กาญจนบุรี - ป่าไม้กาญจนบุรี เผยกลุ่มคนที่มาจากเพชรบูรณ์ โดยการนำของนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี ได้เข้าไปในพื้นที่ป่าเขาฤาษี เพื่อหวังยึดพื้นที่ป่าจริง แต่ถูกชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ผลักดันขับไล่ออกจากพื้นที่ไปแล้ว
วันนี้ (7 มี.ค.) นายบุญสืบ สมัครราช ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 ราชบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวว่ามีนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นำชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมาจาก จ.เพชรบูรณ์ เพื่อเข้าไปยึดพื้นที่ทำกินในพื้นที่ป่าเขาทุ่งฤาษี ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ากันชนและเป็นป่ารอยต่อระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร กับประเทศพม่า ที่อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ มีพื้นที่อยู่ประมาณ 68,000 ไร่ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวได้นำรถยนต์กระบะโฟร์วีลเข้าไป จำนวน 7 คัน
หลังจากชาวบ้านในพื้นที่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ทราบข่าวต่างไม่ยินยอม และรวมตัวกันขับไล่กลุ่มคนดังกล่าวออกไป พร้อมทั้งแจ้งมาให้ตนทราบ ตนจึงได้เร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ กจ.5 (บ้านซองกาเรีย) นำกำลังเข้าไปตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกับชาวบ้านผลักดันกลุ่มคนดังกล่าวออกไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นก็ยินยอมออกจากพื้นที่วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ยังไม่มีการบุกรุกผืนป่าแต่อย่างใด
“สำหรับพื้นที่ป่าเขาฤาษี ตั้งอยู่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เป็นพื้นที่เหมืองแร่พุจือที่หมดสัมปทานไปนานแล้ว พื้นที่โดยรวมเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ครม.ได้มีมติรับรองให้เป็นป่าสงวน และให้กรมป่าไม้รับผิดชอบดูแลทั้งหมด
ดังนั้น ผมจึงขอฝากเตือนไปถึงกลุ่มนายทุน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม หากยังคิดที่จะฝ่าฝืนมติ ครม.หากทราบข่าวว่ามีการลักลอบเข้ามาบุกรุก เจ้าหน้าที่จะติดตามจุบกุมตัวมาดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด โดยจะไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น และเชื่อว่าชาวบ้านในพื้นที่คงไม่ยินยอมอย่างแน่นอนเช่นกัน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผืนป่าดังกล่าวเดิมทีเป็นพื้นที่เหมืองแร่พุจือเดิม และเหมืองดังกล่าวได้หมดสัมปทานไปแล้ว ขณะเดียวกัน ในพื้นที่เหมืองแร่เดิมยังคงมีแร่ตะกั่ว ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และยังไม่มีการขนย้ายออกไปภายนอกแต่อย่างใด ซึ่งจำนวนแร่ที่อยู่คงอยู่มีมูลค่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเดินทางเข้าไปตรวจสอบว่าแร่ที่มีอยู่ยังอยู่ครบจำนวนหรือไม่ เพราะแร่ที่มีอยู่นั้นปัจจุบันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไปแล้ว เพราะหากมีการลักลอบขนย้ายออกไปก็จะทำให้ทรัพย์สินของชาติเสียหายอย่างแน่นอน
วันนี้ (7 มี.ค.) นายบุญสืบ สมัครราช ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 ราชบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวว่ามีนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นำชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมาจาก จ.เพชรบูรณ์ เพื่อเข้าไปยึดพื้นที่ทำกินในพื้นที่ป่าเขาทุ่งฤาษี ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ากันชนและเป็นป่ารอยต่อระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร กับประเทศพม่า ที่อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ มีพื้นที่อยู่ประมาณ 68,000 ไร่ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวได้นำรถยนต์กระบะโฟร์วีลเข้าไป จำนวน 7 คัน
หลังจากชาวบ้านในพื้นที่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ทราบข่าวต่างไม่ยินยอม และรวมตัวกันขับไล่กลุ่มคนดังกล่าวออกไป พร้อมทั้งแจ้งมาให้ตนทราบ ตนจึงได้เร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ กจ.5 (บ้านซองกาเรีย) นำกำลังเข้าไปตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกับชาวบ้านผลักดันกลุ่มคนดังกล่าวออกไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นก็ยินยอมออกจากพื้นที่วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ยังไม่มีการบุกรุกผืนป่าแต่อย่างใด
“สำหรับพื้นที่ป่าเขาฤาษี ตั้งอยู่บ้านจะแก ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เป็นพื้นที่เหมืองแร่พุจือที่หมดสัมปทานไปนานแล้ว พื้นที่โดยรวมเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ครม.ได้มีมติรับรองให้เป็นป่าสงวน และให้กรมป่าไม้รับผิดชอบดูแลทั้งหมด
ดังนั้น ผมจึงขอฝากเตือนไปถึงกลุ่มนายทุน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม หากยังคิดที่จะฝ่าฝืนมติ ครม.หากทราบข่าวว่ามีการลักลอบเข้ามาบุกรุก เจ้าหน้าที่จะติดตามจุบกุมตัวมาดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด โดยจะไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น และเชื่อว่าชาวบ้านในพื้นที่คงไม่ยินยอมอย่างแน่นอนเช่นกัน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผืนป่าดังกล่าวเดิมทีเป็นพื้นที่เหมืองแร่พุจือเดิม และเหมืองดังกล่าวได้หมดสัมปทานไปแล้ว ขณะเดียวกัน ในพื้นที่เหมืองแร่เดิมยังคงมีแร่ตะกั่ว ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และยังไม่มีการขนย้ายออกไปภายนอกแต่อย่างใด ซึ่งจำนวนแร่ที่อยู่คงอยู่มีมูลค่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเดินทางเข้าไปตรวจสอบว่าแร่ที่มีอยู่ยังอยู่ครบจำนวนหรือไม่ เพราะแร่ที่มีอยู่นั้นปัจจุบันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไปแล้ว เพราะหากมีการลักลอบขนย้ายออกไปก็จะทำให้ทรัพย์สินของชาติเสียหายอย่างแน่นอน