อุบลราชธานี - อุบลราชธานี ติด 1 ใน 5 ของประเทศพบเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ร่วมกับวัด บ้าน โรงเรียน รณรงค์ให้เด็กล้างมือ ทำความสะอาดของเล่น ป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค แต่โชคดีไม่พบเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส (EV)71 ซึ่งทำให้เด็กที่ป่วยตายได้ แต่ยังคงเฝ้าระวังเข้มข้น แนะผู้ปกครองพบลูกหลานมีอาการป่วยผิดปกติรีบมาพบแพทย์ไว้ก่อน
น.พ.ศรายุธ อุตตมางคพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงการแพร่ระบาดโรคมือเท้าปากใน 7 จังหวัดอีสานตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ย.ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 2,081 ราย สูงสุดที่ จ.อุบลราชธานี กว่า 800 คน รองลงมาเป็นศรีสะเกษกว่า 400 คน
ส่วนเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส (EV) 71 ที่ทำให้ผู้ป่วยตายได้นั้นยังไม่พบการระบาดในพื้นที่ แต่ก็ต้องเฝ้าระวัง และประชาสัมพันธ์ร่วมกับสถานศึกษาที่มีเด็กเล็กอยู่ในความดูแล หมั่นทำความสะอาด ล้างมือ เท้า รวมทั้งให้นำเครื่องเล่นออกมาล้างทำความสะอาดหลังเด็กเล่นเสร็จแล้วเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หากพบเด็กมีอาการป่วยด้วยโรคดังกล่าวต้องรีบแยกตัวออกจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน พร้อมแนะนำให้กลับบ้านไปรักษาตัวจนกว่าอาการป่วยจะหาย
สำหรับโรคมือเท้าปากมักพบการระบาดในกลุ่มเด็กอายุ 1-3 ปี และพบมากในช่วงฤดูฝน การรักษาต้องรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย แต่แนะนำให้ดื่มน้ำบ่อยๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำในร่างกาย โดยเด็กที่ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลในปาก จึงควรให้อาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำเต้าหู้ ด้วยการป้อน และหลีกเลี่ยงการใช้ปากดูด เพราะจะทำให้มีอาการเจ็บแผลในปากได้
หากเด็กมีอาการชัก ซึม อาเจียน หรือมีไข้สูงควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที เพราะเชื้ออาจลุกลามไปทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจนเสียชีวิตได้
น.พ.ศรายุธ อุตตมางคพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงการแพร่ระบาดโรคมือเท้าปากใน 7 จังหวัดอีสานตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ย.ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 2,081 ราย สูงสุดที่ จ.อุบลราชธานี กว่า 800 คน รองลงมาเป็นศรีสะเกษกว่า 400 คน
ส่วนเชื้อสายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส (EV) 71 ที่ทำให้ผู้ป่วยตายได้นั้นยังไม่พบการระบาดในพื้นที่ แต่ก็ต้องเฝ้าระวัง และประชาสัมพันธ์ร่วมกับสถานศึกษาที่มีเด็กเล็กอยู่ในความดูแล หมั่นทำความสะอาด ล้างมือ เท้า รวมทั้งให้นำเครื่องเล่นออกมาล้างทำความสะอาดหลังเด็กเล่นเสร็จแล้วเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หากพบเด็กมีอาการป่วยด้วยโรคดังกล่าวต้องรีบแยกตัวออกจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน พร้อมแนะนำให้กลับบ้านไปรักษาตัวจนกว่าอาการป่วยจะหาย
สำหรับโรคมือเท้าปากมักพบการระบาดในกลุ่มเด็กอายุ 1-3 ปี และพบมากในช่วงฤดูฝน การรักษาต้องรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย แต่แนะนำให้ดื่มน้ำบ่อยๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำในร่างกาย โดยเด็กที่ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลในปาก จึงควรให้อาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำเต้าหู้ ด้วยการป้อน และหลีกเลี่ยงการใช้ปากดูด เพราะจะทำให้มีอาการเจ็บแผลในปากได้
หากเด็กมีอาการชัก ซึม อาเจียน หรือมีไข้สูงควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที เพราะเชื้ออาจลุกลามไปทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจนเสียชีวิตได้