xs
xsm
sm
md
lg

ระดมสมองแก้ปัญหาเอสเอ็มอีไทย แนะอุปสรรคใหญ่ต้องเร่งแก้แหล่งทุน-องค์ความรู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กาฬสินธุ์ - ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เดินสายรวมพลังคนตัวเล็กขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แนะเปิดช่องทางตลาดจากโกออฟไลน์ (ชอปหน้าร้าน) สู่โกอินเตอร์ (ตลาดต่างประเทศ) เผยปัญหาใหญ่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องเร่งแก้ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน-ช่องทางการตลาด และองค์ความรู้การจัดการเชิงธุรกิจ

วันนี้ (6 เม.ย.) ที่สำนักงานสมาพันธ์เอสเอ็มอี จ.กาฬสินธุ์ ถนนถีนานนท์ อ.เมืองฯ นายณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยและคณะ ได้เดินทางมาติดตามการทำงานของสมาพันธ์เอสเอ็มอี จ.กาฬสินธุ์ และร่วมระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาการทำงานของ SME โดยมีนางมัณฑนา เล็กสมบูรณ์ ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอี จ.กาฬสินธุ์ น.ส.วชิราภรณ์ ภูแสง ผู้จัดการ ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จ.กาฬสินธุ์ และคณะกรรมการ เข้าร่วมเสนอปัญหาและระดมแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน จ.กาฬสินธุ์ของผู้ประกอบการรายย่อย

นายณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงปัญหาของสมาพันธ์เอสเอ็มอี โดยภาพรวมมีอยู่ 3 ประเด็น คือ การเข้าถึงแหล่งทุน ช่องทางการตลาด และองค์ความรู้การจัดการเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการ (SME) ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างความเข้าใจร่วมกัน เรื่องของการสร้างองค์ความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่จะนำพาไปสู่แหล่งทุน ซึ่งสมาพันธ์แต่ละจังหวัดจะต้องมีจิตอาสาร่วมกันที่จะรวบรวมปัญหา

หลังจากนั้นนำมาเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องของเอกสาร ซึ่งสถาบันการเงินที่จะให้กู้จะยึดถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้

นายณพพงศ์กล่าวอีกว่า ทางสมาพันธ์เอสเอ็มอี คือผู้ประสานให้สมาชิกได้เข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างสะดวก รวดเร็วเท่านั้น คุณสมบัติของผู้ประกอบการเป็นเรื่องเฉพาะตัว ที่จะได้รับการพิจารณาจากธนาคาร ส่วนเรื่องช่องทางของตลาดทั้ง SME ชอป หรือการขายหน้าร้าน และ SME เฟดเตอร์ ทางเราจะได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากด้วย วิธีการ 4 GO คือ Go of line ขายหน้าร้าน Go on line ขายทางไลน์ Go on Air ขายทางทีวี และ Go inter ขายต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการรายย่อยจะได้ประโยชน์จากสมาพันธ์เอสเอ็มไทยโดยไม่เสียอะไร

นางมัณฑนา เล็กสมบูรณ์ ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอี จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนของสมาพันธ์เอสเอ็มอี จ.กาฬสินธุ์ นับว่าได้รับความสำเร็จในระดับหนึ่งที่สมาชิกทั้งเอสเอ็มอี ชอป และเอสเอ็มอี เฟดเตอร์มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการ SME จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการพิจารณาได้รับเงินกู้ตามเป้าหมาย จึงเกิดความเชื่อใจในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารต่างๆ

ที่สำคัญต่อไปนี้จะต้องเร่งประสานองค์ความรู้ทั้งเอสเอ็มอี ชอป และเอสเอ็มอี เฟดเตอร์ ตลอดจนผู้ประสานงานเอสเอ็มอีในระดับอำเภอ เพื่อการกระจายแหล่งเงินกู้สู่ฐานรากให้มากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น