xs
xsm
sm
md
lg

ทึ่ง! ผู้ป่วยทั่วสารทิศแห่รักษา “หมอจัดกระดูก” ภูมิปัญญาแพทย์ทางเลือกแห่งเดียวในโลกที่เมืองน้ำดำ(ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ชาวบ้านจากทุกสารทิศซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคไขข้อ ปวดเส้น ปวดเอ็น ไมเกรน หรือแม้แต่มีอาการป่วยเป็น อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต เข้ารักษากับนายทองม้วน ภูสง่า อายุ 74 ปี อยู่บ้านหนองบัวหน่วย เลขที่ 111 หมู่ที่ 16 ต.คลองขาม อ.ยางตลาด
กาฬสินธุ์ - ชาวบ้านจากทุกสารทิศที่เจ็บป่วยด้วยโรคไขข้อ ปวดเส้น ปวดเอ็น ไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต แห่เข้าคิวรักษากับ “หมอจัดกระดูก” ซึ่งจังหวัดยกย่องให้เป็นหมอพื้นบ้านทางวัฒนธรรม ด้วยวิธีการรักษาที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ถือว่ามีแห่งเดียวในโลก



จากคำร่ำลือถึงวิธีการบำบัดรักษาโรคไขข้อกระดูก อาการปวดเส้น ปวดเอ็น ไมเกรน ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลายราย บางคนมีอาการเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต รักษาวิธีพื้นบ้านโบราณด้วยการใช้มือตรวจและจับเส้นเอ็นหรือกระดูก ก่อนที่จะใช้ผ้าขาวม้าดึง กลายเป็นแพทย์ทางเลือกให้แก่ผู้ป่วย ต่างพากันแห่ไปรักษาจนกลายเป็นเรื่องที่โด่งดัง และทำให้หลายคนที่มีอาการดังกล่าวอยากพากันไปพิสูจน์

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวประจำ จ.กาฬสินธุ์ได้เดินทางไปร่วมพิสูจน์วิธีการรักษาของนายทองม้วน ภูสง่า อายุ 74 ปี บ้านหนองบัวหน่วย เลขที่ 111 หมู่ 16 ต.คลองขาม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดียว ภายในบ้านพบประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยในลักษณะเดียวกัน เข้าคิวรอรับการรักษาจากพ่อทองม้วน

โดยนายทองม้วนจะสอบถามอาการก่อนลงมือจัดกระดูก จากนั้นก็จะมีลูกหลานที่ผ่านกระบวนการฝึกฝนใช้ผ้าขาวม้าจะช่วยกันมัดบริเวณข้อเท้าก่อนทำการดึงจนมีเสียงกระดูกดังกร๊อบๆ จากนั้นจะทาน้ำมันงาแล้วให้ผู้ป่วยรายใหม่เข้ามารักษาต่อ

นายทองม้วนเล่าว่า วิธีการบำบัดรักษาดังกล่าวเป็นวิชาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าวิชานี้บรรพบุรุษของตนได้ศึกษามาจากแห่งใด แต่ตนเองได้ศึกษาเรียนรู้จากพ่อทัด ภูสง่า บิดา ตั้งแต่ตนอายุ 10 ขวบ ก็มีคนทยอยเข้ามารักษาแบบนี้ จนเมื่อบิดาเลิกทำตนก็นำความรู้มารักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2515 หากนับถึงวันนี้ก็รวม 43 ปี ทำให้มีประชาชนที่ผ่านการรักษาบอกกันปากต่อปากได้เดินทางมาจากทุกสารทิศทั่วประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นลาวหรือกัมพูชาก็เข้ามารับการรักษา

กระบวนการรักษานั้นหากจะอธิบายคงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ เพราะถ่ายทอดทางภูมิปัญญากันมานาน แต่ที่แน่ๆ จะต้องรู้เรื่องของกระดูกทั้งหญิง-ชาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดตามข้อกระดูก หรือโรคหมอนรองกระดูก อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต รวมไปถึงอาการปวดต้นคอ ไมเกรน ที่จะเกิดจากความเครียด จนทำให้กระดูกคอไปทับเส้นประสาทและเจ็บป่วยลงได้

นายทองม้วนเล่าต่อว่า การรักษาของตนไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ แต่เป็นเรื่องขององค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และผลการรักษาที่ผ่านมาได้มีนักศึกษาแพทย์จากหลายมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกได้เข้ามาศึกษาดูงาน กระทรวงวัฒนธรรมยกย่องให้เป็นหมอพื้นบ้านทางวัฒนธรรมของไทย หมอจัดกระดูก “สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล” ซึ่งได้ผ่านการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมของจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2557 อีกด้วย

ด้านท้าวสมสวาท พิลาวงศ์ อายุ 45 ปี ผู้ป่วยจาก สปป.ลาว กล่าวว่า เดินทางมารักษาเป็นครั้งที่สอง ด้วยโรคปวดต้นคอและลามไปถึงหมอนรองกระดูก ซึ่งในครั้งแรกญาติได้หามเปลเข้ามารักษา แต่พอหลังจากผ่านการรักษาไปครั้งแรกรู้สึกว่าอาการเจ็บปวดทุเลาลงและดีขึ้น และตั้งใจไว้ว่าจะรักษาให้ครบ 5 ครั้ง ซึ่งส่วนตัวก็คงจะต้องดูที่อาการว่าดีขึ้นได้มากแค่ไหน เพราะเป็นเรื่องของแพทย์ทางเลือกควบคู่กับการรักษาตามแบบแผนปัจจุบัน

ข่าวแจ้งว่า หมอทองม้วนจะเปิดรักษาตั้งแต่ 06.00-18.00 น. หยุดทุกวันพระ ค่ารักษาขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ป่วย หรือหากไม่มีก็จะรักษาให้ฟรี ทั้งนี้หากสนใจสามารถติดต่อที่ โทร. 08-1059-8137 ได้ทุกวัน


นายทองม้วนได้รับการยกย่องให้เป็นหมอจัดกระดูก และหมอพื้นบ้านทางวัฒนธรรม ด้วยวิธีการรักษาที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษด้วยการจับเส้น กระดูก ก่อนใช้ผ้าขาวม้าทำการดึงกระดูกเข้าที่ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก

กล้องเอ็นโดสโคป ทางเลือกใหม่ผู้ป่วยโรคแห่งความเสื่อม
กล้องเอ็นโดสโคป ทางเลือกใหม่ผู้ป่วยโรคแห่งความเสื่อม
แต่ทุกวันนี้ มีเทคนิคที่เรียกว่า ‘การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป’ โดยสอดกล้องผ่านแผลผ่าตัดขนาด 7.9 มิลลิเมตรสำหรับรักษากระดูกสันหลังช่วงเอวและคอ และ การกรอกระดูกสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มอาการโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจากการเกิดหินปูนกดทับเส้นประสาท ด้วยกล้องขนาด 10.5 มิลลิเมตร พร้อมเลนส์ที่ปลายกล้องเพื่อช่วยให้แพทย์มองเห็นบริเวณที่ผิดปกติได้ชัดเจน และสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาออกได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก คนไข้จึงใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดไม่นานและมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีการเดิม
กำลังโหลดความคิดเห็น