ศูนย์ข่าวภูมิภาค - ด่ายับว่อนโซเชียล “งานประกวดเดินแฟชั่นผ้าไทย” จัดโดย “ขวัญชนก โปรดักชั่น” โหนกระแสผ้าไทยซึ่งกำลังเป็นที่นิยม จนกลุ่มคนรักษ์ผ้าไทยใจต่างจังหวัดแห่ส่งเข้าประกวด แต่ผลการตัดสินบนเวทีกลับเลือกผ้าไทยเทียม ผ้าแฟนซีเป็นผู้ชนะ ค้านสายตาประชาชน เชื่อทำให้วงการผ้าไทยเสื่อม จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบด่วน
จากการตรวจสอบสังคมออนไลน์ หรือโลกโซเชียล ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการโพสต์เฟซบุ๊ก และลงยูทิวบ์เพื่อติดต่อกับสังคม คนภายนอก ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเพียงคลิกเดียวก็จะเห็นความเคลื่อนไหวและความรู้สึกนึกคิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และโดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมในสังคม จนสามารถให้ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบกันได้อย่างกว้างขวาง
ล่าสุด วันนี้ (10 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบพบความผิดปกติเกี่ยวกับการจัดงานประกวดเดินแฟชั่นผ้าไทย ที่เพิ่งจัดประกวดไปเมื่อวันที่ 5-6 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่สยามสแควร์วัน โซน ณ สยาม ซึ่งตามรายละเอียดจากเฟซบุ๊กระบุว่า สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ “ชวัญชนก โปรดักชั่น” ชิงถ้วยรางวัลมิราเคิลออฟไลฟ์ฯ พร้อมทุนการศึกษาและรวงวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท ถูกประชาชนผู้ชื่นชอบผ้าไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปกครองเข้าไปคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กของขวัญชนก โปรดักชั่นจำนวนมาก
โดยส่วนใหญ่ระบายความคับแค้นใจจากผลของการจัดงานที่คล้ายกับแหกตาประชาชนผู้ชื่นชอบผ้าไทย คอมเมนต์ส่วนใหญ่ไม่สนใจในเรื่องของรางวัลการประกวด แต่สนใจถึงวิธีการจัดงานที่เชื่อว่าตบตาประชาชนและโหนกระแสผ้าไทยมากกว่า
หนึ่งในคอมเมนต์นั้นระบุว่า อยากให้คนจัดงานได้คิดทบทวนดูจากที่หลายๆ คนได้โพสต์เพราะไม่ได้ออกมาโวยวายผลการตัดสิน แต่การประกวดที่ใช้คำว่า “ผ้าไทย” นั้นหมายถึงผ้าไทยที่ทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์อย่างไทยๆ ในแต่ละภูมิภาค แต่การตัดสินเครื่องแต่งกาย ได้ตัดสินเอาผ้าก๊อบปี้ ผ้าเทียมทอ ซึ่งได้ทำลายความตั้งใจของคนต่างจังหวัดที่เชื่อว่าเวทีจัดประกวดนี้เป็นเวที ทรงคุณค่า จึงสมัครส่งผ้าไทยเข้าร่วมประกวด
ผู้สื่อข่าวจึงได้ติดต่อสอบถามความเห็นผู้ส่งผ้าไทยเข้าประกวดงานดังกล่าวตามจังหวัดต่างๆ และต่างยืนยันว่าปัญหานี้มีจริงและกำลังส่งผลให้กระแสผ้าไทยเสื่อม
นางอร ชาวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เป็นเรื่องจริงและตนเองก็ได้เข้ามาคอมเม้นท์ในกิจกรรมนี้ เพราะรู้สึกว่าถูกหลอกลวง ทั้งที่ความรู้สึกแรกถือว่าเป็นเวทีที่ดี มีการนำโลโก้ กระทรวงวัฒนธรรม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาติด และยังมีเบื้องสูง จึงทำให้เชื่อและส่วนตัวมีความผูกพันกับโอทอป ซึ่งในพื้นที่มีการทอผ้าพื้นเมือง เมื่อมีเวทีก็รีบไปบอกกลุ่มโอทอป รวมไปถึงทางจังหวัด จนได้นำบุตรหลานซึ่งทุกคนมีความภาคภูมิใจนำผ้าไทยไปประกวด
โดยเฉพาะผ้าไทยชิ้นที่ส่งเข้าประกวดได้เลือกเอาผ้าไทยโบราณ และได้ขอร้องให้ ช่างฝีมือซึ่งเขาได้เลิกทอไปแล้วกลับมาทอให้ และส่วนตัวได้นั่งเครื่องบินกันมาประกวดด้วยความภูมิใจว่าเวทีนี้เป็นของจริง
