แม่ฮ่องสอน - เตือนเกษตรกรนอกเขตชลประทานเมืองสามหมอก เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วงปลายเดือนนี้ เผย 30 อ่างชลประทาน มีน้ำ 68.21% ช่วยพื้นที่เกษตรได้ 1 หมื่นไร่เศษ
นายจรัญ เตชะสืบ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม 57 จะเกิดฝนทิ้งช่วง เนื่องจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นทั่วไป แล้วจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านจีนตอนใต้ ทำให้ฝนลดลง ฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายเดือนนี้ไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ เกษตรกรจะต้องเตรียมรับมือภาวะฝนทิ้งช่วงที่จะเกิดขึ้นด้วย
จากนั้นร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง ทำให้ฝนตกชุกทั่วไป และมีโอกาสที่พายุดีเปรสชัน 1 ลูก ซึ่งอ่อนกำลังจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้ หรือผ่านภาคเหนือในระยะเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมาก เกิดอุทกภัยได้ แล้วร่องมรสุมจะเลื่อนตัวลงไปพาดผ่านภาคกลาง และภาคใต้ทำให้สิ้นสุดฤดูฝนของภาคเหนือ
ด้านนายกตัญญู ใจชื้น ผู้อำนวยการโครงการชลประทานแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 อ่าง ณ สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 57 มีปริมาณน้ำเฉลี่ย 68.21% ของความจุอ่าง (ช่วงเดียวกันของปี 56 มีปริมาณน้ำเฉลี่ย 56.77%) สามารถสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่ชลประทานได้อย่างเพียงพอในช่วงฝนทิ้งช่วง 10,985 ไร่ แต่พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน นาจะเกิดผลกระทบบ้าง
นายจรัญ เตชะสืบ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม 57 จะเกิดฝนทิ้งช่วง เนื่องจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นทั่วไป แล้วจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านจีนตอนใต้ ทำให้ฝนลดลง ฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายเดือนนี้ไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ เกษตรกรจะต้องเตรียมรับมือภาวะฝนทิ้งช่วงที่จะเกิดขึ้นด้วย
จากนั้นร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง ทำให้ฝนตกชุกทั่วไป และมีโอกาสที่พายุดีเปรสชัน 1 ลูก ซึ่งอ่อนกำลังจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้ หรือผ่านภาคเหนือในระยะเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมาก เกิดอุทกภัยได้ แล้วร่องมรสุมจะเลื่อนตัวลงไปพาดผ่านภาคกลาง และภาคใต้ทำให้สิ้นสุดฤดูฝนของภาคเหนือ
ด้านนายกตัญญู ใจชื้น ผู้อำนวยการโครงการชลประทานแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 อ่าง ณ สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 57 มีปริมาณน้ำเฉลี่ย 68.21% ของความจุอ่าง (ช่วงเดียวกันของปี 56 มีปริมาณน้ำเฉลี่ย 56.77%) สามารถสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่ชลประทานได้อย่างเพียงพอในช่วงฝนทิ้งช่วง 10,985 ไร่ แต่พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน นาจะเกิดผลกระทบบ้าง