อ่างทอง - จังหวัดอ่างทอง เตรียมการจัดงาน “คนดีศรีแผ่นดินถิ่นนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์” เพื่อสดุดีพันท้ายนรสิงห์วีรชนที่ “ตายในหน้าที่ดีกว่าอยู่ให้อับอาย” เพื่อรักษากฎหมายบ้านเมือง ที่บริเวณอนุสาวรีย์พันท้ายนาสิงห์ 26-30 มกราคม 2558 นี้
วันนี้ (23 ม.ค.) นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมหน่วยงานราชการต่างๆ ในจังหวัดอ่างทอง ได้จัดการแถลงข่าวการเตรียมจัดงาน “คนดีศรีแผ่นดินถิ่นนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์” ประจำปี 2558 ที่บริเวณอนุสาวรีย์พันท้ายนาสิงห์ ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงคุณงามความดีที่พันท้ายนรสิงห์ โดยในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 3 ของทุกปีเป็นวันที่พันท้ายนรสิงห์ ถูกประหารชีวิต ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 มกราคม 2558 ทางจังหวัดอ่างทอง จึงได้มีกำหนดจัดงานในวันที่ 26-30 มกราคม 2558
โดยจัดให้มีพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุเสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ และกิจกรรมชกมวยไทยคาดเชือก พร้อมการละเล่น และการจำลองตลาดย้อนยุค เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักกัน
นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า พันท้ายนรสิงห์ พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือที่เสด็จไปถึงตำบลโคกขามแต่คลองคดเคี้ยวมาก จนเรือพระที่นั่งเกือบชนต้นไม้ใหญ่ พันท้ายนรสิงห์ จึงได้คัดท้ายเรือเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ทำให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งพันท้านนรสิงห์ รู้ดีว่าโทษนี้ตามโบราณราชประเพณีต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่พระเจ้าเสือทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงพระราชทานโทษให้
“แต่พันท้ายนรสิงห์ กราบบังคมยืนยันรับโทษเพื่อรักษาพระราชกำหนดกฎหมายบ้านเมืองไว้ และเพื่อเป็นการปกป้องมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่า ทรงละเลยพระราชกำหนดกฎหมายแผ่นดิน และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป ตามคำที่ว่า “ตายในหน้าที่ดีกว่าอยู่ให้อับอาย” เพื่อรักษากฎหมายบ้านเมือง จึงควรถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกหลานที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างต่อไป” ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าว
อนึ่ง สำหรับ “พันท้ายนรสิงห์” เป็นนายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พ.ศ.2246-พ.ศ.2251) โดยพันท้ายนรสิงห์ เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
ตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการบันทึกในลักษณะเดียวกันคือ สิน (ชื่อเดิมของพันท้ายนรสิงห์) เคยแข่งมวยคาดเชือกกับพระเจ้าเสือ โดยที่ไม่รู้ว่าพระองค์ปลอมตัวเป็นชาวบ้าน และเขาได้ทราบในภายหลังเมื่อรับการเรียกตัวเข้ารับราชการ
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขาม ซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยว และมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์ จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึง 3 ครั้งด้วยกัน เนื่องจากใน 2 ครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา
อีกแง่มุมหนึ่ง มีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ จึงจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่ดังกล่าว
ส่วนเรื่องตามฉบับละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหาร แต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน ทว่า พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดกฎมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปร่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์ จึงถูกประหารในวันเดียวกัน
ภายหลังพระเจ้าเสือ ได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คมไพร่พล จำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ.2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน
วันนี้ (23 ม.ค.) นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมหน่วยงานราชการต่างๆ ในจังหวัดอ่างทอง ได้จัดการแถลงข่าวการเตรียมจัดงาน “คนดีศรีแผ่นดินถิ่นนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์” ประจำปี 2558 ที่บริเวณอนุสาวรีย์พันท้ายนาสิงห์ ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงคุณงามความดีที่พันท้ายนรสิงห์ โดยในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 3 ของทุกปีเป็นวันที่พันท้ายนรสิงห์ ถูกประหารชีวิต ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 มกราคม 2558 ทางจังหวัดอ่างทอง จึงได้มีกำหนดจัดงานในวันที่ 26-30 มกราคม 2558
โดยจัดให้มีพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุเสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ และกิจกรรมชกมวยไทยคาดเชือก พร้อมการละเล่น และการจำลองตลาดย้อนยุค เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักกัน
นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า พันท้ายนรสิงห์ พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือที่เสด็จไปถึงตำบลโคกขามแต่คลองคดเคี้ยวมาก จนเรือพระที่นั่งเกือบชนต้นไม้ใหญ่ พันท้ายนรสิงห์ จึงได้คัดท้ายเรือเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ทำให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งพันท้านนรสิงห์ รู้ดีว่าโทษนี้ตามโบราณราชประเพณีต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่พระเจ้าเสือทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงพระราชทานโทษให้
“แต่พันท้ายนรสิงห์ กราบบังคมยืนยันรับโทษเพื่อรักษาพระราชกำหนดกฎหมายบ้านเมืองไว้ และเพื่อเป็นการปกป้องมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่า ทรงละเลยพระราชกำหนดกฎหมายแผ่นดิน และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป ตามคำที่ว่า “ตายในหน้าที่ดีกว่าอยู่ให้อับอาย” เพื่อรักษากฎหมายบ้านเมือง จึงควรถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกหลานที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างต่อไป” ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าว
อนึ่ง สำหรับ “พันท้ายนรสิงห์” เป็นนายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พ.ศ.2246-พ.ศ.2251) โดยพันท้ายนรสิงห์ เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
ตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการบันทึกในลักษณะเดียวกันคือ สิน (ชื่อเดิมของพันท้ายนรสิงห์) เคยแข่งมวยคาดเชือกกับพระเจ้าเสือ โดยที่ไม่รู้ว่าพระองค์ปลอมตัวเป็นชาวบ้าน และเขาได้ทราบในภายหลังเมื่อรับการเรียกตัวเข้ารับราชการ
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขาม ซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยว และมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์ จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึง 3 ครั้งด้วยกัน เนื่องจากใน 2 ครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา
อีกแง่มุมหนึ่ง มีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ จึงจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่ดังกล่าว
ส่วนเรื่องตามฉบับละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหาร แต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน ทว่า พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดกฎมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปร่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์ จึงถูกประหารในวันเดียวกัน
ภายหลังพระเจ้าเสือ ได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คมไพร่พล จำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ.2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน