ศูนย์ข่าวศรีราชา - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน ทำร่างประกาศกระทรวงฯ กำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จ.ชลบุรี ก่อนประกาศใช้ภายใน 2 ปี
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่โรงแรมแกรนด์ โซเลย์ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงประกาศกระทรวง เรื่องกำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมใน จ.ชลบุรี เพื่อนำไปปรับปรุงร่างประกาศกระทรวง ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในปี 2558 โดยการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้นำชุมชน และประชาชนเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง
ทั้งนี้ เมืองพัทยาได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2535 เพื่อควบคุมและแก้ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้น รวมทั้งการควบคุมการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ และคุ้มประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งเป็นการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติ หรือมีคุณค่าทางธรรมชาติที่อาจถูกทำลาย หรืออาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายในเรื่องของการอนุรักษ์เข้ามาคุ้มครองดูแล
ต่อมา จึงมีการประกาศกฎกระทรวง เรื่องกำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณ จ.ชลบุรี พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งประกาศจะหมดอายุวันที่ 31 กรกฎาคม 2558
ดังนั้น สผ.จึงมีแผนปรับปรุงและจัดทำร่างประกาศกระทรวงขึ้นใหม่ เพื่อให้มีการบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งสาระสำคัญของร่างเป็นการเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดเขตพื้นที่ของการใช้ประโยชน์ ซึ่งแต่เดิมจะกำหนดไว้เพียง 2 ลักษณะ แต่ร่างปัจจุบันมีแนวทางการแบ่งเขตเพื่อความชัดเจนออกเป็น 5 ลักษณะ เพื่อควบคุม และกำหนดมาตรการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน เช่น สีแดง ได้แก่ พื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ สีเขียว ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเพิ่มมาตรการเกี่ยวกับการดูแลปัญหาของน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ท่าเทียบเรือ สิ่งแวดล้อมชายฝั่ง มาตรการการท่องเที่ยวทางทะเล หรือแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อย่าง Walking Street พัทยาใต้
ขณะที่ข้อบังคับหลักที่หลายคนให้ความสนใจ กรณีของคำสั่งห้ามการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารนั้น มีการนำเสนอว่า หากมีการระบุไว้อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว หรือเศรษฐกิจของเมืองพัทยา คณะกรรมการได้รับหลักการไว้ พร้อมตัดข้อกำจัดออกจากร่างดังกล่าว รวมถึงการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก อย่างการก่อสร้างโรงแรม อพาร์ตเมนต์ หรือห้องแถวขนาด 10-29 ห้อง ที่แต่เดิมต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอขออนุมัติในการก่อสร้าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างจัดทำหลายแสนบาทนั้น ให้ทำการผ่อนผัน โดยสามารถประสานงานในการขอพิจารณาอนุมัติจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเมืองพัทยา หรือจังหวัดชลบุรีโดยตรง เพื่อลดขั้นตอน และค่าใช้จ่ายที่สูงแบบเดิม ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม หลังการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ สผ.จะไปปรับปรุงร่างเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และประโยชน์สูงสุด ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่โรงแรมแกรนด์ โซเลย์ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงประกาศกระทรวง เรื่องกำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมใน จ.ชลบุรี เพื่อนำไปปรับปรุงร่างประกาศกระทรวง ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในปี 2558 โดยการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้นำชุมชน และประชาชนเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง
ทั้งนี้ เมืองพัทยาได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2535 เพื่อควบคุมและแก้ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้น รวมทั้งการควบคุมการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ และคุ้มประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งเป็นการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติ หรือมีคุณค่าทางธรรมชาติที่อาจถูกทำลาย หรืออาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายในเรื่องของการอนุรักษ์เข้ามาคุ้มครองดูแล
ต่อมา จึงมีการประกาศกฎกระทรวง เรื่องกำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณ จ.ชลบุรี พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งประกาศจะหมดอายุวันที่ 31 กรกฎาคม 2558
ดังนั้น สผ.จึงมีแผนปรับปรุงและจัดทำร่างประกาศกระทรวงขึ้นใหม่ เพื่อให้มีการบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งสาระสำคัญของร่างเป็นการเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดเขตพื้นที่ของการใช้ประโยชน์ ซึ่งแต่เดิมจะกำหนดไว้เพียง 2 ลักษณะ แต่ร่างปัจจุบันมีแนวทางการแบ่งเขตเพื่อความชัดเจนออกเป็น 5 ลักษณะ เพื่อควบคุม และกำหนดมาตรการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน เช่น สีแดง ได้แก่ พื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ สีเขียว ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเพิ่มมาตรการเกี่ยวกับการดูแลปัญหาของน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ท่าเทียบเรือ สิ่งแวดล้อมชายฝั่ง มาตรการการท่องเที่ยวทางทะเล หรือแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อย่าง Walking Street พัทยาใต้
ขณะที่ข้อบังคับหลักที่หลายคนให้ความสนใจ กรณีของคำสั่งห้ามการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารนั้น มีการนำเสนอว่า หากมีการระบุไว้อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว หรือเศรษฐกิจของเมืองพัทยา คณะกรรมการได้รับหลักการไว้ พร้อมตัดข้อกำจัดออกจากร่างดังกล่าว รวมถึงการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก อย่างการก่อสร้างโรงแรม อพาร์ตเมนต์ หรือห้องแถวขนาด 10-29 ห้อง ที่แต่เดิมต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอขออนุมัติในการก่อสร้าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างจัดทำหลายแสนบาทนั้น ให้ทำการผ่อนผัน โดยสามารถประสานงานในการขอพิจารณาอนุมัติจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเมืองพัทยา หรือจังหวัดชลบุรีโดยตรง เพื่อลดขั้นตอน และค่าใช้จ่ายที่สูงแบบเดิม ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม หลังการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ สผ.จะไปปรับปรุงร่างเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และประโยชน์สูงสุด ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป