ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจัดงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยุคสมัยและพัฒนาการปฏิทินไท-ไทย” พร้อมสาธิตการจารใบลาน และร่วมชมนิทรรศการภูมิปัญญาด้านใบลานและพับสา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ใบลานศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจัดเสวนา เรื่อง “ยุคสมัยและพัฒนาการปฏิทินไท-ไทย” ในวันที่ 8 เมษายน 2558 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป
โดยการเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้รู้ด้านปฏิทินล้านนา เช่น มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ และผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ใบลาน สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านใบลานและพับสา
รวมทั้งจะได้ชมนิทรรศการภูมิปัญญาด้านปฏิทินของประเทศต่างๆ ในแถบลุ่มน้ำโขง โปสเตอร์ลายเส้นประกาศสงกรานต์ไทยจากธนาคารออมสิน และโปสเตอร์ประกาศสงกรานต์แบบล้านนาของ นายพงษ์พรรณ เรือนนันชัย อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏกล่าวว่า การเสวนาครั้งนี้ได้เล็งเห็นว่าปฏิทินซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันมีความหลากหลาย ทั้งด้านรูปแบบการใช้งาน ระบบการนับ และการคำนวณ รวมถึงยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำสาละวินที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างใช้ปฏิทินที่คำนวณโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นหลัก เรียกว่า “ปฏิทินจันทรคติ” และยังมีการพบเห็นการใช้ปฏิทินระบบนี้ในเอกสาร เช่น จารึก ใบลาน พับสา
“อีกทั้งปัจจุบันยังมีการจัดพิมพ์ปฏิทินและประกาศสงกรานต์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลในปฏิทินแต่ละฉบับต่างมีความน่าสนใจ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดและความเชื่อของผู้ใช้ในแต่ละท้องถิ่นด้วย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏกล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ใบลานศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจัดเสวนา เรื่อง “ยุคสมัยและพัฒนาการปฏิทินไท-ไทย” ในวันที่ 8 เมษายน 2558 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป
โดยการเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้รู้ด้านปฏิทินล้านนา เช่น มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ และผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ใบลาน สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านใบลานและพับสา
รวมทั้งจะได้ชมนิทรรศการภูมิปัญญาด้านปฏิทินของประเทศต่างๆ ในแถบลุ่มน้ำโขง โปสเตอร์ลายเส้นประกาศสงกรานต์ไทยจากธนาคารออมสิน และโปสเตอร์ประกาศสงกรานต์แบบล้านนาของ นายพงษ์พรรณ เรือนนันชัย อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏกล่าวว่า การเสวนาครั้งนี้ได้เล็งเห็นว่าปฏิทินซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันมีความหลากหลาย ทั้งด้านรูปแบบการใช้งาน ระบบการนับ และการคำนวณ รวมถึงยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำสาละวินที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างใช้ปฏิทินที่คำนวณโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นหลัก เรียกว่า “ปฏิทินจันทรคติ” และยังมีการพบเห็นการใช้ปฏิทินระบบนี้ในเอกสาร เช่น จารึก ใบลาน พับสา
“อีกทั้งปัจจุบันยังมีการจัดพิมพ์ปฏิทินและประกาศสงกรานต์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลในปฏิทินแต่ละฉบับต่างมีความน่าสนใจ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดและความเชื่อของผู้ใช้ในแต่ละท้องถิ่นด้วย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานาฏกล่าว