ซีพีเอฟ สามารถนำอีก 5 โรงงาน ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) ระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ส่งผลให้ปัจจุบัน ซีพีเอฟ มีสถานประกอบการ 7 แห่ง ที่ได้รับมาตรฐานแรงงานในระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ตอกย้ำความมุ่งมั่นการเป็นองค์กรที่มีการบริหารอย่างเป็นธรรม ปฏิบัติต่อแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชน เทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ ตั้งเป้าสถานประกอบการของบริษัททุกแห่งได้มาตรฐานแรงงานไทยในปี 2561
นายสว่าง สุขศรี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มีนโยบายการบริหารจัดการด้านแรงงานตั้งอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน โดยนำระบบมาตรฐานแรงงานไทยมาใช้ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียม เสมอภาค และสอดคล้องมาตรฐานด้านแรงงานสากล
เมื่อเร็วๆ นี้ สถานประกอบการ 5 แห่ง ของซีพีเอฟ ได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ส่งผลให้ปัจจุบัน ซีพีเอฟมีสถานประกอบการ 7 แห่ง ที่ผ่านมาตรฐานแรงงานระดับสูงสุดนี้
โรงงาน 5 แห่ง ที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ได้แก่ โรงงานอาหารสำเร็จรูปแกลง โรงงานอาหารสำเร็จรูปมหาชัย โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย โรงงานผลิตอาหารสัตว์ศรีราชา และโรงงานแปรรูปมีนบุรี โดยก่อนหน้านี้ สถานประกอบการของซีพีเอฟที่ได้รับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุดมาแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ โรงเพาะฟักลูกกุ้งเจอาร์ จังหวัดตราด ปี 2550 และโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ปี 2558 ตามลำดับ
“ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญต่อการยกระดับการบริหารด้านแรงงานด้วยความรับผิดชอบตามมาตรฐานแรงงานไทย และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน การที่สถานประกอบการของซีพีเอฟ ได้รับรองมาตรฐานมรท. 8001-2553 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของซีพีเอฟที่ปฏิบัติต่อแรงงานทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกระดับอย่างทัดเทียมเสมอภาค เพื่อให้พนักงานทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน” นายสว่าง กล่าว
นายสว่าง กล่าวต่อว่า บริษัทฯ เดินหน้าส่งเสริมให้สถานประกอบการทุกแห่งปฏิบัติต่อแรงงานสอดคล้องต่อมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งเป็นไปส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุน และส่งเสริมระบบมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อขับเคลื่อนให้โรงงาน และฟาร์มทุกแห่งทั่วประเทศมีการบริหารงานด้านแรงงานเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยตั้งเป้าให้สถานประกอบการทุกแห่งของบริษัทสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
“สถานประกอบการหลายแห่งของซีพีเอฟ ได้แก่ โรงงานอาหารสำเร็จรูปแกลง โรงงานแปรรูปอาหารมีนบุรี และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา จัดจ้างแรงงานต่างด้าวทั้งกัมพูชา และพม่าทำงาน ดังนั้น การได้รับรองมาตรฐาน มรท. 8001-2553 ยังช่วยตอกย้ำว่า ซีพีเอฟมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติต่อแรงงานทุกคนอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการดูแลแรงงานต่างด้าว” นายสว่าง กล่าว
มาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นฐาน และระดับสมบูรณ์ ขณะที่ระดับสมบูรณ์ ยังแบ่งความสามารถในการจัดการชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของสถานประกอบการ ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ขั้นริเริ่ม ขั้นพัฒนา ขั้นก้าวหน้า และขั้นสูงสุด โดยสถานประกอบการซีพีเอฟทั้ง 7 แห่ง ที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด แรงงานทุกคนสามารถทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังมีสถานประกอบการหลายแห่งที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย และสามารถรักษาการดำเนินงานตามมาตรฐานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ได้แก่ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่บางนา โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ และฟาร์มกุ้งระยอง 3 เป็นต้น
ด้านน ายไพระพงศ์ เฉลียวศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า การที่โรงงานอาหารสำเร็จรูปแกลง จ.ระยอง ยกระดับสู่มาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ก่อนหน้านี้ โรงงานผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานระดับสมบูรณ์ขั้นพัฒนาต่อเนื่องมาหลายปี มีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่แรงงานทุกคนทั้งไทย พม่า และกัมพูชา ว่า ได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมแ ละเสมอภาค
ที่สำคัญ การผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานระดับสูงสุดนี้ยังช่วยให้ลูกค้าทั้งไทย และต่างประเทศมีความเชื่อมั่นว่า โรงงานมีการบริหารองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานได้มาตรฐานระดับสากล