พิษณุโลก - ชัวร์แล้ว ม็อบชาวสวนยางสายเหนือยุติปิดถนนอุตรดิตถ์ ด้านอดีตประธานเครือข่ายภาคเหนือแฉเบื้องหลังเครือข่ายยาง สกย.พังยับ แกนนำแตกเละ หลังเจอปุ๋ยถ้วนหน้า ขณะที่ชาวสวนยางใต้เมิน เหตุเจ้าของสวนได้ แต่คนกรีดยางถูกลอยแพ
วันนี้ (30 ส.ค.) นายดำรงด์ สุขประเสริฐ กลุ่มชาวสวนยาง สกย.อุตรดิตถ์ หนึ่งในคณะกรรมการบริหารเครือข่ายชาวสวนยางระดับภาคเหนือ เขต 2 (สกย.) เปิดเผยว่า จนท.ตำรวจได้โทร.มาถามเมื่อเช้าเหมือนกันว่าจะชุมนุมในวันที่ 3 ก.ย. 56 อีกหรือไม่ จึงได้ตอบไปว่า แกนนำทั้ง สกย.และ อสค.ได้ยุติการปิดถนนสาย 11 พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนม็อบข้าวโพดหรือม็อบอื่นๆ จะมาปิดถนน เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราไม่เกี่ยวข้อง
นายดำรงค์บอกอีกว่า ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกยางสายเหนือทั้งหมดยุติเนื่องจากยอมรับได้รับค่าชดเชยปุ๋ยดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เพราะวันนี้ทำยางก้นถ้วยก็ได้ 40 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อรัฐบาลช่วยค่าปุ๋ยจ่ายงวดแรก 10 ไร่ และงวดต่อไปอีก 15 ไร่ กรณีไปขึ้นทะเบียนกรีดยางกับ สกย.
ประเด็นสำคัญคือรัฐยอมจ่ายเงิน 1,260 บาทต่อไร่ทุกกรณีกับสวนยางที่เปิดกรีดแล้วในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ไม่มีกระแสข่าวว่าจะให้เอกสารสิทธิ น.ส.3 ซึ่งก็เรียกร้องอยู่ แต่เรื่องยังเงียบ
ด้านนายวีระศักดิ์ สินธุวงศ์ เกษตรกรกลุ่มชาวสวนยางคลองทราย จ.พิจิตร หนึ่งในอดีตคณะกรรมการบริหารเครือข่ายชาวสวยยางระดับภาคเหนือ เขต 3 (สกย.) ที่ลาออกไปเมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า ตนได้รับเลือกจากเกษตรกรระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จนสู่ระดับประเทศ
ที่ผ่านมาตนทำตามมติที่ประชุม ก่อนคุยกับ รมว.เกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการระดับประเทศตกลงกันแล้วว่าต้องให้รัฐพยุงราคายางพาราด้วยราคา 92 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมกับยกเลิกความผิดเหตุการณ์ประท้วงที่ภาคใต้ แต่พอเข้าไปประชุมกับนายยุคล ลิ้มแหลมทอง คณะกรรมการหลายคนไปเอาใจรัฐบาล ซึ่งตนยืนยันว่าผิดหลักการ ผิดมติที่ประชุมก่อนหน้านี้ที่สัญญากับเครือข่ายชาวสวนยางทั้ง 56 จังหวัด สุดท้ายแหกกฎไปเลือกรับปุ๋ยฟรีทำให้คณะกรรมการสายเหนือบน และล่างลาออกทันที พร้อมคณะกรรมการในเขตภาคใต้ลาออกยกชุดเกือบหมด