แต่แล้วก็พบความผิดปกติ ตั้งแต่เครื่องแต่งกาย พิธีกร กรรมการ ก็เป็นผ้าไหมเทียม และเมื่อมีการเดินประกวดก็ไปพบบุตรหลานที่ประกวดด้วยกันส่วนใหญ่ใน กทม.ใส่ผ้าไหมเทียม มีแต่ต่างจังหวัดทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้เท่านั้นที่สวมผ้าไหมไทยประจำถิ่นที่หาดูได้ยากมากขึ้นประกวด
แต่จู่ๆ บนเวทีพิธีกรกลับประกาศออกมาว่าเป็นการประกวดแบบประยุกต์ ซึ่งไม่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่แรกว่าจะจัดประกวดผ้าเทียมราคาถูกชุดสำเพ็ง ลิเก แฟนซี พอเดินรอบแรกผลตัดสินออกมาภาคใต้ตกรอบหมด สร้างความตกใจเป็นอย่างมากเพราะคนที่เข้ารอบมีแต่สวมผ้าเทียม
เรื่องนี้ไม่ใช่ว่ามาโวยวายว่าไม่ได้รางวัล แต่ต้องการให้คนจัดงานมีความสำนึกรับผิดชอบ โดยเฉพาะการใช้ชื่อผ้าไทย ซึ่งกระแสกำลังมาแรงในขณะนี้ รัฐบาลยุค คสช.รณรงค์ เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั่วประเทศ หากจะมาจัดงานเพียงเพื่อสนองอะไรบางอย่างนั้น ก็ขอให้ระบุมาว่าจะประกวดกันอย่างไร ผ้าไทยแท้ๆ หรือผ้าเทียม แต่งอย่างไร เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาประกวด
นางสมใจ ชาวจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ต้องการให้ตรวจสอบ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนและผู้เข้าประกวดรู้สึกเสียใจอย่างมาก เพราะได้พาบุตรหลานสวมใส่ชุดผ้าไทย ที่นำผ้าพื้นเมืองภาคใต้ตัดด้วยทุนทรัพย์ของตัวเองไปประกวด แต่กลับเป็นเช่นนี้ถือว่าตบหน้าคนไทยและคนที่นิยมผ้าไทยเพราะผ้าไทยแท้ๆ ไม่ได้ถูกคัดเลือก
“อีกทั้งกรรมการในวันนั้นน่าจะดูผ้าไม่ออก หรือมานั่งประดับเฉยๆ จึงต้องการให้ออกมาตอบสังคมด้วย เพราะการนำเบื้องสูงมาอ้างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปล่อยให้มีการจัดประกวดเช่นนี้”
นางชฎาธาน ชาว กทม.กล่าวว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบผ้าไทย และเมื่อมีการประกาศทางเฟซบุ๊กก็รู้สึกดีใจ และได้จัดเตรียมชุดผ้าไทย (ผ้าไทยแท้) นำมาตัดเพื่อให้ลูกสาวได้เข้าเดินแบบ ได้เริ่มเตรียมตัวมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จะปิดรับสมัครในวันที่ 30 สิงหาคม 2558 ซึ่งการได้ทำชุดผ้าไทยถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของครอบครัว เพราะส่วนตัวนั้นชอบอยู่แล้วแต่พอเดินเข้างานก็ต้องตกใจ เมื่อเวทีการจัดประกวดได้ปล่อยให้มีการนำผ้าธรรมดา ที่สามารถซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปราคาถูก ดูเผินๆ ก็รู้ว่าผ้าไหมเทียมมาขึ้นเวที
เมื่อมีการคัดเลือกไว้เพียง 10 คนเพื่อตัดสินในแต่ละรุ่นยิ่งตกใจ เพราะผ้าไหมแท้ๆ ได้เข้ารอบเพียง 3 คน นอกนั้นเป็นผ้าเทียม แถมแต่งกันแบบแฟนซี ถือเป็นสิ่งน่าละอายที่ผู้จัดงานกล้าทำแบบนี้จึงต้องการให้ผู้ใหญ่ในวงการผ้าไหมไทยตรวจสอบด้วย
สำหรับคอมเมนต์นั้นนอกจากทางภาคใต้ กลาง เหนือ ในส่วนของภาคอีสานก็แสดงความเสียใจเพราะมีหลายสิบครอบครัวได้ตั้งใจเดินทางไปประกวด ในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรวา และไหมมัดหมี่ ผ้ายก แต่ละชุดมีมูลค่าเกือบ 1 แสนบาท แต่ต้องมาเจอเวทีกำมะลอแบบนี้ที่คงจะไม่มีใครกล้าเข้ามาใส่ผ้าไทยสวยๆ เข้าไปประกวดในกรุงเทพฯ อีกแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าภายหลังจากการตรวจสอบล่าสุด เฟซบุ๊กของ “ขวัญชนก โปรดักชั่น “แอดมินได้ทยอยลบคอมเมนตฺ์ไปเกือบหมด โดยไม่ได้แสดงความเห็นหรือแสดงความรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด
