเรื่องการสร้างอาชีพให้ผู้พิการอย่างยั่งยืนได้

ด้านนายต่อพงศ์กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของโครงการว่า จากการรวมตัวเครือข่ายเกษตรกรผู้พิการกว่า 27 ครอบครัว ที่ได้เข้าร่วมฝึกอบรมทำการเกษตรปลูกพริกขี้หนูพันธุ์ซูเปอร์ฮอต ปลูกหอมแขก กระเทียมไทย ผ่านการสนับสนุนจากเครือซีพีและทรูในการฝึกอบรมหลักสูตรอาชีพเกษตรให้มีทักษะในการปลูกพริกให้ได้มาตรฐาน โดยผลผลิตที่ได้จะถูกส่งไปยังโรงคัดแยกผักที่ได้มาตรฐาน GMP ภายในสมาคมฯ ซึ่งมีผู้พิการหลายประเภทที่ได้รับการจ้างงานตามมาตรา 33 เช่น ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เข้ามาทำงานคัดแยกพริก และผักอื่นๆ ส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานซีพีแรม (CP RAM) ที่ จ.ขอนแก่น เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตข้าวกล่องจำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพริกถือเป็นวัตถุดิบหลักที่ทาง CP RAM รับจากสมาคมฯ ซึ่งเป็นรายเดียวในภาคอีสาน


“วันนี้จึงถือได้ว่าเป็นการปลูกพริกที่พลิกชีวิตให้คนพิการเลยทีเดียว เพราะนอกจากผู้พิการเหล่านี้ได้มีโอกาสทำงานที่สมาคมฯ ทำให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวแล้ว ขณะเดียวกันยังสร้างรายได้ให้สมาคมคนตาบอดฯ เฉลี่ยเดือนละ 2.4 แสนบาทต่อเดือนในการขยายการทำเกษตรไปสู่การเลี้ยงปลาดุก การทำโรงเพาะเห็ด และทำแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ รายได้เหล่านี้ได้ต่อยอดธุรกิจเพื่อสังคมของสมาคมฯ และบางส่วนถูกนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเครือข่ายอีกด้วย” นายต่อพงศ์กล่าว


สำหรับวัตถุดิบจากเครือข่ายเกษตรกรผู้พิการที่ จ.กาฬสินธุ์ ส่งโรงงาน CP RAM ที่ จ.ขอนแก่น จะส่งครั้งละ 700-800 กิโลกรัมต่อครั้ง จากนั้นถูกนำไปผลิตข้าวกล่องวางขายเซเว่นอีเลฟเว่น 5 เมนู คือ กะเพราหมู กะเพราไก่ ลาบ ปลาผัดพริก และผัดซีอิ๊ว

ขณะที่มุมมองจากกลุ่มเกษตรกรผู้พิการกล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการนี้ภูมิใจที่ทำให้มีอาชีพ แก้ปัญหาหนี้สิน ส่งผลให้มีรายได้เฉลี่ยกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน ไม่เหมือนในอดีตที่ปลูกผักแต่ไม่มีตลาดรองรับ ขณะที่ผู้พิการอีกส่วนหนึ่งได้ทำงานในโรงคัดแยกวัตถุดิบที่สมาคมฯ กล่าวถึงประโยชน์ของโครงการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้พิการได้รับโอกาสทำงานที่เหมาะสม พึ่งพาตัวเอง และมีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว








กำลังโหลดความคิดเห็น