“เท่ากับว่าคณะกรรมการเกินครึ่งลาออก ไม่มีมติอะไรไปคุยกับรัฐ ณ วันนี้ผมเพียงแค่น้อมรับปุ๋ย เป็นเกษตรกรธรรมดาๆ หมดหน้าที่ ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกยางจังหวัดเลยไปประท้วงที่โคราชนั้น ถือว่าเขาเป็นเกษตรกรผู้บริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยาง กลายเป็นม็อบดาวกระจาย จังหวัดไหนไปก็ไป ไม่ขึ้นตรงเครือข่าย สกย.อีกต่อไป อีกทั้งเครือข่ายชาวสวนยางที่แบ่งเขตภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออก รวม 200 คน ก็กำลังถูก สกย.ล้มกระดาน”
นายวีระศักดิ์บอกอีกว่า อย่างไรก็ตาม ล่าสุด 15.30 น. วันนี้ (30 ส.ค.) เกษตรกรภาคใต้ที่กำลังประท้วงอยู่ไม่ต้องการให้คณะกรรมการเขต 1-6 ไม่ได้ลาออก ต้องการให้เป็นปากเป็นเสียงเตรียมแถลงว่าให้ปลดนายเทอดศักดิ์ เสริมศรี ประธานภาคอีสานเขต 4 ซึ่งที่นั่งประธานเครือข่ายชาวสวนยางระดับประเทศอยู่เพราะรับไม่ได้ที่ไปอยู่รัฐบาลและไม่ให้รับมติที่ประชุมร่วมกับ รมว.เกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้
นายวีระศักดิ์กล่าวอีกว่า ลึกๆ แล้วคนใต้ไม่ยอมรับหลักการข้างต้น ต้องประท้วงต่อไป สำหรับการแจกปุ๋ยฟรีแก่เกษตรกร 1,260 บาทต่อไร่นั้นเกษตรกรคนใต้หรือคนกรีดยางสวนใหญ่จะไม่ได้อะไรเลย มีเพียงเจ้าของสวนยางเท่านั้นที่รับค่าปัจจัยการผลิต แรงงานกรีดยางไม่ได้อะไรเลย สรุปว่าเจ้าของสวนยางได้ปุ๋ย คนงานกรีดยางภาคใต้ไม่ได้อะไรเลยจากรัฐบาล
“อย่าลืมว่าแจกปุ๋ยรอบแรก 10 ไร่นั้นไม่มีปัญหา ส่วนจะแจกอีก 15 ไร่รอบหลังจะต้องผ่านคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกลั่นกรองอีก เชื่อว่าไม่ง่าย เท่ากับรัฐยืดเวลา ซื้อเวลา หลอกลวง”
ขณะที่นายฉลอง อุ่นวงศ์ เลขานุการสหกรณ์การเกษตรยางพาราพิษณุโลก เปิดเผยว่า ในส่วนเครือข่ายชาวสวนยางของ สกย.เป็นอันว่ายุติการปิดถนนที่อุตรดิตถ์แน่ ส่วนในสายขององค์การสวนยาง (อสค.) ประธานระดับประเทศที่ศรีสะเกษสั่งยุติ โดยแจ้งไปยังประธานภาคเหนือขององค์การสวนยางที่ลำปางได้รับคำสั่งยุติไปเรียบร้อยแล้ว
วันนี้ (30 ส.ค.) นายดำรงด์ สุขประเสริฐ กลุ่มชาวสวนยาง สกย.อุตรดิตถ์ หนึ่งในคณะกรรมการบริหารเครือข่ายชาวสวนยางระดับภาคเหนือ เขต 2 (สกย.) เปิดเผยว่า จนท.ตำรวจได้โทร.มาถามเมื่อเช้าเหมือนกันว่าจะชุมนุมในวันที่ 3 ก.ย. 56 อีกหรือไม่ จึงได้ตอบไปว่า แกนนำทั้ง สกย.และ อสค.ได้ยุติการปิดถนนสาย 11 พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนม็อบข้าวโพดหรือม็อบอื่นๆ จะมาปิดถนน เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราไม่เกี่ยวข้อง
นายดำรงค์บอกอีกว่า ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกยางสายเหนือทั้งหมดยุติเนื่องจากยอมรับได้รับค่าชดเชยปุ๋ยดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เพราะวันนี้ทำยางก้นถ้วยก็ได้ 40 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อรัฐบาลช่วยค่าปุ๋ยจ่ายงวดแรก 10 ไร่ และงวดต่อไปอีก 15 ไร่ กรณีไปขึ้นทะเบียนกรีดยางกับ สกย.