จากการตรวจสอบสังคมออนไลน์ หรือโลกโซเชียล ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการโพสต์เฟซบุ๊ก และลงยูทิวบ์เพื่อติดต่อกับสังคม คนภายนอก ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเพียงคลิกเดียวก็จะเห็นความเคลื่อนไหวและความรู้สึกนึกคิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และโดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมในสังคม จนสามารถให้ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบกันได้อย่างกว้างขวาง
ล่าสุด วันนี้ (10 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบพบความผิดปกติเกี่ยวกับการจัดงานประกวดเดินแฟชั่นผ้าไทย ที่เพิ่งจัดประกวดไปเมื่อวันที่ 5-6 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่สยามสแควร์วัน โซน ณ สยาม ซึ่งตามรายละเอียดจากเฟซบุ๊กระบุว่า สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ “ชวัญชนก โปรดักชั่น” ชิงถ้วยรางวัลมิราเคิลออฟไลฟ์ฯ พร้อมทุนการศึกษาและรวงวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท ถูกประชาชนผู้ชื่นชอบผ้าไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปกครองเข้าไปคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กของขวัญชนก โปรดักชั่นจำนวนมาก
โดยส่วนใหญ่ระบายความคับแค้นใจจากผลของการจัดงานที่คล้ายกับแหกตาประชาชนผู้ชื่นชอบผ้าไทย คอมเมนต์ส่วนใหญ่ไม่สนใจในเรื่องของรางวัลการประกวด แต่สนใจถึงวิธีการจัดงานที่เชื่อว่าตบตาประชาชนและโหนกระแสผ้าไทยมากกว่า
หนึ่งในคอมเมนต์นั้นระบุว่า อยากให้คนจัดงานได้คิดทบทวนดูจากที่หลายๆ คนได้โพสต์เพราะไม่ได้ออกมาโวยวายผลการตัดสิน แต่การประกวดที่ใช้คำว่า “ผ้าไทย” นั้นหมายถึงผ้าไทยที่ทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์อย่างไทยๆ ในแต่ละภูมิภาค แต่การตัดสินเครื่องแต่งกาย ได้ตัดสินเอาผ้าก๊อบปี้ ผ้าเทียมทอ ซึ่งได้ทำลายความตั้งใจของคนต่างจังหวัดที่เชื่อว่าเวทีจัดประกวดนี้เป็นเวที ทรงคุณค่า จึงสมัครส่งผ้าไทยเข้าร่วมประกวด
ผู้สื่อข่าวจึงได้ติดต่อสอบถามความเห็นผู้ส่งผ้าไทยเข้าประกวดงานดังกล่าวตามจังหวัดต่างๆ และต่างยืนยันว่าปัญหานี้มีจริงและกำลังส่งผลให้กระแสผ้าไทยเสื่อม
นางอร ชาวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เป็นเรื่องจริงและตนเองก็ได้เข้ามาคอมเม้นท์ในกิจกรรมนี้ เพราะรู้สึกว่าถูกหลอกลวง ทั้งที่ความรู้สึกแรกถือว่าเป็นเวทีที่ดี มีการนำโลโก้ กระทรวงวัฒนธรรม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาติด และยังมีเบื้องสูง จึงทำให้เชื่อและส่วนตัวมีความผูกพันกับโอทอป ซึ่งในพื้นที่มีการทอผ้าพื้นเมือง เมื่อมีเวทีก็รีบไปบอกกลุ่มโอทอป รวมไปถึงทางจังหวัด จนได้นำบุตรหลานซึ่งทุกคนมีความภาคภูมิใจนำผ้าไทยไปประกวด
โดยเฉพาะผ้าไทยชิ้นที่ส่งเข้าประกวดได้เลือกเอาผ้าไทยโบราณ และได้ขอร้องให้ ช่างฝีมือซึ่งเขาได้เลิกทอไปแล้วกลับมาทอให้ และส่วนตัวได้นั่งเครื่องบินกันมาประกวดด้วยความภูมิใจว่าเวทีนี้เป็นของจริง
