อุบลราชธานี - ชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนโต้กรณีชาวประมงริมแม่น้ำมูลจับปลาบึกได้หลายตัวหลังปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ยันเป็นปลาเลี้ยงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ที่อยู่ใกล้กับเขื่อนปากมูล ไม่ใช่ปลาธรรมชาติ
วันนี้ (20 ต.ค.) นายกฤษกร ศิลารักษ์ แกนนำชาวบ้านสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงกรณีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา มีสื่อมวลชนหลายสำนัก เผยแพร่ข่าวการจับปลาบึกได้หลายตัวจากแม่น้ำมูล และนำมาขายให้กับแพจำหน่ายอาหารริมแม่น้ำโขง อ.โขงเจียม โดยพาดหัวข่าว “ปิดเขื่อนปากมูล จับปลาบึกขายได้เหยียบแสนบาท” ว่าข่าวดังกล่าวทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าการจับปลาบึกได้ครั้งนี้เกิดจากการปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ชาวบ้านในพื้นที่ก็สับสน เพราะหลังเขื่อนปากมูลปิดประตูระบายน้ำแล้วชาวประมงจับปลาในแม่น้ำมูลได้น้อยลง จึงได้ลงพื้นที่หาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าปลาบึกทั้ง 8 ตัวที่ชาวบ้านจับได้เป็นปลาจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร จุดที่จับได้เรียกว่าวังถ้ำใหญ่ ห่างจากเขื่อนปากมูลเกือบ 20 กิโลเมตร
นายหนูทร แก้วศรี อายุ 53 ปี ชาวบ้านลาดวารี ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร คนจับปลาบึกได้เล่าว่า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ภรรยาโทรศัพท์มาแจ้งว่าเขื่อนสิรินธรเปิดประตูระบายน้ำ และพบฝูงปลาบึกว่ายอยู่ในบริเวณนั้นหลายตัว ตนพร้อมบุตรชายและเพื่อนที่เป็นพรานปลาจึงนำตาข่ายขนาด 55-60 เซนติเมตรลงดักจับฝูงปลาบึก โดยใช้ตาข่ายขวางลำน้ำโดมน้อยที่ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรตลอดทั้งคืน โดยทีมของนายหนูทรและพรานปลารายอื่นจับปลาบึกได้รวมกัน 8 ตัว น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม 4 ตัว และอีก 4 ตัว น้ำหนักระหว่าง 65-80 กิโลกรัม ทั้งยังได้ปลาสวาย ปลาเทโพอีกหลายสิบตัว แต่ละตัวมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม นายหนูทรจึงนำปลาบึกไปขายให้กับแพอาหารแม่น้ำสองสี กิโลกรัมละ 110 บาท ได้เงินกว่า 40,000 บาท ส่วนปลาสวายและปลาเทโพ นำกลับบ้านไปทำอาหารกินกันในชุมชน
สำหรับที่วังถ้ำใหญ่ ปากแม่น้ำลำโดมน้อย พรานปลารายนี้ระบุว่าสามารถจับปลาบึกได้เป็นปีที่ 2 แล้ว เนื่องจากธรรมชาติของปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ถ้าเขื่อนเปิดประตูระบายน้ำลงสู่แม่น้ำมูล ปลาจะว่ายล่องมาตามกระแสน้ำ แต่ปลาจะไม่กล้าว่ายลงไปสู่แม่น้ำมูล จะว่ายวนเวียนอยู่บริเวณถ้ำวังใหญ่ทำให้สามารถจับได้ง่าย
ขณะที่นายสัญญา แจ่มใสดี อายุ 33 ปี ชาวบ้านโนนหินกอง พรานปลารอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรอีกรายเล่าว่า ตนรู้ข่าวช้าจึงมาจับปลาไม่ทัน แต่ปีที่แล้วตนใช้มือเปล่าจับปลาบึกได้ 1 ตัว น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม เพราะปลาว่ายไปติดในซอกหิน โดยปลาบึกในอ่างเก็บน้ำเป็นปลาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำมาปล่อยไว้เป็นส่วนใหญ่
