ท่ามกลางข้อถกเถียงถึงระบบเกษตรพันธสัญญา ทั้งข้อดีข้อเสีย และความอยู่รอดที่ทำให้เกษตรกรบางคนเกิดอาการลังเลว่า ควรหรือไม่ควรเข้าสู่ระบบดังกล่าวกันแน่
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่าน “คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา สิ่งที่เกษตรกรควรรู้และพึงระวัง” ของ ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ ดร.พรศิริ สืบพงษ์สังข์ ซึ่งเขียนเรียบเรียงและอธิบายความถึงข้อเด่นข้อด้อยของระบบนี้ ผ่านงานวิจัยของทั้ง 2 ท่าน น่าจะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจของเกษตรหน้าใหม่ที่สนใจ รวมถึงเกษตรกรที่อยู่ในระบบนี้ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จึงขอหยิบยกเนื้อหาบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง...
เกษตรพันธสัญญาเป็นการเกษตรที่มีข้อตกลงระหว่างบริษัทแปรรูป (ผู้ซื้อ) กับเกษตรกร (ผู้ผลิต) ในการผลิต และส่งมอบสินค้าเกษตรภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี คุณภาพของผลผลิต และการรับซื้อ
ตามหลักการแล้ว ระบบนี้เป็นระบบที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต และบริษัทผู้ซื้อผลผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ในมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายควรได้รับประโยชน์ กล่าวคือ เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ลดปัญหาข้อจำกัดด้านเงินทุน และความไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ลดภาระความเสี่ยงด้านการตลาด ขณะที่ฝ่ายบริษัทผู้ซื้อก็จะลดความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนของปริมาณ และคุณภาพของวัตถุดิบที่เข้าสู่โรงงานแปรรูป รวมถึงลดต้นทุน
สำหรับภาพรวมระดับประเทศ ระบบเกษตรพันธสัญญา นอกจากจะช่วยให้ภาคเกษตรได้รับการพัฒนา เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่การสร้างอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ผู้บริโภคได้รับอาหารคุณภาพ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงที่มาของอาหารนั้น ควบคู่ไปกับการที่บริษัทสามารถส่งออกอาหารแปรรูปสร้างรายได้ให้แก่ประเทศมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบเกษตรพันธสัญญาก็ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ความไม่นิ่ง และไม่ลงตัวในด้านเทคโนโลยีของบริษัท หรือคุณภาพของปัจจัยการผลิต ความไม่ซื่อสัตย์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือลักษณะเฉพาะของเกษตรกรบางราย เช่น ความขยันขันแข็ง และความตั้งใจในการดูแลฟาร์ม เป็นต้น
ในเมื่อระบบเกษตรพันธสัญญา มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ดังนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการเกษตรพันธสัญญา ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ ไม่ว่ากับบริษัทเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง
สิ่งแรกที่เกษตรกรควรพิจารณา ก็คือ ลักษณะของคู่สัญญา เช่น เป็นนายหน้า (ตัวแทน) ของบริษัทโดยตรง หรือเป็นนายหน้าอิสระ โดยในการปลูกพืชส่วนใหญ่เกษตรกรจะทำสัญญาปากเปล่าผ่านนายหน้าซึ่งเป็นผู้รวบรวมผลผลิตส่งให้บริษัทอีกต่อหนึ่ง ขณะที่การเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับบริษัทโดยตรง หรือนายหน้าตัวแทนบริษัท คู่สัญญาแต่ละรูปแบบยังแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น นายหน้าบางรายให้ราคาสูงแต่ต้องรอนานกว่าจะได้เงิน อีกรายให้เงินรวดเร็วแต่ราคาต่ำกว่า เป็นต้น นอกจากนี้ การสื่อสารถึงบริษัทโดยผ่านนายหน้าอิสระกับนายหน้าตัวแทนของบริษัทโดยตรง ก็ย่อมเข้าถึงบริษัทแตกต่างกัน นำไปสู่ความไม่เข้าใจ และทำให้การผลิตไม่ราบรื่นได้
ประการต่อมา ต้องพิจารณาระยะเวลาในการทำสัญญา และการต่อสัญญา ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาระยะสั้นต่อหนึ่งฤดูกาลผลิต หรือต่อหนึ่งรุ่น แต่ปัจจุบันเริ่มมีการทำสัญญาที่ยาวขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่น ไก่เนื้อ ที่มีการทำสัญญายาวขึ้นเป็น 8 ปี
นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาลักษณะข้อตกลงดูมาตรฐานการผลิตของบริษัท ศึกษาการลงทุน และผลตอบแทน ซึ่งควรหาข้อมูลการลงทุนจากเพื่อนเกษตรกรที่ลงทุนทำฟาร์มมาก่อน ทั้งนี้ พอจะสรุปปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มปศุสัตว์พันธสัญญา เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1.) พันธุ์สัตว์ที่ดี สมบูรณ์และแข็งแรง 2.) การเลี้ยงและการจัดการฟาร์มอย่างใกล้ชิด 3.) สภาพโรงเรือนและอุปกรณ์ในโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน 4) คุณภาพของบริษัทคู่สัญญา 5.) ลักษณะของเกษตรกรที่ต้องช่างสังเกตและเรียนรู้ 6.) ระยะเวลาจับสัตว์ขายที่แน่นอนตามข้อตกลง 7.) การรวมกลุ่มของเกษตรกร
เหล่านี้เป็นคำแนะนำบางส่วนที่ได้จากคู่มือดังกล่าว สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาทั้งบริษัทคู่สัญญา และตัวเกษตรกรเองว่าพร้อมหรือไม่ที่จะเข้าสู่ระบบนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่น้อยทีเดียว โปรดอย่าลืมว่าทุกอาชีพล้วนมีทั้งผู้ประสบความสำเร็จและผู้ที่ล้มเหลว... การตัดสินใจที่ถูกต้องตั้งแต่บันไดขั้นแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญ!!
