ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมสัตวบาล ยันกำจัดซากถูกต้องตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์
นายสุเทพ วงศ์รื่น นายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับการทำลายลูกไก่ที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีความพิการ เช่น ปากเบี้ยว แคระแกร็น เดินสามขา และร่างกายไม่แข็งแรง ที่แม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่สามารถเติบโต และใช้ชีวิตตามปกติได้ อาจทุกข์ทรมาน หรือโดนไก่ในฝูงทำร้าย หรือรังแก และอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคได้ โรงฟักไข่จึงต้องมีการทำลายลูกไก่ดังกล่าว โดยขั้นตอนในการทำลายเป็นไปตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ กล่าวคือ ต้องทำให้ลูกไก่สลบด้วยการรมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วจึงนำไปฝังกลบ หรือเผาทำลายตามมาตรฐานต่อไป ทั้งนี้ ในขั้นตอนดังกล่าวจะมีผู้ชำนาญการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกดูแลอย่างใกล้ชิด
“ขอยืนยันว่าฟาร์มเลี้ยงไก่ที่มีสมาชิกของสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ ดูแลทั้งหมด มีกระบวนการทำลายลูกไก่ตามมาตรฐาน ไม่ได้มีการทำทารุณกรรมสัตว์เหมือนดังคลิปที่มีการส่งต่อกันในขณะนี้” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับลูกไก่ที่ไม่แข็งแรง หรือมีความพิการซึ่งปกติจะมีอยู่ประมาณ 1-2% ต่อการฟักไข่แต่ละครั้งนั้น ไม่สามารถส่งต่อไปให้เกษตรกรเลี้ยงได้ จึงจำเป็นต้องทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งก่อโรค เช่นเดียวกับไข่ฟักที่เสียหาย ซากสัตว์ปีก และของเสียต่างๆ ที่ต้องเก็บใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์พาหะ และการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และนำไปทำลายด้วยวิธีการที่เหมาะสมทุกวัน
นายสุเทพ วงศ์รื่น นายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับการทำลายลูกไก่ที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีความพิการ เช่น ปากเบี้ยว แคระแกร็น เดินสามขา และร่างกายไม่แข็งแรง ที่แม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่สามารถเติบโต และใช้ชีวิตตามปกติได้ อาจทุกข์ทรมาน หรือโดนไก่ในฝูงทำร้าย หรือรังแก และอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคได้ โรงฟักไข่จึงต้องมีการทำลายลูกไก่ดังกล่าว โดยขั้นตอนในการทำลายเป็นไปตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ กล่าวคือ ต้องทำให้ลูกไก่สลบด้วยการรมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วจึงนำไปฝังกลบ หรือเผาทำลายตามมาตรฐานต่อไป ทั้งนี้ ในขั้นตอนดังกล่าวจะมีผู้ชำนาญการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกดูแลอย่างใกล้ชิด
“ขอยืนยันว่าฟาร์มเลี้ยงไก่ที่มีสมาชิกของสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ ดูแลทั้งหมด มีกระบวนการทำลายลูกไก่ตามมาตรฐาน ไม่ได้มีการทำทารุณกรรมสัตว์เหมือนดังคลิปที่มีการส่งต่อกันในขณะนี้” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับลูกไก่ที่ไม่แข็งแรง หรือมีความพิการซึ่งปกติจะมีอยู่ประมาณ 1-2% ต่อการฟักไข่แต่ละครั้งนั้น ไม่สามารถส่งต่อไปให้เกษตรกรเลี้ยงได้ จึงจำเป็นต้องทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งก่อโรค เช่นเดียวกับไข่ฟักที่เสียหาย ซากสัตว์ปีก และของเสียต่างๆ ที่ต้องเก็บใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์พาหะ และการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และนำไปทำลายด้วยวิธีการที่เหมาะสมทุกวัน