xs
xsm
sm
md
lg

สระแก้วจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวอนุรักษ์ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สระแก้ว - จังหวัดสระแก้ว จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว เพื่ออนุรักษ์ และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวให้คงอยู่สืบไป โดยมีความเชื่อว่า หากไม่ทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจ นาข้าวล่ม ผลผลิตไม่ดี

วันนี้ (10 ก.พ.) จังหวัดสระแก้ว เปิดงานประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวตำบลเขาสามสิบ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2559 ณ โรงเรียนบ้านเขาสามสิบ หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยมี นายธรรมศักดิ์ รัตนธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวให้คงอยู่สืบไป ภายในงานมีการประกวดพันธุ์ข้าว ประกวดตกแต่งขบวนรถแห่ การประกวดศิลปะการรำพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การออกร้านแสดงสินค้าพื้นบ้าน นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ

นายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา นายอำเภอเขาฉกรรจ์ เปิดเผยว่า ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวจัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ ได้ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลเขาสามสิบ พร้อมด้วยประชาชนตำบลเขาสามสิบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดงานประเพณีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา เป็นพิธีกรรมเรียกขวัญข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการขอขมา และขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังเป็นพิธีที่เชื่อกันว่าจะทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์ตลอดไป

นายจรัญ ขำสุขเลิศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนั้นเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะกระทำในห้วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยวการทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนจะนำข้าว เปลือกเก็บใส่ยุ้ง หรือเปิดยุ้ง หรือนำข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเพื่อหุงรับประทาน หรือซื้อขาย กัน ชาวนาจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวเสียก่อน โดยนำข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกัน หรือนำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่างๆ ประดับกองข้าว ต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ

สำหรับการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นการบูชาพระแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะกระทำในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งการทำบายศรีสู่ขวัญข้าวจะทำก่อนนำข้าวเปลือกเก็บใส่ยุ้ง หรือเปิดยุ้ง หรือนำข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเพื่อหุงรับประทาน หรือซื้อขายกัน โดยชาวนาจะนำข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกัน หรือนำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่างๆ ประดับกองข้าวต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ โดยเชื่อว่าหากไม่ทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจ นาข้าวล่ม ผลผลิตไม่ดี


กำลังโหลดความคิดเห็น