แพร่ - เปิดตัวตราสัญลักษณ์ “Phrae Branding” ชิงอนาคตเฟอร์ฯ AEC หยุดการใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ สร้างสำนึกใหม่ผู้ประกอบการทำไม้ใช้ตราสินค้ารับรองคุณภาพเป็นตัวกำหนดให้ลูกค้าเลือกซื้อ หวังอนาคตสู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน เผยผลคัดเลือกมาตรฐานผู้ประกอบการจาก 150 ราย ผ่านเกณฑ์เพียง 20 รายเท่านั้น
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานจัดแถลงข่าวเปิดตัวตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์จังหวัดแพร่ (Phrae Branding) สร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ที่ห้องประชุมสยาม สวนอาหารบ้านแสงจันทร์ อ.เมือง จ.แพร่ โดยมีนายประดิษฐ ภู่พัด พาณิชย์จังหวัดแพร่ นายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ นายชูชีพ แว่นฉิม ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง-ดอนมูล นายเทพ ถนอม ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ไม้สัก ร่วมให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วย
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์ และการผลิตสินค้าในท้องถิ่นการเพิ่มผู้ผลิต SMEs ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันสินค้า บริหาร การค้า และการลงทุน เพื่อรองรับการเปิดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และรองรับข้อกำหนดกฎหมายการค้าเสรี และการกีดกันทางการค้า เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ส่งออกต้องไม่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ เพราะเป็นการทำลายป่าอย่างรุนแรงจึงมีข้อห้ามในระดับการค้าต่างประเทศ
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการมาก่อนมีตราสัญลักษณ์ ได้ทำความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้มีการจัดระเบียบการตั้งโรงงาน โรงค้า เฟอร์นิเจอร์กว่า 1,000 แห่ง ให้เป็นไปตามกฎหมาย และการนำเข้าไม้สู่โรงงานที่ผู้ประกอบการต้องหันมาใช้ไม้จากสวนป่าเท่านั้น ซึ่งไม้จากสวนป่าของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และไม้ที่ปลูกโดยภาคเอกชนที่มีอยู่อย่างเพียงพอ ผู้ที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ Phrae Branding ต้องมีมาตรการดังกล่าวเป็นอันดับแรก จากนั้นคือ มาตรฐานสินค้าที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องเป็นไม้สักล้วนๆ ไม่ปลอมปนไม้ชนิดอื่น คุณภาพการออกแบบ และเทคนิคทางช่างไม้ต้องได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน
นายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ กล่าวว่า แม้มีการปรับเปลี่ยนยกระดับโรงงานในจังหวัดแพร่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเข้าสู่การทำอุตสาหกรรมที่อยู่ในระบบแล้ว แพร่ แบรนด์ ยังถูกกำหนดมาตรฐานไว้สูงพอสมควร ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วม 150 ราย มีการคัดเลือกตั้งมาตรฐาน สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวได้เพียง 20 รายเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องกลับไปทำงานสร้างคุณภาพของตนเองให้ได้มาตรฐานจึงจะเข้ามาทดสอบมาตรฐานได้ โดยมีสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ เป็นผู้ควบคุมมาตรฐานดังกล่าว
“อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐานส่งออกโดยใช้ตราสัญลักษณ์แพร่ แบรนด์ ยังมีอุปสรรคอีกมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการยังอยู่ในวิถีอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่เป็นงานใหญ่สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งผลักดัน และหนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จในอีก 5-10 ปีข้างหน้า แพร่จะเป็นตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่มีไม้ดีที่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จะเป็นเมืองค้าขายเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญต่อไป” นายประดิษฐ์ กล่าว
อนึ่ง โครงการดังกล่าวเดินหน้ามานานกว่า 1 ปีที่ผ่านมา มีทั้งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มธุรกิจไม้ เชิญชวนร่วมโครงการ จัดฝึกอบรมให้เห็นภาพลักษณ์ของการค้าในอนาคต และการร่วมออกแบบตราสัญลักษณ์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของจังหวัดแพร่ ถึง 33 ล้านบาท