ประเด็นสำคัญคือรัฐยอมจ่ายเงิน 1,260 บาทต่อไร่ทุกกรณีกับสวนยางที่เปิดกรีดแล้วในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ไม่มีกระแสข่าวว่าจะให้เอกสารสิทธิ น.ส.3 ซึ่งก็เรียกร้องอยู่ แต่เรื่องยังเงียบ
ด้านนายวีระศักดิ์ สินธุวงศ์ เกษตรกรกลุ่มชาวสวนยางคลองทราย จ.พิจิตร หนึ่งในอดีตคณะกรรมการบริหารเครือข่ายชาวสวยยางระดับภาคเหนือ เขต 3 (สกย.) ที่ลาออกไปเมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า ตนได้รับเลือกจากเกษตรกรระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จนสู่ระดับประเทศ
ที่ผ่านมาตนทำตามมติที่ประชุม ก่อนคุยกับ รมว.เกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการระดับประเทศตกลงกันแล้วว่าต้องให้รัฐพยุงราคายางพาราด้วยราคา 92 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมกับยกเลิกความผิดเหตุการณ์ประท้วงที่ภาคใต้ แต่พอเข้าไปประชุมกับนายยุคล ลิ้มแหลมทอง คณะกรรมการหลายคนไปเอาใจรัฐบาล ซึ่งตนยืนยันว่าผิดหลักการ ผิดมติที่ประชุมก่อนหน้านี้ที่สัญญากับเครือข่ายชาวสวนยางทั้ง 56 จังหวัด สุดท้ายแหกกฎไปเลือกรับปุ๋ยฟรีทำให้คณะกรรมการสายเหนือบน และล่างลาออกทันที พร้อมคณะกรรมการในเขตภาคใต้ลาออกยกชุดเกือบหมด
“เท่ากับว่าคณะกรรมการเกินครึ่งลาออก ไม่มีมติอะไรไปคุยกับรัฐ ณ วันนี้ผมเพียงแค่น้อมรับปุ๋ย เป็นเกษตรกรธรรมดาๆ หมดหน้าที่ ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกยางจังหวัดเลยไปประท้วงที่โคราชนั้น ถือว่าเขาเป็นเกษตรกรผู้บริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยาง กลายเป็นม็อบดาวกระจาย จังหวัดไหนไปก็ไป ไม่ขึ้นตรงเครือข่าย สกย.อีกต่อไป อีกทั้งเครือข่ายชาวสวนยางที่แบ่งเขตภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออก รวม 200 คน ก็กำลังถูก สกย.ล้มกระดาน”
นายวีระศักดิ์บอกอีกว่า อย่างไรก็ตาม ล่าสุด 15.30 น. วันนี้ (30 ส.ค.) เกษตรกรภาคใต้ที่กำลังประท้วงอยู่ไม่ต้องการให้คณะกรรมการเขต 1-6 ไม่ได้ลาออก ต้องการให้เป็นปากเป็นเสียงเตรียมแถลงว่าให้ปลดนายเทอดศักดิ์ เสริมศรี ประธานภาคอีสานเขต 4 ซึ่งที่นั่งประธานเครือข่ายชาวสวนยางระดับประเทศอยู่เพราะรับไม่ได้ที่ไปอยู่รัฐบาลและไม่ให้รับมติที่ประชุมร่วมกับ รมว.เกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้
นายวีระศักดิ์กล่าวอีกว่า ลึกๆ แล้วคนใต้ไม่ยอมรับหลักการข้างต้น ต้องประท้วงต่อไป สำหรับการแจกปุ๋ยฟรีแก่เกษตรกร 1,260 บาทต่อไร่นั้นเกษตรกรคนใต้หรือคนกรีดยางสวนใหญ่จะไม่ได้อะไรเลย มีเพียงเจ้าของสวนยางเท่านั้นที่รับค่าปัจจัยการผลิต แรงงานกรีดยางไม่ได้อะไรเลย สรุปว่าเจ้าของสวนยางได้ปุ๋ย คนงานกรีดยางภาคใต้ไม่ได้อะไรเลยจากรัฐบาล
“อย่าลืมว่าแจกปุ๋ยรอบแรก 10 ไร่นั้นไม่มีปัญหา ส่วนจะแจกอีก 15 ไร่รอบหลังจะต้องผ่านคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกลั่นกรองอีก เชื่อว่าไม่ง่าย เท่ากับรัฐยืดเวลา ซื้อเวลา หลอกลวง”
ขณะที่นายฉลอง อุ่นวงศ์ เลขานุการสหกรณ์การเกษตรยางพาราพิษณุโลก เปิดเผยว่า ในส่วนเครือข่ายชาวสวนยางของ สกย.เป็นอันว่ายุติการปิดถนนที่อุตรดิตถ์แน่ ส่วนในสายขององค์การสวนยาง (อสค.) ประธานระดับประเทศที่ศรีสะเกษสั่งยุติ โดยแจ้งไปยังประธานภาคเหนือขององค์การสวนยางที่ลำปางได้รับคำสั่งยุติไปเรียบร้อยแล้ว