xs
xsm
sm
md
lg

"หนอนหัวดำ" ระบาดหนัก "ชาวบ้านบางครก" เร่งเพาะ "แตนเบียน" กำจัด (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เพชรบุรี - "หนอนหัวดำ" ระบาดหนัก ทำรังกัดกินใบและยอดต้นมะพร้าวของเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลมกว่า 4,000 ไร่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ชาวชาวบ้านบางครก ต้องเร่งเพาะ "แตนเบียน" กำจัด



หลังจากที่เกษตรกรในพื้นที่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากหนอนหัวดำระบาดอย่างหนัก ที่มาทำรังกัดกินใบและยอดของต้นมะพร้าวที่ปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีกว่า 4,000 ไร่ จนทำให้ต้นมะพร้าวมีอาการใบแห้ง เป็นสีขาวและไม่ออกดอกออกผล โดยต้นมะพร้าวในพื้นที่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อสร้างผลผลิตด้านการทำน้ำตาลมะพร้าว และทำมะพร้าวแปรรูป ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีมะพร้าวที่ได้รับผลกระทบแล้วกว่า3,500 ไร่ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 407 ราย

นายรุ่งโรจน์ พึ่งแตง อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/2 หมู่ 5 ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เกษตรกรปลูกมะพร้าวที่ได้รับผลกระทบจากหนอนหัวดำ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีหนอนหัวดำระบาดหนักในพื้นที่ตำบลบางครก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาลมะพร้าว และทำมะพร้าวแปรรูปส่งจำหน่าย โดยปัญหาที่พบ คือ หนอนหัวดำได้ระบาดอย่างหนักที่เข้ามากัดกินยอดอ่อนของต้นมะพร้าว ทำให้มะพร้าวเริ่มมีใบเป็นสีขาว มะพร้าว จะไม่ติดลูก และจะมียอดเน่าจนถึงตายในที่สุด

สำหรับปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้วโดยเกษตรกรต่างต้องหาวิธีที่จะกำจัดทั้งการใช้ยาฆ่าแมลงนำไปฉีดพ่นแต่หนอนหัวดำก็ไม่ตาย และมีวิธีการเดียวที่จะสามารถกำจัดหนอนหัวดำให้ตายได้โดยวิธีการใช้แตนเบียนมากำจัด โดยทางเกษตรอำเภอบ้านแหลม ได้มีการนำมัมมี่ของแตนเบียน มาแจกให้โดยที่บ้านของตนเป็นบ้านแรกที่มีการเพาะเลี้ยงแตนเบียน

โดยปัจจุบันได้มีการเพาะแตนเบียนเพื่อนำไปปล่อยในสวนมะพร้าวเพื่อให้แตนเบียนไปกำจัดหนอนหัวดำบนยอดของต้นมะพร้าว โดยการเพาะแตนเบียนนั้นไม่ยุ่งยากเพียงนำมัมมี่ที่ได้มาเพาะฟักให้กลายเป็นหนอน แล้วใส่ในกล่องพลาสติกที่มีการดัดแปลง โดยการเจาะรูบนฝากล่องแล้วใช้ผ้าขาวบางปิดแทนเพื่อใช้สำหรับเป็นช่องระบายอากาศ

โดยอาหารของหนอนแตนเบียนจะเป็นรำและปลายข้าว ส่วนการเลี้ยงหลังจากฟักเป็นตัวหนอนแล้วจะเลี้ยงประมาณ 50 วันก็จะเป็นตัวแตนเบียนที่แก่และสมบูรณ์ โดยตัวที่แข็งแรงก็จะรอดและบินอยู่ในกล่องส่วนตัวที่ไม่แข็งแรงก็จะตายลง

หลังจากตัวแก่สมบูรณ์ครบกำหนดแล้วก็จะนำไปปล่อยในสวนมะพร้าวเพื่อให้แตนเบียนไปต่อยหนอนหัวดำที่อยู่บนยอดมะพร้าว โดยแตนเบียนตัวเมียเมื่อกำจัดหนอนหัวดำแล้วจะเจาะและวางไข่ในลำตัวของหนอนหัวดำ ซึ่งซากของหนอนหัวดำที่ตายแล้วจะถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นเพราะจะกลายเป็นมัมมี่ของแตนเบียนต่อไป

ทั้งนี้ หลังจากที่ชาวบ้านได้นำแตนเบียนมาเลี้ยงและนำไปปล่อยในสวนมะพร้าวของตนเองแล้วทำให้ลดปริมาณของหนอนหัวดำลงได้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งขณะนี้ต้นมะพร้าวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากต้นที่แห้งเพียวและเริ่มจะตาย

กำลังโหลดความคิดเห็น