แต่แล้วก็พบความผิดปกติ ตั้งแต่เครื่องแต่งกาย พิธีกร กรรมการ ก็เป็นผ้าไหมเทียม และเมื่อมีการเดินประกวดก็ไปพบบุตรหลานที่ประกวดด้วยกันส่วนใหญ่ใน กทม.ใส่ผ้าไหมเทียม มีแต่ต่างจังหวัดทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้เท่านั้นที่สวมผ้าไหมไทยประจำถิ่นที่หาดูได้ยากมากขึ้นประกวด
แต่จู่ๆ บนเวทีพิธีกรกลับประกาศออกมาว่าเป็นการประกวดแบบประยุกต์ ซึ่งไม่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่แรกว่าจะจัดประกวดผ้าเทียมราคาถูกชุดสำเพ็ง ลิเก แฟนซี พอเดินรอบแรกผลตัดสินออกมาภาคใต้ตกรอบหมด สร้างความตกใจเป็นอย่างมากเพราะคนที่เข้ารอบมีแต่สวมผ้าเทียม
เรื่องนี้ไม่ใช่ว่ามาโวยวายว่าไม่ได้รางวัล แต่ต้องการให้คนจัดงานมีความสำนึกรับผิดชอบ โดยเฉพาะการใช้ชื่อผ้าไทย ซึ่งกระแสกำลังมาแรงในขณะนี้ รัฐบาลยุค คสช.รณรงค์ เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั่วประเทศ หากจะมาจัดงานเพียงเพื่อสนองอะไรบางอย่างนั้น ก็ขอให้ระบุมาว่าจะประกวดกันอย่างไร ผ้าไทยแท้ๆ หรือผ้าเทียม แต่งอย่างไร เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาประกวด
นางสมใจ ชาวจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ต้องการให้ตรวจสอบ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนและผู้เข้าประกวดรู้สึกเสียใจอย่างมาก เพราะได้พาบุตรหลานสวมใส่ชุดผ้าไทย ที่นำผ้าพื้นเมืองภาคใต้ตัดด้วยทุนทรัพย์ของตัวเองไปประกวด แต่กลับเป็นเช่นนี้ถือว่าตบหน้าคนไทยและคนที่นิยมผ้าไทยเพราะผ้าไทยแท้ๆ ไม่ได้ถูกคัดเลือก
“อีกทั้งกรรมการในวันนั้นน่าจะดูผ้าไม่ออก หรือมานั่งประดับเฉยๆ จึงต้องการให้ออกมาตอบสังคมด้วย เพราะการนำเบื้องสูงมาอ้างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปล่อยให้มีการจัดประกวดเช่นนี้”
นางชฎาธาน ชาว กทม.กล่าวว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบผ้าไทย และเมื่อมีการประกาศทางเฟซบุ๊กก็รู้สึกดีใจ และได้จัดเตรียมชุดผ้าไทย (ผ้าไทยแท้) นำมาตัดเพื่อให้ลูกสาวได้เข้าเดินแบบ ได้เริ่มเตรียมตัวมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จะปิดรับสมัครในวันที่ 30 สิงหาคม 2558 ซึ่งการได้ทำชุดผ้าไทยถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของครอบครัว เพราะส่วนตัวนั้นชอบอยู่แล้วแต่พอเดินเข้างานก็ต้องตกใจ เมื่อเวทีการจัดประกวดได้ปล่อยให้มีการนำผ้าธรรมดา ที่สามารถซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปราคาถูก ดูเผินๆ ก็รู้ว่าผ้าไหมเทียมมาขึ้นเวที
เมื่อมีการคัดเลือกไว้เพียง 10 คนเพื่อตัดสินในแต่ละรุ่นยิ่งตกใจ เพราะผ้าไหมแท้ๆ ได้เข้ารอบเพียง 3 คน นอกนั้นเป็นผ้าเทียม แถมแต่งกันแบบแฟนซี ถือเป็นสิ่งน่าละอายที่ผู้จัดงานกล้าทำแบบนี้จึงต้องการให้ผู้ใหญ่ในวงการผ้าไหมไทยตรวจสอบด้วย
สำหรับคอมเมนต์นั้นนอกจากทางภาคใต้ กลาง เหนือ ในส่วนของภาคอีสานก็แสดงความเสียใจเพราะมีหลายสิบครอบครัวได้ตั้งใจเดินทางไปประกวด ในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรวา และไหมมัดหมี่ ผ้ายก แต่ละชุดมีมูลค่าเกือบ 1 แสนบาท แต่ต้องมาเจอเวทีกำมะลอแบบนี้ที่คงจะไม่มีใครกล้าเข้ามาใส่ผ้าไทยสวยๆ เข้าไปประกวดในกรุงเทพฯ อีกแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าภายหลังจากการตรวจสอบล่าสุด เฟซบุ๊กของ “ขวัญชนก โปรดักชั่น “แอดมินได้ทยอยลบคอมเมนตฺ์ไปเกือบหมด โดยไม่ได้แสดงความเห็นหรือแสดงความรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด