วันนี้ (12ก.พ.58) ที่บริเวณศูนย์เศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ (นาลุ่ม) โครงการพระราชดำริ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ผศ.นพพร โฆษิระโยธิน รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลียราชภัฏกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมชีวภาพ ชีวจิต ปฐมวัยร่วมใจวิทย์ Show & Shars ครั้งที่ 1 โดยมีผศ.ดร.ชัยยนต์ เพาพาน คณบดีคณะครุศาสตร์ , ดร.ชุลิดา เหมตะศิลป์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป นำนักศึกษาร่วมจัดมหกรรมชีวภาพ ชีวจิตอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนที่สนใจแนวทางวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 1,000 คน
ดร.ชุลิดา เหมตะศิลป์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กล่าวว่า มหกรรมชีวภาพ ชีวจิต ปฐมวัยร่วมใจวิทย์ Show & Shars ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นครั้งนี้ เป็นการบูรณาการโครงการสาธิตการทำแปลงผักปลอดสารพิษ โครงการมหกรรมอาหารพื้นบ้านอีสานจากผักปลอดสารพิษ โครงการวิจัยด้านการประหยัดพลังงาน โดยใช้เทคโนโลยีสู่ชุมชน และโครงการนักศึกษาประถมวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ให้นักศึกษาสาขาดังกล่าวได้วิจัยและปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ปรับใช้การเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
การจัดงานมหกรรมเกษตรชีวภาพครั้งนี้ ยังได้ร่วมกับชุมชนและสถานศึกษาระดับประถมวัยในพื้นที่ใกล้เคียง นำบุคลากร นักเรียน เข้าร่วม เพื่อรณรงค์ผลิตอาหารที่ปลอดภัย ตั้งแต่การผลิตขั้นต้นจนถึงการแปรรูปเพื่อบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนปลุกจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจัดนิทรรศการแสดงผลงานและกิจกรรมต่างๆ เช่น สาธิตการทำน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง การแสดงนวัตกรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับหลักวิชาการ การแข่งขันประกอบอาหาร ตั้งเป้าปลูกจิตสำนึกนักศึกษา นักเรียนประถมวัย และขยายผลสู่ชุมชน ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและจำหน่าย
ดร.ชุลิดา เหมตะศิลป์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กล่าวว่า มหกรรมชีวภาพ ชีวจิต ปฐมวัยร่วมใจวิทย์ Show & Shars ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นครั้งนี้ เป็นการบูรณาการโครงการสาธิตการทำแปลงผักปลอดสารพิษ โครงการมหกรรมอาหารพื้นบ้านอีสานจากผักปลอดสารพิษ โครงการวิจัยด้านการประหยัดพลังงาน โดยใช้เทคโนโลยีสู่ชุมชน และโครงการนักศึกษาประถมวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ให้นักศึกษาสาขาดังกล่าวได้วิจัยและปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ปรับใช้การเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
การจัดงานมหกรรมเกษตรชีวภาพครั้งนี้ ยังได้ร่วมกับชุมชนและสถานศึกษาระดับประถมวัยในพื้นที่ใกล้เคียง นำบุคลากร นักเรียน เข้าร่วม เพื่อรณรงค์ผลิตอาหารที่ปลอดภัย ตั้งแต่การผลิตขั้นต้นจนถึงการแปรรูปเพื่อบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนปลุกจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจัดนิทรรศการแสดงผลงานและกิจกรรมต่างๆ เช่น สาธิตการทำน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง การแสดงนวัตกรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับหลักวิชาการ การแข่งขันประกอบอาหาร ตั้งเป้าปลูกจิตสำนึกนักศึกษา นักเรียนประถมวัย และขยายผลสู่ชุมชน ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและจำหน่าย