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่าน “คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา สิ่งที่เกษตรกรควรรู้และพึงระวัง” ของ ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ ดร.พรศิริ สืบพงษ์สังข์ ซึ่งเขียนเรียบเรียงและอธิบายความถึงข้อเด่นข้อด้อยของระบบนี้ ผ่านงานวิจัยของทั้ง 2 ท่าน น่าจะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจของเกษตรหน้าใหม่ที่สนใจ รวมถึงเกษตรกรที่อยู่ในระบบนี้ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จึงขอหยิบยกเนื้อหาบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง...
เกษตรพันธสัญญาเป็นการเกษตรที่มีข้อตกลงระหว่างบริษัทแปรรูป (ผู้ซื้อ) กับเกษตรกร (ผู้ผลิต) ในการผลิต และส่งมอบสินค้าเกษตรภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี คุณภาพของผลผลิต และการรับซื้อ
ตามหลักการแล้ว ระบบนี้เป็นระบบที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต และบริษัทผู้ซื้อผลผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ในมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายควรได้รับประโยชน์ กล่าวคือ เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ลดปัญหาข้อจำกัดด้านเงินทุน และความไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ลดภาระความเสี่ยงด้านการตลาด ขณะที่ฝ่ายบริษัทผู้ซื้อก็จะลดความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนของปริมาณ และคุณภาพของวัตถุดิบที่เข้าสู่โรงงานแปรรูป รวมถึงลดต้นทุน
สำหรับภาพรวมระดับประเทศ ระบบเกษตรพันธสัญญา นอกจากจะช่วยให้ภาคเกษตรได้รับการพัฒนา เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่การสร้างอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ผู้บริโภคได้รับอาหารคุณภาพ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงที่มาของอาหารนั้น ควบคู่ไปกับการที่บริษัทสามารถส่งออกอาหารแปรรูปสร้างรายได้ให้แก่ประเทศมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบเกษตรพันธสัญญาก็ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ความไม่นิ่ง และไม่ลงตัวในด้านเทคโนโลยีของบริษัท หรือคุณภาพของปัจจัยการผลิต ความไม่ซื่อสัตย์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือลักษณะเฉพาะของเกษตรกรบางราย เช่น ความขยันขันแข็ง และความตั้งใจในการดูแลฟาร์ม เป็นต้น
ในเมื่อระบบเกษตรพันธสัญญา มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ดังนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการเกษตรพันธสัญญา ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ ไม่ว่ากับบริษัทเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง
สิ่งแรกที่เกษตรกรควรพิจารณา ก็คือ ลักษณะของคู่สัญญา เช่น เป็นนายหน้า (ตัวแทน) ของบริษัทโดยตรง หรือเป็นนายหน้าอิสระ โดยในการปลูกพืชส่วนใหญ่เกษตรกรจะทำสัญญาปากเปล่าผ่านนายหน้าซึ่งเป็นผู้รวบรวมผลผลิตส่งให้บริษัทอีกต่อหนึ่ง ขณะที่การเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับบริษัทโดยตรง หรือนายหน้าตัวแทนบริษัท คู่สัญญาแต่ละรูปแบบยังแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น นายหน้าบางรายให้ราคาสูงแต่ต้องรอนานกว่าจะได้เงิน อีกรายให้เงินรวดเร็วแต่ราคาต่ำกว่า เป็นต้น นอกจากนี้ การสื่อสารถึงบริษัทโดยผ่านนายหน้าอิสระกับนายหน้าตัวแทนของบริษัทโดยตรง ก็ย่อมเข้าถึงบริษัทแตกต่างกัน นำไปสู่ความไม่เข้าใจ และทำให้การผลิตไม่ราบรื่นได้
ประการต่อมา ต้องพิจารณาระยะเวลาในการทำสัญญา และการต่อสัญญา ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาระยะสั้นต่อหนึ่งฤดูกาลผลิต หรือต่อหนึ่งรุ่น แต่ปัจจุบันเริ่มมีการทำสัญญาที่ยาวขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่น ไก่เนื้อ ที่มีการทำสัญญายาวขึ้นเป็น 8 ปี
นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาลักษณะข้อตกลงดูมาตรฐานการผลิตของบริษัท ศึกษาการลงทุน และผลตอบแทน ซึ่งควรหาข้อมูลการลงทุนจากเพื่อนเกษตรกรที่ลงทุนทำฟาร์มมาก่อน ทั้งนี้ พอจะสรุปปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มปศุสัตว์พันธสัญญา เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1.) พันธุ์สัตว์ที่ดี สมบูรณ์และแข็งแรง 2.) การเลี้ยงและการจัดการฟาร์มอย่างใกล้ชิด 3.) สภาพโรงเรือนและอุปกรณ์ในโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน 4) คุณภาพของบริษัทคู่สัญญา 5.) ลักษณะของเกษตรกรที่ต้องช่างสังเกตและเรียนรู้ 6.) ระยะเวลาจับสัตว์ขายที่แน่นอนตามข้อตกลง 7.) การรวมกลุ่มของเกษตรกร
เหล่านี้เป็นคำแนะนำบางส่วนที่ได้จากคู่มือดังกล่าว สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาทั้งบริษัทคู่สัญญา และตัวเกษตรกรเองว่าพร้อมหรือไม่ที่จะเข้าสู่ระบบนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่น้อยทีเดียว โปรดอย่าลืมว่าทุกอาชีพล้วนมีทั้งผู้ประสบความสำเร็จและผู้ที่ล้มเหลว... การตัดสินใจที่ถูกต้องตั้งแต่บันไดขั้นแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญ!!