วันนี้ (20 ต.ค.) นายกฤษกร ศิลารักษ์ แกนนำชาวบ้านสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงกรณีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา มีสื่อมวลชนหลายสำนัก เผยแพร่ข่าวการจับปลาบึกได้หลายตัวจากแม่น้ำมูล และนำมาขายให้กับแพจำหน่ายอาหารริมแม่น้ำโขง อ.โขงเจียม โดยพาดหัวข่าว “ปิดเขื่อนปากมูล จับปลาบึกขายได้เหยียบแสนบาท” ว่าข่าวดังกล่าวทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าการจับปลาบึกได้ครั้งนี้เกิดจากการปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ชาวบ้านในพื้นที่ก็สับสน เพราะหลังเขื่อนปากมูลปิดประตูระบายน้ำแล้วชาวประมงจับปลาในแม่น้ำมูลได้น้อยลง จึงได้ลงพื้นที่หาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าปลาบึกทั้ง 8 ตัวที่ชาวบ้านจับได้เป็นปลาจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร จุดที่จับได้เรียกว่าวังถ้ำใหญ่ ห่างจากเขื่อนปากมูลเกือบ 20 กิโลเมตร
นายหนูทร แก้วศรี อายุ 53 ปี ชาวบ้านลาดวารี ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร คนจับปลาบึกได้เล่าว่า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ภรรยาโทรศัพท์มาแจ้งว่าเขื่อนสิรินธรเปิดประตูระบายน้ำ และพบฝูงปลาบึกว่ายอยู่ในบริเวณนั้นหลายตัว ตนพร้อมบุตรชายและเพื่อนที่เป็นพรานปลาจึงนำตาข่ายขนาด 55-60 เซนติเมตรลงดักจับฝูงปลาบึก โดยใช้ตาข่ายขวางลำน้ำโดมน้อยที่ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรตลอดทั้งคืน โดยทีมของนายหนูทรและพรานปลารายอื่นจับปลาบึกได้รวมกัน 8 ตัว น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม 4 ตัว และอีก 4 ตัว น้ำหนักระหว่าง 65-80 กิโลกรัม ทั้งยังได้ปลาสวาย ปลาเทโพอีกหลายสิบตัว แต่ละตัวมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม นายหนูทรจึงนำปลาบึกไปขายให้กับแพอาหารแม่น้ำสองสี กิโลกรัมละ 110 บาท ได้เงินกว่า 40,000 บาท ส่วนปลาสวายและปลาเทโพ นำกลับบ้านไปทำอาหารกินกันในชุมชน
สำหรับที่วังถ้ำใหญ่ ปากแม่น้ำลำโดมน้อย พรานปลารายนี้ระบุว่าสามารถจับปลาบึกได้เป็นปีที่ 2 แล้ว เนื่องจากธรรมชาติของปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ถ้าเขื่อนเปิดประตูระบายน้ำลงสู่แม่น้ำมูล ปลาจะว่ายล่องมาตามกระแสน้ำ แต่ปลาจะไม่กล้าว่ายลงไปสู่แม่น้ำมูล จะว่ายวนเวียนอยู่บริเวณถ้ำวังใหญ่ทำให้สามารถจับได้ง่าย
ขณะที่นายสัญญา แจ่มใสดี อายุ 33 ปี ชาวบ้านโนนหินกอง พรานปลารอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรอีกรายเล่าว่า ตนรู้ข่าวช้าจึงมาจับปลาไม่ทัน แต่ปีที่แล้วตนใช้มือเปล่าจับปลาบึกได้ 1 ตัว น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม เพราะปลาว่ายไปติดในซอกหิน โดยปลาบึกในอ่างเก็บน้ำเป็นปลาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำมาปล่อยไว้เป็นส่วนใหญ่