ล่าสุด ได้มีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ คุณภาพสินค้า ก่อนที่ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่จ ะเดินทางไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเดือนตุลาคมนี้
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานจัดแถลงข่าวเปิดตัวตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์จังหวัดแพร่ (Phrae Branding) สร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ที่ห้องประชุมสยาม สวนอาหารบ้านแสงจันทร์ อ.เมือง จ.แพร่ โดยมีนายประดิษฐ ภู่พัด พาณิชย์จังหวัดแพร่ นายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ นายชูชีพ แว่นฉิม ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง-ดอนมูล นายเทพ ถนอม ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ไม้สัก ร่วมให้ข้อมูลในครั้งนี้ด้วย
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์ และการผลิตสินค้าในท้องถิ่นการเพิ่มผู้ผลิต SMEs ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันสินค้า บริหาร การค้า และการลงทุน เพื่อรองรับการเปิดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และรองรับข้อกำหนดกฎหมายการค้าเสรี และการกีดกันทางการค้า เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ส่งออกต้องไม่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ เพราะเป็นการทำลายป่าอย่างรุนแรงจึงมีข้อห้ามในระดับการค้าต่างประเทศ
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการมาก่อนมีตราสัญลักษณ์ ได้ทำความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้มีการจัดระเบียบการตั้งโรงงาน โรงค้า เฟอร์นิเจอร์กว่า 1,000 แห่ง ให้เป็นไปตามกฎหมาย และการนำเข้าไม้สู่โรงงานที่ผู้ประกอบการต้องหันมาใช้ไม้จากสวนป่าเท่านั้น ซึ่งไม้จากสวนป่าของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และไม้ที่ปลูกโดยภาคเอกชนที่มีอยู่อย่างเพียงพอ ผู้ที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ Phrae Branding ต้องมีมาตรการดังกล่าวเป็นอันดับแรก จากนั้นคือ มาตรฐานสินค้าที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องเป็นไม้สักล้วนๆ ไม่ปลอมปนไม้ชนิดอื่น คุณภาพการออกแบบ และเทคนิคทางช่างไม้ต้องได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน
นายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ กล่าวว่า แม้มีการปรับเปลี่ยนยกระดับโรงงานในจังหวัดแพร่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเข้าสู่การทำอุตสาหกรรมที่อยู่ในระบบแล้ว แพร่ แบรนด์ ยังถูกกำหนดมาตรฐานไว้สูงพอสมควร ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วม 150 ราย มีการคัดเลือกตั้งมาตรฐาน สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวได้เพียง 20 รายเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องกลับไปทำงานสร้างคุณภาพของตนเองให้ได้มาตรฐานจึงจะเข้ามาทดสอบมาตรฐานได้ โดยมีสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ เป็นผู้ควบคุมมาตรฐานดังกล่าว
“อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐานส่งออกโดยใช้ตราสัญลักษณ์แพร่ แบรนด์ ยังมีอุปสรรคอีกมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการยังอยู่ในวิถีอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่เป็นงานใหญ่สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งผลักดัน และหนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จในอีก 5-10 ปีข้างหน้า แพร่จะเป็นตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่มีไม้ดีที่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จะเป็นเมืองค้าขายเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญต่อไป” นายประดิษฐ์ กล่าว
อนึ่ง โครงการดังกล่าวเดินหน้ามานานกว่า 1 ปีที่ผ่านมา มีทั้งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มธุรกิจไม้ เชิญชวนร่วมโครงการ จัดฝึกอบรมให้เห็นภาพลักษณ์ของการค้าในอนาคต และการร่วมออกแบบตราสัญลักษณ์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของจังหวัดแพร่ ถึง 33 ล้านบาท
ล่าสุด ได้มีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ คุณภาพสินค้า ก่อนที่ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่จ ะเดินทางไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเดือนตุลาคมนี้