พะเยา - สสจ.พะเยา เผยมีผู้ป่วย “หวัดใหญ่ H1N1” แล้ว 175 ราย พุ่งอันดับ 1 ของประเทศ เผยสูงกว่าปี 2556 ถึง 1.8 เท่า แต่ยังไม่มีเสียชีวิต เน้นป้องกันใน “ศูนย์เด็ก-สถานศึกษา”
วันนี้ (22 ก.พ.) นายแพทย์สุรินทร์ สุมนาพันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พะเยา กล่าวว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในห้วง 1 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2557 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 175 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.85 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่พบมีผู้ป่วยสูงกว่าถึง 1.8 เท่า
โดยมีผู้ป่วยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ก่อนที่จำนวนผู้ป่วยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม 2557
ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบผู้ป่วยทุกอำเภอ ยกเว้น อ.ปง ประกอบด้วย อ.เมือง สูงสุด 87 ราย รองลงมาคือ อ.ดอกคำใต้ 30 ราย อ.เชียงคำ 14 ราย อ.จุน 13 ราย อ.ภูซาง 12 ราย อ.แม่ใจ 9 ราย อ.ภูกามยาว 7 ราย และ อ.เชียงม่วน 3 ราย กลุ่มช่วงอายุของผู้ป่วยที่พบ คือ กลุ่มผู้ป่วยสูงสุดคือ เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 0-4 ปี รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 5-9 ปี และ 10-14 ปี
นายแพทย์ สสจ.พะเยา กล่าวต่อว่า โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบนี้เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ โดยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและมีวัคซีนฉีดป้องกัน
ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงสามารถพบได้ในบางราย เช่น ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้ง่าย ทั้งภายในบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เชื้อโรคดังกล่าวจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย สามารถแพร่จากผู้ป่วยได้เมื่อไอ จาม และปนเปื้อนอยู่ที่ภาชนะของใช้ส่วนตัว หรือของใช้สาธารณะ เช่น ลูกบิด ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ราวรถโดยสาร ก๊อกน้า โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ของใช้ ของเล่นเด็ก
นายแพทย์สุรินทร์ กล่าวอีกว่า การป้องกันและควบคุมโรคควรมุ่งเน้นที่ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การรักษาความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสบ่อยด้วยน้ำยาทำความสะอาดทุกวัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค รวมทั้งทำความสะอาดสถานที่สาธารณะที่คนไปรวมกันอยู่จำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า และแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ รถนักเรียน
ประชาชนทุกคนควรเอาใจใส่ในป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งเมื่อป่วยจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน ควรไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นหวัดให้สวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือแขนเสื้อของตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร และในพื้นที่ที่มีการระบาดควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น สถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน หากจำเป็นกลุ่มเสี่ยงควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด ควรหยุดพักเรียน พักงานจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
วันนี้ (22 ก.พ.) นายแพทย์สุรินทร์ สุมนาพันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พะเยา กล่าวว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในห้วง 1 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2557 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 175 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.85 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่พบมีผู้ป่วยสูงกว่าถึง 1.8 เท่า
โดยมีผู้ป่วยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ก่อนที่จำนวนผู้ป่วยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม 2557
ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบผู้ป่วยทุกอำเภอ ยกเว้น อ.ปง ประกอบด้วย อ.เมือง สูงสุด 87 ราย รองลงมาคือ อ.ดอกคำใต้ 30 ราย อ.เชียงคำ 14 ราย อ.จุน 13 ราย อ.ภูซาง 12 ราย อ.แม่ใจ 9 ราย อ.ภูกามยาว 7 ราย และ อ.เชียงม่วน 3 ราย กลุ่มช่วงอายุของผู้ป่วยที่พบ คือ กลุ่มผู้ป่วยสูงสุดคือ เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 0-4 ปี รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 5-9 ปี และ 10-14 ปี
นายแพทย์ สสจ.พะเยา กล่าวต่อว่า โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบนี้เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ โดยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและมีวัคซีนฉีดป้องกัน
ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงสามารถพบได้ในบางราย เช่น ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้ง่าย ทั้งภายในบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เชื้อโรคดังกล่าวจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย สามารถแพร่จากผู้ป่วยได้เมื่อไอ จาม และปนเปื้อนอยู่ที่ภาชนะของใช้ส่วนตัว หรือของใช้สาธารณะ เช่น ลูกบิด ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ราวรถโดยสาร ก๊อกน้า โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ของใช้ ของเล่นเด็ก
นายแพทย์สุรินทร์ กล่าวอีกว่า การป้องกันและควบคุมโรคควรมุ่งเน้นที่ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การรักษาความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสบ่อยด้วยน้ำยาทำความสะอาดทุกวัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค รวมทั้งทำความสะอาดสถานที่สาธารณะที่คนไปรวมกันอยู่จำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า และแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ รถนักเรียน
ประชาชนทุกคนควรเอาใจใส่ในป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งเมื่อป่วยจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน ควรไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นหวัดให้สวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือแขนเสื้อของตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร และในพื้นที่ที่มีการระบาดควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น สถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน หากจำเป็นกลุ่มเสี่ยงควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด ควรหยุดพักเรียน พักงานจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น